การออกแบบและสร้างเครื่องทอดกล้วยไส้มะขามกึ่งอัตโนมัติแบบควบคุมอุณหภูมิ

Main Article Content

ยศวรรธน์ จันทนา
นรัตว์ รัตนวัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกแบบและสร้างเครื่องทอดกล้วยไส้มะขามกึ่งอัตโนมัติแบบควบคุมอุณหภูมิเพื่อหาอุณหภูมิและเวลาที่มีความเหมาะสมในกระบวนการทอดกล้วย สำหรับวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกล้วยไส้มะขามในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการวัดค่าสีและความกรอบของกล้วยไส้มะขามหลังผ่านกระบวนการทอด ซึ่งทำการออกแบบการทดลองจำนวน 9 ทดลอง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า เครื่องทอดกล้วยไส้มะขามกึ่งอัตโนมัติแบบควบคุมอุณหภูมิ ใช้ความร้อนจากฮีตเตอร์ ขนาด 2.8 กิโลวัตต์ ในการให้ความร้อนที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ชุดใบพัดกวนใช้มอเตอร์ขนาด 25 วัตต์ และชุดยกกระทะใช้มอเตอร์ 60 วัตต์ ผลการทดสอบหาค่าอุณหภูมิที่มีความเหมาะสมในการทอดกล้วย โดยกำหนดอุณหภูมิ 3 ค่า ได้แก่ 140, 150 และ 160 องศาเซลเซียส ผลการวัดค่าสีของกล้วยหลังการทอดที่อุณหภูมิ 140 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ต่ำที่สุดในการทดลองทอดกล้วยมีค่าสีสว่างมากกว่า แต่อมน้ำมันที่อุณหภูมิ 150 และ 160 องศาเซลเซียส และผลการวัดค่าความกรอบของกล้วยหลังการทอดที่อุณหภูมิ 140 และ 150 องศาเซลเซียส ใช้เวลามากกว่าไม่กรอบและอมน้ำมันที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส ใช้เวลาน้อยและมีความกรอบที่เหมาะสมไม่อมน้ำมัน โดยการทอดกล้วยไส้มะขามที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิที่มีความเหมาะสมที่มีความสัมพันธ์ต่อค่าความกรอบของกล้วยหลังการทอด ซึ่งสามารถลดของเสียได้มากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับการทอดกล้วยไส้มะขามแบบเดิม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
จันทนา ย., & รัตนวัย น. (2023). การออกแบบและสร้างเครื่องทอดกล้วยไส้มะขามกึ่งอัตโนมัติแบบควบคุมอุณหภูมิ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 18(1), 105–121. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/248544
บท
บทความวิจัย

References

กล้วยหินแดนใต้ไปได้ดีที่เพชรบูรณ์..แปลงร่างเป็น “กล้วยหินใส้มะขามหวาน-บัวโฮม”. (2563, 7 กรกฎาคม). ฟาร์ม แชนเนล. https://farmchannelthailand.com/main/กล้วยหินแดนใต้ไปได้ดีท/

การยางแห่งประเทศไทย. (2560, 7 ธันวาคม). อาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้สวนยาง. การจัดการองค์ความรู้ กยท. https://km.raot.co.th/km-knowledge/detail/378

จงกล สุภารัตน์, ชวลิต อินปัญโญ, และศิริชัย ต่อสกุล. (2560). การออกแบบและพัฒนาเครื่องทอดหอมเจียว. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี, 15(2), 51-57.

ประสงค์ ศิริวงศ์วิไลชาติ และเพชรัตน์ วิยะแก้ว. (2562). ผลของการเตรียมก่อนทอดและวิธีการทอดต่อสมบัติด้านเนื้อสัมผัสและประสาทสัมผัสของถั่วทองทอดกรอบ. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 11(21), 141-152.

ปรัชญา พละพันธ์. (2560). คู่มือวิเคราะห์และจัดการข้อมูลสถิติด้วย Minitab ฉบับมืออาชีพ. ไอดีซี พรีเมอร์.

ไพบูลย์ แย้มเผื่อน. (2548). เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ไพศาล ทองสงค์, สญชัย เข็มเจริญ, และศิริชัย ต่อสกุล. (2561). การออกแบบและพัฒนาเครื่องสลัดน้ำมันหมูฝอยต้นแบบสำหรับ OTOP กลุ่มสตรีอาสาพัฒนาบ้านหนองหลวงเพื่อการส่งออกสู่ประชาคมอาเซียน. วิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต, 8(3), 89-100.

ยุทธชัย เกี๊ยวสันเทียะ. (2564). การออกแบบและทดสอบตู้อบกล้วยพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดพาสซีฟ. วารสารมหาวิทยาลัยวงชวลิตกุล, 34(1), 60-74.

รัฐพล ดุลยะลา. (2563). การออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดกระยาสารทแบบกึ่งอัตโนมัติ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 15(2), 117-131.

ราฮีมา วาแมดีซา และสะมะแอ ดือราแม. (2554). การเพิ่มจำนวนกล้วยหินโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(3), 47-59.

สุชาสินี พานทอง และอัษฎางค์ พลนอก. (2561). การศึกษาวิธีการทอดอาหารของร้านขายกล้วยทอดและการเกิดสารโพลาร์. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 14(3), 130-139.

Ayustaningwarno, F., Fogliano, V., Verkerk, R., & Dekker, M. (2021). Surface color distribution analysis by computer vision compared to sensory testing: Vacuum fried fruits as a case study. Food Research International, 143, 110230. https://doi.org/10.1016/j.foodres.2021.110230

Goh, K. M., Wong, Y. H., Tan, C. P., & Nyam, K. L. (2021). A Summary of 2-, 3-MCDP esters and glycidyl ester occurrence during frying and baking processes. Current Research in Food Science, 4, 460-469. https://doi.org/10.1016/j.crfs.2021.07.002