การพัฒนาดินปั้นงานเครื่องประดับจากเปลือกหอยแมลงภู่บดเหลือทิ้ง สำหรับวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรดินปั้นจากเปลือกหอยแมลงภู่ที่เหมาะสมในการทำดินปั้นงานเครื่องประดับ ศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลความแข็งที่ผิวของดินปั้นจากเปลือกหอยแมลงภู่ และ ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด วิธีดำเนินการวิจัยโดยศึกษาสูตรดินปั้นจากเปลือกหอยแมลงภู่ ปัจจัยที่ศึกษา คือ ปริมาณเปลือกหอยแมลงภู่ทดแทนแป้งข้าวเหนียวแปรเป็น 7 ระดับ คือ เปลือกหอยแมลงภู่บด 0, 50, 60, 70, 80, 90 และ 100 กรัม มาวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลความแข็ง ผลการวิจัยพบว่า สูตรที่เหมาะสม คือ เปลือกหอยแมลงภู่ผ่านการฟอกสีเปลือกหอยและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซต์ความเข้มข้น 50% บดเป็นผงผสมแป้งข้าวเหนียว สารกันบูด เบบี้ออยล์ กาวลาเท็กซ์ ผลการศึกษาสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกล พบว่า สูตรดินที่มีปริมาณเปลือกหอยแมลงภู่มากขึ้นทำให้ดิน มีสีน้ำตาลเข้มมากขึ้น ความวาวแบบมุกมากขึ้น ผิวเรียบเนียนน้อยลง และเกิดการยุบตัวเป็นรอยบุ๋มตรงกลางชัดเจนตั้งแต่ระดับเปลือกหอยแมลงภู่บด 80 กรัมขึ้นไป พองตัวลดลง รูปทรงตามแบบ การหดตัวลดลง ความแข็งแรงที่ผิวมากขึ้น ผลการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด ทางชุมชนเลือกระดับเปลือกหอยแมลงภู่บด 70 กรัม เนื่องจากดินมีสีน้ำตาลเล็กน้อย ผิวเรียบเนียนพอใช้ มองด้วยตาเห็นเกล็ดวาวแบบมุก มีการพองเล็กน้อยแต่ไม่เกิดการยุบตัวที่เห็นชัดเจน ค่าเฉลี่ยร้อยละของการหดตัว 21.69 ค่าเฉลี่ยความแข็งแรง 10.14 ซึ่งเหมาะสมในการนำมาพัฒนาเป็นดินปั้นงานเครื่องประดับ เพื่อจำหน่ายเป็นรายได้และช่วยลดเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้งในชุมชน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ. (2565, 4 มีนาคม). การศึกษาดูงานด้านการพัฒนาชุมชนที่วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านน้ำเชี่ยว อ.แหลมงอบ จ.ตราด. TICA Thailand International Cooperation Agency. https://bit.ly/3eQNlQk
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาของประเทศไทย. (2564). ชุมชนบ้านน้ำเชี่ยว. Thailand Tourism Directory. https://www.thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/80249
กฤษณะ เวชพร. (2548). อัญมณีวิทยา(ความรู้เกี่ยวกับเพชรพลอย). นพรัตน์.
กษมา ถิ่นกาญจน์. (2562). การพัฒนาดินปั้นกากมะพร้าวสำหรับผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี]. https://bit.ly/3F0EdmP
คเณศ วงษ์ระวี, สนอง เอกสิทธ์ และทชณิตร เธียรทณัท. (2555). นวัตกรรมการพัฒนาดินปั้นที่มีประกายมุกสำหรับการประยุกต์ใช้ในการปั้นขึ้นรูปเครื่องประดับตกแต่งและงานศิลปหัตถกรรม: “ดินจุฬาฯ” ดินประกายมุกแปรรูปจากเปลือกหอยแมลงภู่จากอุตสาหกรรมอาหารทะเล(รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
รติกร สมิตไมตรี, จินตนาส และกังสดาลย์ บุญปราบ. (2562). องค์ประกอบของสารสีในเนื้อหอยและปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนต ในเปลือกหอยแมลงภู่ (Perna viridis). วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(4), 706-716.
ศรีรัตน์ เส็งสาย และสวรรยา ธรรมอภิพล. (2562). ผลกระทบและการจัดการขยะเปลือกหอยจากการแปรรูปผลิตภัณฑ์หอยแมลงภู่ ตำบลแหลมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. ใน พีรพัฒน์ ยางกลาง (บ.ก.), การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล:ความท้าทายและโอกาสในการจัดการธุรกิจ. การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติ (น. 112–125). คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปกร.
โสภิดา วิศาลศักดิ์กุล อรวัลภ์ อุปถัมภานนท์ และสริดา จารุศรีกมล. (2562). พัฒนาผลิตภัณฑ์ดินปั้นจากกากมะตูม. ใน อารีรัตน์ แย้มเกสร (บ.ก.), การประชุมวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับชาติ (น.241-250). มหาวิทยาลัยรังสิต.
อภิรัติ โสฬศ, นิอร ดาวเจริญพร และรุ่งฤทัย รำพึงจิต. (2555). การพัฒนาแป้งปั้นจากเปลือกทุเรียนสำหรับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก(รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
Helmenstine, A. M. (2020). Mohs Scale of Mineral Hardness. ThoughtCo. https://bit.ly/3F4tV5g