การพัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน: กรณีศึกษาผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้าน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์มูลฝอยติดเชื้อที่เกิดจากผู้ป่วยในชุมชน และพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รูปแบบเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบ่งการศึกษาเป็น 3 ระยะ คือ ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้าน และประเมินผลหลังการทดลองใช้ในผู้ป่วย 3 กลุ่ม คือผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลเรื้อรัง ผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้อง และผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดอินซูลิน จำนวน 189 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบ McNemar’s test วิเคราะห์ช่องว่าง (Gap Analysis) และพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อชุมชน ผลการวิจัยพบว่า อัตราการเกิดมูลฝอยติดเชื้อจากผู้ป่วยที่รักษาตัวที่บ้านในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงที่มีแผลเรื้อรัง ผู้ป่วยล้างไตทางหน้าท้อง และผู้ป่วยเบาหวานฉีดอินซูลิน มีค่าเท่ากับ 1.44±0.70 2.90±2.70 และ 0.16±0.03 กก./คน/วัน ตามลำดับ พบปริมาณมูลฝอยติดเชื้อก่อนการกำหนดรูปแบบเข้าสู่ระบบการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเพียงร้อยละ 4.13 พัฒนารูปแบบการจัดการโดยกำหนดให้ผู้ป่วยแยกมูลฝอยติดเชื้อเพื่อส่งไปกำจัดที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านหรือนำไปรีไซเคิล และหลังทดลองใช้รูปแบบการจัดการส่งผลให้มีการจัดการถูกต้องเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 22.5 ผลการทดสอบ McNemar’s test ที่ระดับ Level of Sig (p) <0.001 พบว่าการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อที่ถูกต้องในชุมชนระยะหลังกำหนดรูปแบบเพิ่มขึ้นจากระยะก่อนกำหนดรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2562). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทยปี พ.ศ. 2561. ในกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บ.ก.), สถานการณ์ขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายและการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย (น. 41). หจก.ส.มงคลการพิมพ์.
กรมอนามัย. (2560). ภาพรวมสถานการณ์การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของประเทศไทย. https://envmanifest.anamai.moph.go.th/?summary_hosp&id=72
กรมอนามัย. (2562). แนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ โดยเทคโนโลยี การทำลายเชื้อด้วยไอน้ำ ณ แหล่งกำเนิด. สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
จันทนา มณีอินทร์. (2556). การจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. http://libdcms.nida.ac.th/thesis6/2556/b180561.pdf
ณัฐวุฒิ ผดุงเพียร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะของเทศบาลพระนครศรีอยุธยา [สารนิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยสยาม. https://e-research.siam.edu/kb/factors-affected-to-effectiveness-of-waste-management-of-phra-nakon-si-ayutthaya-city-municipality-phra-nakon-si-ayutthaya-province/
นริศรา เลิศพรสวรรค์, ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์, และธานี แก้วธรรมานุกูล. (2560). ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานเก็บขยะ. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 44(2), 138-150.
ประจวบ แสงดาว. (2563, 15 กุมภาพันธ์). การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน ในเขตสุขภาพที่ 4 สระบุรี. ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี. http://203.157.71.115/knowledge/academic/category/view?id=64.
ประชุมพร กวีกรณ์, นารถฤดี กุลวิเศษณ์, และอำนาจ เหมลา. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4), 703-728.
รติรส ตะโกพร. (2558). พฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในบ้านเรือน กรณีศึกษา: อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/321/1/รติรส.pdf
สกุลรัตน์ โทนมี, รัชนีกร จันสน, วิภาดา ศรีเจริญ, พิสมัย กลอนกลาง, และนงลักษณ์ เจริญไพบูลย์ลาภ. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนของประชาชน ตำบลตะเบาะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 13(2), 32-44.
สมัชชาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี. (2559). การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนท้องถิ่น. ใน การประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี พ.ศ.2559. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี.
Lazo, Denise P Lozano. & Gasparatos, Alexandros. (2022). Factors influencing household-level positive and negative solid waste management practices in rapidly urbanizing cities: insights from Santa Cruz de la Sierra, Bolivia. Environmental Research Infrastructure and Sustrainability, 2. https://doi.org/10.1088/2634-4505/ac44da
Suryo, P. Y. & Cicik, S. (2017). Push factors of community participation in the management of waste bank in the city of Surakarta, Central Java province, Indonesia. Russian Journal of Agricultural and Socio-Economic Sciences, 8(68), 34-40. https://doi.org/10.18551/rjoas.2017-08.06