การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าของวิสาหกิจชุมชนหนองตูม โดยใช้วิธีวิเคราะห์ ABC-FSN

Main Article Content

ชนิกานต์ เปรมปรีดิ์
อรรถวิทย์ สมศิริ
อัษฎางค์ พลนอก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการจัดการสินค้าคงคลังด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ ABC–FSN analysis และเพื่อเปรียบเทียบมูลค่าคงคลัง ก่อนและหลังการปรับปรุงคลังสินค้าของวิสาหกิจชุมชนหนองตูม ดำเนินการวิจัยโดยเก็บข้อมูลจากรายการสินค้าคงคลังของวิสาหกิจชุมชนหนองตูม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ด้วยระบบ ABC–FSN analysis ผลการวิจัย พบว่า มีสินค้าคงคลังทั้งหมด 59 รายการ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 336,407 บาท เมื่อจำแนกสินค้าตามระบบ ABC analysis พบว่า กลุ่ม A มีจำนวน 9 รายการ (ร้อยละ 15.25) โดยมีมูลค่ารวม 217,144 บาท (ร้อยละ 64.55) กลุ่ม B มีจำนวน 16 รายการ (ร้อยละ 27.12) โดยมีมูลค่ารวม 83,440 บาท (ร้อยละ 24.80) กลุ่ม C มีจำนวน 34  รายการ (ร้อยละ 57.63) โดยมีมูลค่ารวม 35,823 บาท (ร้อยละ 10.65) เมื่อจำแนกสินค้าตามระบบ FSN analysis พบว่า กลุ่ม F มีจำนวน 12 รายการ (ร้อยละ 20.34) โดยมีมูลค่ารวม 160,538 บาท (ร้อยละ 47.72) กลุ่ม S มีจำนวน 21 รายการ (ร้อยละ 35.59) โดยมีมูลค่ารวม 106,483 บาท (ร้อยละ 31.65) กลุ่ม N  มีจำนวน 26 รายการ (ร้อยละ 44.07) โดยมีมูลค่ารวม 69,386 บาท (ร้อยละ 20.63) ผลการเปรียบเทียบมูลค่าคงคลังก่อนและหลังการปรับปรุงคลังสินค้า พบว่า สินค้าคงคลังมูลค่ารวมเท่ากับ 284,145 บาท กลุ่ม A มูลค่าสินค้าคงคลังเท่ากับ 166,510 บาท มูลค่าลดลงร้อยละ 23.26 กลุ่ม B มูลค่าสินค้าคงคลังเท่ากับ 83,616 บาท มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.21 กลุ่ม C มูลค่าสินค้าคงคลังเท่ากับ 34,019 บาท มูลค่าลดลงร้อยละ 5.03 สินค้าในกลุ่มที่เคลื่อนไหวน้อย AN มูลค่าสินค้าคงคลังเท่ากับ 7,640 บาท ลดลงร้อยละ 52.94 กลุ่ม BN มูลค่าสินค้าคงคลังเท่ากับ 28,298 บาท ลดลงร้อยละ 24.32 และ กลุ่ม CN มูลค่าสินค้าคงคลังเท่ากับ 14,476 บาท ลดลงร้อยละ 8.14 โดยรวม มูลค่าสินค้าคงคลังลดลง 52,262 บาท มูลค่าลดลงร้อยละ 15.54 ส่งผลให้วิสาหกิจชุมชนมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ช่วยให้วิสาหกิจชุมชนสามารถพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารคลังได้อย่างเป็นระบบที่นำไปสู่การเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2562). คู่มือการดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชน. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

นันทวรรณ สมศรี และศุภฤกษ์ เหล็กดี. (2563). การลดต้นทุนสินค้าคงคลังด้วยวิธี ABC-FSN Analysis กรณีศึกษาโรงงานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์]. https://cite.dpu.ac.th/upload/content/files/Project%20MLE63/การลดต้นทุนสินค้าคงคลังด้วยวิธี%20ABC-FSN%20Analysis(1).pdf

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. (2548, 18 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 6 ก, หน้า 319-327.

วรพล อารีย์, วัชริยา แช่มแมงปัก, ภคพล แซ่ลิ่ม, และนันทวัฒน์ สาวิสิทธิ์. (2563). ศึกษาการประยุกต์ใช้เทคนิค ABC classification analysis เพื่อการจัดสินค้าคงคลังกลุ่มเครื่องปรุงรสและอาหารแห้ง: กรณีศึกษา ห้างสรรพสินค้า XYZ. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(2), 153-166.

อัษฎางค์ พลนอก และอรรถวิทย์ สมศิริ. (2565, 25 กุมภาพันธ์). การวิเคราะห์สินค้าคงคลังด้วยวิธี ABC–FSN Analysis: กรณีศึกษาโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง [การนำเสนอบทความ]. การประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 7 “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนภายใต้ชีวิตวิถีใหม่”, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

อินทิรา รามอินทร์, ธิรนันท์ วัฒนโยธิน, เกศกุฎา โกฏิกุล, กฤติกา กลับรินทร์, และนุชากร คงยะฤทธิ์. (2565, 27 พฤษภาคม). การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท เตือนใจพาณิชย์กรุ๊ป จำกัด สาขามะนาวหวาน [การนำเสนอบทความ]. การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ (MDTE) ครั้งที่ 4 ประจำปี 2565, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.