อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม และปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและการสะสมมวลชีวภาพของมันสำปะหลัง

Main Article Content

ชวลิต รักษาริกรณ์
ภูมิศักดิ์ อินทนนท์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) ปุ๋ยเคมีต่อการปรับปรุงสมบัติของดินในแปลงปลูกมันสำปะหลัง การเจริญเติบโต และการสะสมมวลชีวภาพของมันสำปะหลัง โดยทำการศึกษาอิทธิพลของปุ๋ย 4 ชนิด ได้แก่ 1) ปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด (ORG) 2) ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO-1) 3) ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO-2) และ 4) ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (CHEM) ที่อัตรา 50 และ 100 กิโลกรัมต่อไร่ วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) ทั้งหมด 9 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ดินก่อนการวิจัยมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ส่วนภายหลังการวิจัยพบว่าการใส่ปุ๋ย HO-1 (T5) และ HO-2 (T7) อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ ทำให้ดินมีธาตุอาหารพืชรวมเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มทำให้สมบัติด้านกายภาพของดิน ได้แก่ ความหนาแน่น (BD), ความพรุน (E) และ ความจุความชื้นสนาม (FC) ดีขึ้นกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด สำหรับการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังพบว่าการใช้ปุ๋ย HO-1 อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ (T5) มีผลทำให้ขนาดลำต้น ทรงพุ่ม และค่าความเขียวใบดีกว่ากรรมวิธีอื่นๆ ด้านการสะสมมวลชีวภาพ (Biomass) ของมันสำปะหลังในช่วงอายุ 8 เดือน พบว่ามีการสะสมมวลชีวภาพสูงสุดในส่วนลำต้น กิ่ง ใบ ราก และ ก้านใบมากที่สุดตามลำดับ และพบว่าการใช้ปุ๋ย HO-1 (T5) และ HO-2 (T7) ในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลทำให้การสะสมน้ำหนักแห้งหรือเปอร์เซ็นต์แป้งในหัวมันสำปะหลัง (Starch) สูงสุดเท่ากับ 34.5 เปอร์เซ็นต์ และ 34.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และสูงกว่ากรรมวิธีอื่นๆ จากผลการวิจัยปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) ในครั้งนี้เกษตรกรสามารถนำไปต่อยอดเพื่อเป็นทางเลือกในการจัดการดินและปุ๋ยสำหรับการปลูกมันสำปะหลังพันธุ์อื่นๆ ให้มีปริมาณและคุณภาพที่สูงได้

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
รักษาริกรณ์ ช., & อินทนนท์ ภ. . (2024). อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ปั้นเม็ด ปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม และปุ๋ยเคมี ต่อการเจริญเติบโตและการสะสมมวลชีวภาพของมันสำปะหลัง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 19(1), 13–25. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/251997
บท
บทความวิจัย

References

กองวิเคราะห์ดิน. (2540). คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีดินกับการวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ชวลิต รักษาริกรณ์, พรทิพย์ ภาษี, และภูมิศักดิ์ อินทนนท์. (2555). อิทธิพลของปุ๋ยเคมี และปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของยางพารา. Naresuan University Journal: Science and Technology (NUJST), 20(3), 18-28.

ชาติประชา สอนกลิ่น. (2563). อิทธิพลของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) ที่มีต่อผลผลิตและคุณภาพดาวเรือง. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร].

บุญรัตน์ ประทุมชาติ. (2553). ผลของการใช้แป้งมันสำปะหลังเพื่อเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตในสูตรอาหารกุ้งต่อการเจริญเติบโตความแปรปรวนของขนาด อัตราการแลกเนื้อ ความถี่ในการลอกคราบ อัตราการรอดและดัชนีตับของกุ้งขาววัยรุ่น (Litopenaeus vannamei). วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 15(2), 29-36.

พิทักษ์พงศ์ ป้อมปราณี. (2560). ธาตุอาหารพืช (เอกสารประกอบการสอน รายวิชา ปฐพีวิทยา). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ภูมิศักดิ์ อินทนนท์. (2555). เทคโนโลยีปุ๋ย. ภาควิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วัลลีย์ อมรพล, กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ, ศรีสุดา ทิพยรักษ์, ศุภกาญจน์ ล้วนมณี, จิณณจาร์ หาญเศรษฐสุข, ประพิศ วองเทียม, และสมพงษ์ ทองช่วย. (2560). การศึกษาอัตราปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมสำหรับมันสำปะหลังที่ปลูกในกลุ่มดินร่วนปนทราย : ชุดดินห้วยโป่ง. วารสารวิชาการเกษตร, 35(2), 151-163.

วิชาญ ชุ่มมั่น และภูมิศักดิ์ อินทนนท์. (2559). อิทธิพลของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสมที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิต และส่งผลต่อปริมาณการเข้าทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล. วารสารแก่นเกษตร, 44(2), 265-274.

วิภาวรรณ สายคำยศ, จันทร์เพ็ญ ชุมแสง, และภูมิศักดิ์ อินทนนท์. (2561). อิทธิพลของปุ๋ยฮอร์โมนปั้นเม็ดสูตรผสม (HO) และปุ๋ยเคมีที่ใช้ร่วมกับปูนขาวที่มีต่อสมบัติของดินและผลผลิตปาล์มน้ำมัน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 49(19 พิเศษ), 199-206.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสี่อสาร กรมวิชาการเกษตร. (2566). การจำแนกพันธุ์มันสำปะหลัง. กรมวิชาการเกษตร. https://at.doa.go.th/cassvar/varR9.html

สมลักษณ์ จูฑังคะ. (2551). เอกสารวิชาการ เทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง. กรมวิชาการเกษตร.

สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์. (2564). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดอุตรดิตถ์ (พ.ศ. 2561 – 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ 2564. https://www.opsmoac.go.th/uttaradit-strategic-files-441991791797

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). แนวทางการจัดทำเขตส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/jounal/2565/Guidelineseconomiccrops2565.pdf

สุพัตรา ชาวกงจักร์, นิมิตร วงศ์สุวรรณ, ศศิธร ประพรม, และนฤทัย วรสถิตย์. (2566). ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีและเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ด้วยเทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยในแหล่งปลูก จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารแก่นเกษตร, 51(suppl. 1), 116–123.

เอนกพงศ์ จำปา และวิทยา ตรีโลเกศ. (2561). การประยุกต์ใช้อัตราและสูตรปุ๋ยเคมีที่แตกต่างกัน ในการปลูกมันสำปะหลัง KU 50 ในดินทราย. วารสารดินและปุ๋ย, 40(1), 55-64.

Intanon, P. (2013). The influence of different types of fertilizers on productivity and quality of maize in the area of Kwaew Noi Bamrungdan Dam, Phitsanulok province, Thailand. International Journal of Environmental and Rural Development, 4(2), 15-20. https://doi.org/10.32115/ijerd.4.2_15

Intanon, P., Keteku, A. K., & Intanon, R., (2017, December 12-15). Effect of different materials on soil pH improvement, soil properties, growth, yield and quality of sugarcane [Conference]. 13th International Conference of the East and Southeast Asia Federation of Soil Science Societies, Pattaya, Thailand.