การออกแบบและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับโรงสีข้าวชุมชน อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ ทดสอบประสิทธิภาพและวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของเครื่องสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับโรงสีข้าวชุมชน อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ วิธีดำเนินการวิจัย ศึกษาปัญหากระบวนการสีข้าวและออกแบบโดยโครงสร้างเครื่องสีข้าวทำจากเหล็ก ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ ขนาด 1.5 แรงม้า ส่วนประกอบ ได้แก่ กระบะบรรจุข้าว ลูกยางขัดข้าว ลูกหินขัดข้าว ตะแกรงร่อน ปล่องดูดแกลบและระบบส่งกำลัง พร้อมด้วยระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย แผงโซล่าเซลล์ อินเวอร์เตอร์ และแบตเตอรี่ จากการทดสอบหาประสิทธิภาพการสีข้าวทั้ง 3 ชนิด ที่ค่าความเร็วรอบและระยะห่างของลูกยางที่เหมาะสม พบว่า การสีข้าว กข 41 ความเร็วรอบ 1,290 rpm และระยะห่าง 0.9 mm การสีข้าว ชัยนาท 1 ความเร็วรอบ 1,350 rpm และระยะห่าง 0.9 mm และการสีข้าว หอมปทุมธานี ความเร็วรอบ 1,200 rpm และระยะห่าง 1.0 mm ผลการทดสอบความชื้นข้าวเปลือกที่เหมาะสมในการสีข้าว พบว่า พันธุ์ข้าว กข 41 ความชื้น 14%w.b. ได้ข้าวเต็มเมล็ด 0.395 กิโลกรัม ประสิทธิภาพ 62.70% พันธุ์ข้าว ชัยนาท 1 ความชื้น 14%w.b. ได้ข้าวเต็มเมล็ด 0.397 กิโลกรัม ประสิทธิภาพ 63.40% และพันธุ์ข้าว หอมปทุมธานี ความชื้น 13%w.b. ได้ข้าวเต็มเมล็ด 0.396 กิโลกรัม ประสิทธิภาพ 63.50% การเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านพลังงานในการสีข้าว พบว่า การสีข้าว 5 ชั่วโมงต่อวัน ใช้พลังงานไฟฟ้า 5.5 หน่วย คิดเป็นเงิน 24.31 บาท ซึ่งคิดเป็นผลประหยัดค่าไฟฟ้า 6,344.91 บาทต่อปี การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ระยะเวลาในการคืนทุนมีค่าเท่ากับ 3.73 ปี ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 20.86 ton.CO2 ผลจากการวิจัยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสีข้าว ลดต้นทุนด้านพลังงานและเป็นแนวทางให้เกษตรกรในการตัดสินใจลงทุนอย่างเหมาะสม
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลศักดิ์ รัตนวงษ์, แมน ฟักทอง, ศักดิ์สิทธิ์ ชื่นชมนาคจาด, เอกรัฐ ชะอุ่มเอียด, ศุภชัย ชุมนุมวัฒน์, และสมชายโพธิ์พยอม. (2563). การพัฒนาเครื่องสีข้าวกล้องขนาดครัวเรือน. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 4(1), 40-46.
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2566, 21 เมษายน). รายงานประจำปี 2565 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. https://www.egat.co.th/home/annual-report/
การุณย์ ชัยวณิชย์, พุทธดี อุบลศุข, และมนตรี สังข์ทอง. (2561). การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์จากการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินภายในโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์, 10(12), 35-46.
นงเยาว์ เต๋จ๊ะใหม่, นิกราน หอมดวง, สัตยา ตันจันทร์พงศ์, และทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์. (2563). ผลกระทบพลังงานแสงอาทิตย์และค่าแรงงานต่อความคุ้มค่าทางการเงินของโรงสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์. วารสารวิชาการพลังงานทดแทนสู่ชุมชน, 3(1), 44-50.
ปิยะพงษ์ ศรีวงษ์ราช และศักดา อินทรวิชัย. (2562). การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เครื่องสีข้าวขนาดเล็กระดับชุมชน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 29(2), 237-246.
ภัทราวุธ บุญประคอง, คนึงนิต ปทุมมาเกสร, และเอนก เทียนบูชา. (2563). การหาประสิทธิภาพของเครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับการสีข้าวพันธุ์การค้าจังหวัดชัยนาท. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 105-117.
รุ่งเรือง กาลศิริศิลป์, สุชาญ อาลีอุสมาน, และจตุรงค์ ลังกาพินธุ์. (2562). การทดสอบและประเมินผลเครื่องสีข้าวตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 18(2), 1-16.
ศักดิ์ชัย ดรดี, กมลรักษ์ แก้งคำ, สิริพร ขันทองคำ, และวรเชษฐ์ แสงสีดา. (2564). การพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปข้าวของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงสีชุมชนหนองไม้งาม. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 10(1), 21-31.
สมพจน์ คําแก้ว. (2565). ผลของความชื้นต่อประสิทธิภาพการสีข้าวขาวของเครื่องสีขนาดเล็ก. วารสารวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(1), 82-88.
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์. (2566). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าวอย่างยั่งยืน จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2566–2570. กรมส่งเสริมการเกษตร.
สุรินทร์ แหงมงาม, ศศิวรรณ อินทรวงศ์, ภูวดล วัฒนากรรุ่งเรือง, และณัฐวุฒิ หอมสิน. (2563). เครื่องสีข้าวขนาดเล็กสำหรับใช้ในครัวเรือนควบคุมโดย Arduino Uno R3. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 8(1), 143-152.
Aroonsrimorakot, S., Laiphrakpam, M., & Paisantanakij, W. (2020). Solar panel energy technology for sustainable agriculture farming: A review. International Journal of Agricultural Technology, 16(3), 553-562.
Chen, P., Jia, F., Liu, H., Han, Y., Zeng, Y., Meng, X., Xiao, Y., & Li, G. (2019). Effects of feeding direction on the hulling of paddy grain in a rubber roll huller. Biosystems Engineering, 183, 196-208. https://doi.org/10.1016/j.biosystemseng.2019.05.001
Gorjian, S., Ebadi, H., Trommsdorff, M., Sharon, H., Demant, M., & Schindele, S. (2021). The advent of modern solar-powered electric agricultural machinery: A solution for sustainable farm operations. Journal of Cleaner Production, 292, 30-38. https://doi.org/10.1016/j.jclepro.2021.126030