การพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

วิชุลดา มาตันบุญ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จและเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในภาคเหนือตอนบนสามแห่ง เพื่อนำเอาองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลยางฮอม (เขตโรงพยาบาล) อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีชุมชน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มเป้าหมายการสำรวจข้อมูลโรงเรียนผู้สูงอายุที่เป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 86 คน ประกอบไปด้วยผู้สูงอายุและแกนนำผู้สูงอายุ พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และวิทยากรในโรงเรียนผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมายระยะพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลยางฮอม จำนวน 111 คน ประกอบไปด้วยผู้สูงอายุและแกนนำผู้สูงอายุ พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และวิทยากรในโรงเรียนผู้สูงอายุ ผลการศึกษาการดำเนินงานพบว่า โรงเรียนผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จและมีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศทั้งสามแห่งมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้สูงอายุทั้ง 4 ด้านคือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และสติปัญญา มีปัจจัยที่เหมือนกันคือมีผู้นำหลักที่มีความตั้งใจและมีจิตอาสาทำงานเพื่อผู้สูงอายุ ได้รับความศรัทธาและความไว้วางใจจากคนในชุมชน แต่โรงเรียนทั้งสามแตกต่างกันตรงที่ผู้นำหลักในแต่ละพื้นที่มีบทบาทในชุมชนแตกต่างกันคือ นายกเทศมนตรี พระสงฆ์ และนักพัฒนาชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งส่งผลต่อความยั่งยืนของโรงเรียนผู้สูงอายุ ด้านผลการพัฒนาโรงเรียนผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลยางฮอม (เขตโรงพยาบาล) เกิดจากความต้องการของเครือข่ายผู้สูงอายุในพื้นที่ มีแกนนำหลักคือประธานชมรมผู้สูงอายุในระดับตำบลที่ได้รับความศรัทธาและไว้วางใจจากคน  ในชุมชน เป็นทั้งผู้บริหารและผู้ประสานงานในการจัดหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุ ได้นำเอารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุทั้งสามแห่งที่ประสบความสำเร็จและมีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศมาพัฒนาโรงเรียน โดยคำนึงถึงความต้องการของพื้นที่และข้อจำกัดในการดำเนินงาน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
มาตันบุญ ว. (2023). การพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนบน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 18(2), 107–119. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/248956
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2560). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์, เผด็จการ กันแจ่ม, ธนากร ธนวัฒน์, ณิชารีย์ ใจคำวัง และพิชชาภา คนธสิงห์. (2562). รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 14(1), 65-78.

โกสินล์ ชี้ทางดี. (2562). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในจังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 325-336.

ขวัญสุดา เชิดชูงาม. (2563). ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานโรงเรียนผู้สูงอายุในสังกัดของกรุงเทพมหานครและสถาบันการศึกษา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 14(3), 357-373.

เครือวัลย์ มาลาศรี และภัทรธิรา ผลงาม. (2559). การพัฒนาศักยภาพในการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 26-38.

พยงค์ ขุนสะอาด. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยส้านพลับพลา ตำบลโป่งแพร่ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 15(1), 33-50.

พระชาญณรงค์ อตฺตทนฺโต. (2564). โรงเรียนผู้สูงอายุ: รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุเชิงพุทธของโรงเรียนผู้สูงอายุ ในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 5(2), 14-22.

เพชรธยา แป้นวงษา, ไพฑูรย์ สอนทน และกมล อยู่สุข. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชนบท จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 15(2), 41-56.

เพ็ญณี กันตะวงษ์ แนรอท และณรงค์ เกียรติคุณวงศ์. (2562). การดูแลผู้สูงอายุ บทเรียนจากเมืองโกเบ. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มิ่งขวัญ คงเจริญ และกัมปนาท บริบูรณ์. (2562). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (2549). สวัสดิการผู้สูงอายุ: แนวคิดและวิธีปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์. มิสเตอร์ก๊อปปี้.

สมคิด แทวกระโทก. (2560). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 11(1), 158-170.