ภาวะสุขภาพจิตและการปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษาพยาบาล สังกัดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

สุทธามาศ อนุธาตุ
วิลาวัณย์ สายสุวรรณ์
อายุพร กัยวิกัยโกศล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพจิตและระดับการปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19  ของนักศึกษาพยาบาลสังกัดวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีภาคเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 320 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามภาวะสุขภาพจิต (Thai GHQ-28, α = .88) และแบบสอบถามการปรับตัวในสถานการณ์ โควิด-19 (α = .94) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ภาวะสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาล ในสถานการณ์โควิด-19 อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 84.06 และอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติ ร้อยละ 15.94 ระดับการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาลในสถานการณ์โควิด-19 โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.80, S.D. = 0.42) ซึ่งการปรับตัวทุกด้านทั้งในด้านสังคม ( = 4.00, S.D. = 0.44) ด้านอารมณ์ ( = 3.92, S.D. = 0.53) ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมของสถาบัน ( = 3.77, S.D. = 0.64) และด้านการเรียน ( = 3.50, S.D. = 0.50) มีคะแนนอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกันตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการจัดการเรียนการสอน และการออกแบบกิจกรรมพัฒนานักศึกษาพยาบาลเพื่อส่งเสริมการปรับตัวและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ แสนสุภา, เอื้อทิพย์ คงกระพันธ์, อุมาภรณ์ สุขารมณ์, และผกาวรรณ นันทะเสน. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสาร มจร มนุษย์ศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 83-97.

ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 5). (2563, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 102 ง. หน้า 1-3. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://web.krisdika.go.th/data/slideshow/File/5_3-13-5-63-TH.pdf

จรวย สุวรรณบำรุง. (2560). กระบวนการวิจัย: การประยุกต์ใช้ทางสุขภาพและการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ก.พลการพิมพ์ นครศรีธรรมราช.

ชลธิชา จิรภัคพงค์, พรทิพย์ วรรณวิโรจน์, และเสาวนีย์ ไชยกุล. (2563). บทที่ 2 ข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลและการแจกแจงความถี่. ใน สมบูรณ์ บุญฤทธิ์, ทวีศักดิ์ ทองทิพย์, สุพิมล ศรศักดา, และชลธิชา ชุติภัคพงค์. (บ.ก.), สถิติเบื้องต้นและการวิจัย (Basic Statistics and Research) ฉบับปรับปรุง. (น. 16-41). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่ (Design-Based New Normal): ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.

ไทยพีบีเอส. (2564, 12 สิงหาคม). เรียนยุคโควิด ชีวิตเปลี่ยน นศ.พยาบาล เฝ้าหน้าจอ งดกิจกรรม-ปฏิบัติน้อย. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/306862

ธนา นิลชัยโกวิทย์, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, และชัชวาลย์ ศิลปกิจ. (2539). ความเชื่อถือได้และความแม่นตรงของ General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 41(1), 2-17.

ธิดารัตน์ คณึงเพียร และจิรสุดา ทะเรรัมย์. (2565). การศึกษาการรับรู้ด้านสุขภาพ ความกังวลต่อไวรัส Covid-19 และภาวะสุขภาพจิต นักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(1), 307-319.

ธีรวรรณ ธีระพงษ์. (2565). แนวคิดบุคคลเป็นศูนย์กลางเพื่อการปรึกษาเชิงจิตวิทยาและการพัฒนามนุษย์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปฐพร แสงเขียว, ดุจเดือน เขียวเหลือง, สิตานันท์ ศรีใจวงศ์, สืบตระกูล ตันตลานุกูล, และปุณยนุช ชมคำ. (2565). ความเข้มแข็งทางใจ และการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 14(1), 62-77.

พรพิมล วงศ์ไชยา, บัวบาน ยะนา, และพินทอง ปินใจ. (2564). โควิด-19: ผลกระทบต่อสุขภาพจิตของนักศึกษาพยาบาลและแนวทางการช่วยเหลือ. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ, 27(2), 105-114.

ภัทรา เผือกพันธ์, กันยพัชร์ เศรษฐโชฏึก, และภาวิณี ซ้ายกลาง. (2565). ผลกระทบทางจิตใจจากการระบาดของโรคโควิด-19 ต่อนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาล, 71(4), 55-62.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. (2560). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. (2564). แผนการศึกษา ปีการศึกษา 2564. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์. (2564). แผนการศึกษา ปีการศึกษา 2564. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์.

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. (2564). แผนการศึกษา ปีการศึกษา 2564. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์.

รณชิต สมรรถนะกุล. (2563). ผลกระทบของสถานการณ์ระบาดของโรคไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ที่มีต่อสุขภาพจิต ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. สืบค้น 21 กุมภาพันธ์ 2564, จาก http://dspace.bru.ac.th/xmlui/handle/123456789/7067

ศศิวิมล บูรณะเรข, มาลินี อยู่ใจเย็น, และไขนภา แก้วจันทรา. (2565). ภาวะสุขภาพจิตและความต้องการบริการด้านสุขภาพจิตในสถานศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 16(1), 137-149.

สถาบันพระบรมราชชนก. (2564). ประกาศสถาบันพระบรมราชชนก เรื่อง มาตรการและการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด (ระลอกใหม่) ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19). สืบค้น 14 ตุลาคม 2564, จาก https://www.pi.ac.th/news/867.

Dewart, G., Corcoran, L., Thirsk, L., & Petrovic, K. (2020). Nursing education in a pandemic: Academic challenges in response to COVID-19. Nurse education today, 92, 104471. https://doi.org/10.1016/j.nedt.2020.104471

Grubic, N., Badovinac, S., & Johri, A. M. (2020). Student mental health in the midst of the COVID-19 pandemic: A call for further research and immediate solutions. International Journal of Social Psychiatry, 66(5), 421-522. https://doi.org/10.1177/0020764020925108

Kondo, A., Abuliezi, R., Niitsu, K., Naruse, K., Oki, T., Ota, E., & Ezeonwu, M. C. (2022). Factors related to mental health effect among nursing students in Japan and the United States during the coronavirus pandemic: A cross-sectional study. International Journal of Mental Health Nursing, 32(1), 186-198. https://doi.org/10.1111/inm.13075

Kumar, A., Sarkar, M., Davis, E., Morphet, J., Maloney, S., Ilic, D., & Palermo, C. (2021). Impact of the COVID-19 pandemic on teaching and learning in health professional education: A mixed methods study protocol. BMC Medical Education, 21, 439. https://doi.org/10.1186/s12909-021-02871-w

Tarkar, P. (2020). Impact of Covid-19 pandemic on education system. International Journal of Advanced Science and Technology, 29(9s), 3812-3814.

WHO. (2021, 2 February). Weekly epidemiological update - 2 February 2021. Retrieved March 9, 2021, from https://www.who.int/publications/m/item/weekly-epidemiological-update---2-february-2021