การศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาและไม่ได้เข้ารับการศึกษา ในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาและไม่ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุจำนวน 80 คน และผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 80 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณา ร้อยละและค่าเฉลี่ย ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาและไม่ได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุ ใช้สถิติ Chi-Square และ Independent T-Test ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนผู้สูงอายุมีระดับคุณภาพชีวิตในระดับดี ในขณะที่ผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ มีระดับคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง และจากการเปรียบเทียบผู้สูงอายุทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุมีระดับคุณภาพชีวิตดีกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้สูงอายุที่เข้าเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตโดยรวมสูงกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=4.8, p-value< 0.001) ผลการศึกษาสามารถเป็นข้อเสนอแนะแก่เทศบาลตำบลป่าเซ่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพทางสังคมในโรงเรียนผู้สูงอายุ และสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางในการจูงใจ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมในกิจกรรมของโรงเรียนผู้สูงอายุให้มากขึ้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์.
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบ วาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 2). อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับ ลิชชิ่ง.
จันทนา สารแสง และสิวลี รัตนปัญญา. (2562). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(5), 964-974.
จีริสุดา คำสีเขียว, นุตติยา วีระวัธนชัย และ สุวรรณา ภัทรเบญจพล. (2565). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ. วิจัยครั้งที่ 16 Research and Innovation for SDGs in the Next Normal (น. 252-262). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
เจษฎา นกน้อย และวรรณภรณ์ บริพันธ์. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 9(3), 94-105.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2565 จาก https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/05/Elderly-Situation-2021-20220725_compressed.pdf
วรดา รุ่งเรือง. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(2), 249-258.
ศิริประภา วงค์ประพันธ์, วรเทพ เวียงแก, เอกชาตรี สุขเสน, เอนก มูลมา, และวาริณี โสภาจร. (2562). คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตําบลดูนสาด อําเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง, 2(2), 10-19.
สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน. (2562). หนังสือขบวนการสร้างเสริมสุขภาพตามกลุ่มประชากร ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. ภาพพิมพ์.
สุวัฒน์ มหันตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ, และรานี พรมานะรังกุล. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI). โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2545. กระทรวงสาธารณสุข. https://dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์. (2566). เอกสารประกอบตรวจราชการและนิเทศงาน กรณีปกติ ระดับกระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2566 จังหวัดอุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566, จาก http://utoapp3.moph.go.th/app2/inspector/views/uploads/63fd6b1f3a087-ce9cf9f3e8fafa832198c049d64b32eb-11.pdf
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, วรัญญา มณีรัตน์, กรรณิการ์ เทพกิจ, อนัญญา เหล่ารินทอง และพัชรินทร์ วินยางค์กูล. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชาติพันธุ์ จังหวัดเชียงราย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(4), 74-82.
อรทัย เลียงจินดาถาวร. (2562). โรงเรียนผู้สูงวัยกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรน์, 14(1), 195-207.