การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเรื่องความรู้เกี่ยวกับอาเซียน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน

Main Article Content

เนตรนภา เอี่ยมอนุพงษ์ เอี่ยมอนุพงษ์
ดิเรก ธีระภูธร
พิชัย ทองดีเลิศ
ทำรงลักษณ์ เอื้อนครินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเรื่องความรู้เกี่ยวกับอาเซียน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนอนุบาลวัดพระพุทธบาท ปีการศึกษา 2557 จำนวน 30 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งพวก (stratified random sampling) ได้ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอนคือ 1) ศึกษารูปแบบ 2) พัฒนาและทดลองรูปแบบ 3) ประเมินรูปแบบที่ได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) บทเรียนแบบผสมผสานเรื่องความรู้เกี่ยวกับอาเซียน 2) แบบวัดรูปแบบการเรียน 3)แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (dependent t – test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบที่ได้มี 6 องค์ประกอบคือ 1) หลักการแนวคิดทฤษฎีพื้นฐานที่ใช้ 2) จุดประสงค์ 3) การวัดพฤติกรรมพื้นฐาน 4) เนื้อหาและกิจกรรมต่าง ๆ 5) กระบวนการเรียนการสอน และ 6) การประเมินผล

2. รูปแบบที่ได้มี 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นวิเคราะห์และวางแผน 2) ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ 3) ขั้นการพัฒนาสื่อการสอนและจัดทำเว็บ 4) ขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน และ 5) การประเมินผลและการให้ข้อมูลย้อนกลับ

3. ผลการทดลองใช้พบว่า กลุ่มตัวอย่างทุกรูปแบบการเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของผู้เรียนทุกแบบการเรียนไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 5 ท่านให้การรับรองว่ารูปแบบที่ได้มีประสิทธิผลและสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนกับผู้เรียนระดับประถมศึกษาได้

 

The Development of Blended Learning in ASEAN Studies for Primary Students with Different Learning Styles

The purpose of this research was to develop a model for blended learning in ASEAN studies for primary students with different learning styles. The samples were 30 primary students at Anuban Wat Phraphutthabat School under the Office of Elementary Education Saraburi Area 1 in the academic year 2014. The research process comprised of 3 phases: 1) studying the models, 2) developing and using the model, and 3) evaluating the obtained model.

The results of this research were as follows:

1. The model obtained consisted of 6 main components: 1) conceptual principles, 2) objectives, 3) fundamental behavior measurements, 4) contents and activities, 5) teaching process, and 6) evaluation.

2. The model obtained consisted of 5 main phases: 1) analyzing and planning, 2) setting objectives, 3) developing media and creating the website, 4) teaching and learning procedure 5) evaluating and giving feedbacks.

3. The result of the experiment revealed that comparison of pre-test and post-test scores of the samples showed .05 level of significance of students from all learning styles. However, it was found that the scores of the post-test of students with different learning styles were not significantly different. Additionally, all five experts have confirmed that the obtained model was effective and suitable for primary students.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย