ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

กฤษณพงค ฟองสินธุ์
ภัทร์อร ฟองสินธุ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่อการบริหารโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ควบคุมงานก่อสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 57 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเพื่อทำการวิเคราะห์และเรียงลำดับค่าดัชนีความรุนแรง ซึ่งเป็นการรวมค่าระดับความถี่และระดับความรุนแรงของแต่ละปัจจัย เพื่อหาปัจจัยที่มีผลกระทบทั้ง 5 ด้าน อันประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 2) ปัจจัยด้านการเงิน 3) ปัจจัยด้านเครื่องจักรในการก่อสร้าง 4) ปัจจัยด้านวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง และ 5) ปัจจัยด้านขั้นตอนวิธีการก่อสร้าง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการบริหารโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กมากที่สุดคือ การขาดแคลนแรงงานเนื่องจากฤดูการทำการเกษตร มีค่าดัชนีความรุนแรงเท่ากับ 0.286 ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบน้อยที่สุดคือ การเกิดอุบัติเหตุในระหว่างก่อสร้าง มีค่าดัชนีความรุนแรงเท่ากับ 0.077 เมื่อพิจารณา 5 อันดับแรกของค่า S.I. สูงสุด พบว่ามีปัจจัยด้านการเงินถึง 3 ปัจจัย ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรมีการบริหารความเสี่ยงทางด้านการเงินของบริษัทผู้รับเหมาโครงการก่อสร้างในอนาคต อีกทั้งนำผลการวิจัยปัจจัยต่างๆ ที่ระบุในการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณานโยบายการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2563, 6 สิงหาคม). ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. https://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp

กฤษณพงค ฟองสินธุ์ และภัทร์อร ฟองสินธุ์. (2563). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการควบคุมคุณภาพโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานภายใต้การควบคุมดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 43(3), 243-255.

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ส.เอเซียเพรส.

ทัต นาควิเชียร. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในโครงการก่อสร้างถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตปริมณฑล. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. http://www.repository.rmutt.ac.th/xmlui/bitstream/123456789/1900/1/139333.pdf

นวพรรษช์ ขันติสิทธิ์ และวรรณวิทย์ แต้มทอง. (2564, 23-25 มิถุนายน). ปัญหาของการควบคุมคุณภาพของงานถนนคอนกรีตเสริมเหล็กของโครงการบ้านจัดสรร [การนำเสนอบทความ]. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1066

ลิขิต พันธุเทพ, แสงสุรีย์ พังแดง, และวชิรกรณ์ เสนาวัง. (2564, 23-25 มิถุนายน). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล่าช้าในงานก่อสร้างถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครพนม [การนำเสนอบทความ]. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1056

วรรณวรางค์ รัตนานิคม และสยาม ยิ้มศิริ. (2563, 15-17 กรกฎาคม) การศึกษาปัญหาในการบริหารงานก่อสร้างประเภทอาคารในขั้นตอนการออกแบบและประมาณราคา [การนำเสนอบทความ]. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 25. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. https://conference.thaince.org/index.php/ncce25/article/view/600

ศรยุทธ กิจพจน์. (2545). การบริหารและการจัดการงานก่อสร้าง. พัฒนาศึกษา.

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. (2565, 7 พฤษภาคม). รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. https://www.audit.go.th/th/รายงานผลการปฏิบัติงาน-ประจำปีงบประมาณ-พศ-๒๕๖๔

Arditi, D. & Gunaydin, H. M. (1998). Factors that affect process quality in the life cycle of building project. Journal of Construction Engineering and Management, 124(3), 194-203. https://doi.org/10.1061/(ASCE)0733-9364(1998)124:3(194)

Dominowski, R. L. (1980). Research Methods. Prentice Hall.