การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

กชนันท์ โนรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่สริมทักษะชีวิตสําหรับนักเรียนประถมศึกษา” การดําเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) ตรวจสอบคุณภาพ 3) ศึกษาผล และ 4) ประเมินและรับรองกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนบ้านเหล่าหญ้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จํานวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินรูปแบบ แบบวัดทักษะชีวิต และ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ระยะเวลาในการทดลอง 7 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียน แบบผสมผสานที่ส่งเสริมทักษะชีวิตสําหรับนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ ของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน และ 4) การวัดผลและประเมินผล รูปแบบ 2. นักเรียนมีคะแนนทักษะชีวิตหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 3.นักเรียนมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\dpi{80} \bar{X}=4.48,S.D.=0.64) 4. รูปแบบการเรียนแบบผสมผสาน ที่ส่งเสริมทักษะชีวิตสําหรับนักเรียนประถมศึกษานระดับมีความากเหมาะสม (\dpi{80} \bar{X}=4.38,S.D.=0.57)

 

The Development of a Blended Learning Model in Enhancing Life Skills for Elementary Students

The research in tilled “The development of a blended learning model in enhancing life skills for elementary students” Which had 4 steps: 1) Studying the database and theory pertaining. 2) Finding quality. 3) Determining the results. 4) Certifying by luminaries. The samples group of the study was 29 students in Prathom 6 in the second term of 2014 at Banlaoya School, Phetchabun Educational Service Area Zone 2. The research tools were an evaluation the blended learning model in enhancing life skills for elementary students, the life skills test, and the students’ were satisfied. The experiment period was seven weeks. The research findings found that: 1. The blended learning model in enhancing life skills for evaluation. 2. The students life skills posttest scores over the pretest scores .01 level. 3.The students were elementary students, developed by the researcher, consisted of 4 aspects: 1) the principle 2) the purpose 3) the instructional management process, and 4) the measurement and satisfied that the blended learning model in enhancing life skills for elementary students life skills process was appropriateness at a high level of satisfaction. 4. The experts agree that a blended learning model in enhancing life skills for elementary student was appropriateness at a high level of satisfaction.

Article Details

บท
บทความวิจัย