การพัฒนาข้าวทนแล้งระหว่างข้าวพันธุ์ท้องถิ่นและพันธุ์เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ข้าวทนแล้งจากพันธุ์ข้าวท้องถิ่นและพันธุ์เศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี โดยทำการสร้างคู่ผสมจำนวน 10 คู่ ซึ่งใช้พันธุ์ข้าวท้องถิ่นที่มีสมบัติทนแล้ง ที่มีการรวบรวมในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 2 พันธุ์ เป็นพันธุ์แม่ และใช้ข้าวพันธุ์เศรษฐกิจ จำนวน 5 พันธุ์ เป็นข้าวพันธุ์พ่อ หลังจากนั้นทำการสร้างประชากรข้าวที่เป็นพันธุ์ปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่จากประชากรข้าวชั่วที่ F1 แล้วคัดเลือกประชากรข้าวด้วยวิธีพันธุประวัติ จนได้ข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่ จำนวน 10 สายพันธุ์ เมื่อนำไปปลูกทดสอบความทนแล้ง ในระยะกล้า พบว่า ข้าวสายพันธุ์ RHSB1 มีความทนแล้งได้ระดับดีที่สุด เมื่อประเมินระดับการฟื้นตัว พบว่า ข้าวสายพันธุ์ RHPT1 มีระดับการฟื้นตัวหลังได้รับน้ำดีที่สุด ส่วนองค์ประกอบผลผลิตของข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ โดยแต่ละพารามิเตอร์ทำการทดสอบทางสถิติความแปรปรวน (ANOVA) พบว่า ความสูงเฉลี่ยสูงสุดคือข้าวพันธุ์แม่ RH เท่ากับ 166.3 เซนติเมตร จำนวนต้นต่อกอและจำนวนรวงต่อกอเฉลี่ยสูงสุด คือข้าวสายพันธุ์ RHPT1 เท่ากับ 7.33 ต้นต่อกอ และ 6.67 รวงต่อกอ ตามลำดับ จำนวนเมล็ดต่อรวงเฉลี่ยสูงสุด น้ำหนัก 100 เมล็ดเฉลี่ยสูงสุด และน้ำหนักเมล็ดต่อกอ (กรัม) เฉลี่ยสูงสุด คือ ข้าวสายพันธุ์ RHSB1 เท่ากับ 175.3 เมล็ด 2.63 กรัม 882.33 กรัม และ 20.67 กรัม ส่วนผลผลิตต่อไร่ ข้าวสายพันธุ์ RHSB1 ให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 818 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ทุกสายพันธุ์มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกัน โดยเกษตรกรสามารถเลือกใช้ข้าวสายพันธุ์เหล่านี้ปลูกทดแทนข้าวพันธุ์เดิมเมื่อเกิดภาวะภัยแล้งและขาดแคลนน้ำ เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกอร เยาว์ดำ, ประภา ศรีพิจิตต์, ธานี ศรีวงศ์ชัย, และสุภาพร จันทร์บัวทอง. (2560). การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวต้านทานโรคขอบใบแห้งโยวิธีการผสมกลับและคัดเลือกด้วยเครื่องหมายดีเอ็นเอ. ว. วิทย. มข., 45(3), 595-604.
กรมการข้าว. (2566). องค์ความรู้เรื่องข้าว. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://webold.ricethailand.go.th/rkb3/title-index.php-file=content.php&id=1.htm
ชูศักดิ์ จอมพุก และชัยพฤกษ์ มณีพงษ์. (2539). เทคนิคการผสมข้าวระหว่างข้าวปลูก (Oryza Sativa) กับข้าวป่า (O. mimuta). วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์, 30(1), 1-7.
บุญหงษ์ จงคิด. (2545). การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะดีอื่น ๆ ทางการเกษตรของสายพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ปรับปรุงใหม่ทนแล้งที่ได้จากคู่ผสมระหว่างพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ดอกพะยอม (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พินธ์ทิพภา สนธิสุวรรณกลุ และสวรรยา ธรรมอภิพล. (2562). การปรับตัวของเกษตรกรชาวนาต่อสถานการณ์ภัยแล้ง ในชุมชนบ้านไผ่จรเข้ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 6(2), 1-22.
พิเชษฐ นาเมือง, สำราญ พิมราช, และเหล็กไหล จันทะบุตร. (2560). การเจริญเติบโต ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และลักษณะทนแล้งต่อการขาดน้ำในช่วงต้นฤดูปลูกของข้าวพื้นเมือง. วารสารเกษตรพระวรุณ, 14(1), 10-21.
นันทกา แสงจันทร์, ทิพย์วรรณ นันใจยะ, และอัษฎาวุธ แสงจันทร์. (2561). ฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์รายสินค้าของจังหวัดสระบุรี “ข้าว”. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.opsmoac.go.th/saraburi-dwl-files-412791791797
วราภรณ์ แสงทอง, ศิรินภา อ้ายเสาร์, อนุชิดา วงศ์ชื่น, และศรัณย์ จีนะเจริญ. (2564). การทดสอบผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวสังข์หยดพัทลุง ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง ต้นเตี้ย ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว มีกลิ่นหอม สีแดง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2564 วันที่ 24-25 ธันวาคม 2564 (น. 701-709). สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ. (2564). 3 ทศวรรษ สวทช. กับการขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: เกษตรและอาหาร. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ. แปลน พริ้นท์ติ้ง.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563, 28 มกราคม). เร่งมาตรการรับมือ ‘ภัยแล้ง’ สศก. แนะ เกษตรกรปลูกพืชทางเลือก ใช้น้ำน้อย. สืบค้น 24 เมษายน 2564, จาก https://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตร/33355/TH-TH
อริศรา เหง้าชัยภูมิ, ธนัชยา เกณฑ์ขุนทด, ประณต มณีอินทร์, กษิดิ์เดช อ่อนศรี, กันตนา หลอดทองหลาง, เกศินี ศรีปฐมกุล, และอภิเดช เอมเอี่ยม. (2565). ผลของอาหารสังเคราะห์สูตร Murashige and Skoog (1962) ดัดแปลงร่วมกับปุ๋ยไฮโดรโปรนิกส์ RSUS1 ต่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกัญชา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ครั้งที่ 2 (น. 1). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Farooq, M., Wahid, A., Lee, D.-J., Ito, O., & Siddique, K. H. M. (2009). Advances in Drought Resistance of Rice. Critical Reviews in Plant Sciences, 28(4), 199-217. https://doi.org/10.1080/07352680902952173
International Rice Research Institute. (1996). Standard evaluation system for rice. (4th ed.). International Rice Research Institute.
Jiang, J. & Zhou, T. (2023). Agricultural drought over water-scarce Central Asia aggravated by internal climate variability. Nature Geoscience, 16, 154–161. https://doi.org/10.1038/s41561-022-01111-0
Joshi, R., Wani, S. H., Singh, B., Bohra, A., Dar, Z. A., Lone, A. A., Pareek, A., & Singla-Pareck, S. L. (2016). Transcription factors and plants response to drought stress: current understanding and future directions. Frontiers in Plant Science, 7, 1029. https://doi.org/10.3389/fpls.2016.01029
Kim, Y., Chung, Y. S., Lee, E., Tripathi, P., Heo, S., & Kim, K.-H. (2020). Root response to drought stress in rice (Oryza Sativa L.). International journal of molecular sciences, 21(4), 1513, 1-22. https://doi.org/10.3390/ijms21041513
Luo, L., Mei, H., Yu, X., Xia, H., Chen, L., Liu, H., Zhang, A., Xu, K., Wei, H., Liu, G., Wang, F., Liu, Y., Ma, X., Lou, Q., Feng, F., Zhou, L., Chen, S., Yan, M., Liu, Z. ... Li, M. (2019). Water-saving and drought-resistance rice: from the concept to practice and theory. Molecular Breeding, 39 (145), 1-15. https://doi.org/10.1007/s11032-019-1057-5
Mitchell, J. H., Siamhan, D., Wamala, M. H., Risimeri, J. B., Chinyamakobvo, E., Henderson, S. A., & Fukai, S. (1998). The use of seedling leaf death score for evaluation of drought resistance of rice. Field Crops Research, 55(1-2), 129-139. https://doi.org/10.1016/S0378-4290(97)00074-9
Narenoot, K., Monkham, T., Chankaew, S., Songsri, P., Pattanagul, W., & Sanitchon, J. (2017). Evaluation of the tolerance of Thai indigenous upland rice germplasm to early drought stress using multiple selection criteria. Plant Genetic Resources, 15(2), 109-118. https://doi.org/10.1017/S1479262115000428
Panda, D., Mishra, S. S., & Behera, P. K. (2021). Drought tolerance in rice : focus on recent mechanisms and approaches. Rice Science, 28(2), 119-132. https://doi.org/10.1016/j.rsci.2021.01.002
Pantuwan, G., Fukai, S., Cooper, M., Rajatasereekul, S., O’Toole, J. C., & Basnayake, J. (2004). Yield response of rice (Oryza sativa L.) genotypes to drought under rainfed lowlands: 4. Vegetative stage screening in the dry season. Field Crop Research, 89(2-3), 281-297. https://doi.org/10.1016/j.fcr.2004.02.007
Sallam, A., Alqudah, A. M., Dawood, M. F. A., Baenziger, P. S., & Börner, A. (2019). Drought stress tolerance in wheat and barley: Advances in physiology, breeding and genetics research. International Journal of Molecular Sciences, 20(13), 3137, 1-36. https://doi.org/10.3390/ijms20133137