การใช้รูปแบบห้องเรียนสถาปัตยกรรมชุมชนเพื่อสร้างสถานการณ์จำลองในการพัฒนาที่อยู่อาศัยชุมชนผู้มีรายได้น้อยในเมือง เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสถานการณ์จำลอง ทางเลือกในการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชุมชนผู้มีรายได้น้อยในเขตยานนาวาโดยใช้รูปแบบห้องเรียนสถาปัตยกรรมชุมชน เพื่อศึกษารูปแบบการสร้างความร่วมมือของสถาบันการศึกษากับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาชุมชน และเพื่อสร้างทักษะให้กับนักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมชั้นปีที่ 4 ในการแก้ไขปัญหาโดยใช้สถานการณ์จริง ระเบียบวิธีการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้กระบวนการออกแบบทางสถาปัตยกรรมเพื่อสร้างทางเลือกในการพัฒนา โดยการบูรณาการกับการเรียนการสอนสถาปัตยกรรม พื้นที่ศึกษา คือ ชุมชนเชื้อเพลิงพัฒนา เขตยานนาวา ปัญหาสำคัญคือ การอยู่อาศัยอย่างแออัดและขาดสุขภาวะของชุมชน ผู้มีรายได้น้อยที่อยู่อาศัยต่อเนื่องกันมายาวนาน ผลการวิจัยพบว่า สามารถสร้างสถานการณ์จำลองรูปแบบในการพัฒนาได้เป็น 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) รูปแบบที่อยู่อาศัยแนวราบ 2) รูปแบบอาคารอยู่อาศัยรวมสูง 6-9 ชั้น และ 3) รูปแบบอาคารอยู่อาศัยรวมขนาดใหญ่พิเศษสูง 36 ชั้น และจากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของชุมชน ส่วนใหญ่ต้องการรูปแบบที่อยู่อาศัยแนวราบในพื้นที่เดิม รองลงมา ยังไม่แสดงความคิดเห็น เนื่องจากไม่มั่นใจในสถานะทางการเงินของตนเอง ส่วนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน พบว่า ส่วนใหญ่ได้เรียนรู้ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น รองลงมาคือ ทักษะการสื่อสารกับชุมชนและ การได้ใช้ทักษะด้านการออกแบบและวิชาชีพเพื่อแก้ปัญหาให้ชุมชน นอกจากนั้น การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงทำให้ได้เข้าใจปัญหาชุมชน รวมทั้งได้รู้ถึงศักยภาพของตนเอง และมีความภาคภูมิใจที่ได้ใช้ความรู้ช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมธนารักษ์. (2564). การใช้ที่ราชพัสดุทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม. สืบค้น 2 พฤษภาคม 2564, จาก
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2547). การมีส่วนร่วม : หลักการพื้นฐาน เทคนิค และกรณีตัวอย่าง (พิมพ์ครั้งที่ 2). สิริลักษณ์การพิมพ์.
มณฑล จันทร์แจ่มใส. (2558). ห้องเรียนสถาปัตยกรรมชุมชน การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษา:การบูรณาการการจัดการเรียนรู้วิชาออกแบบสถาปัตยกรรมกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย (โครงการบ้านมั่นคง ชุมชนพระราม 9 บ่อ 3). วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(3), 106-117.
สำนักข่าวออนไลน์RYT9. (2564) กรมธนารักษ์สนับสนุนที่ราชพัสดุสร้างบ้านมั่นคงแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยตามนโยบายของรัฐบาลและสอดคล้องกับแนวทางUN. สืบค้น 14 มิถุนายน 2564, จาก https://www.ryt9.com/s/prg/724471
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. สืบค้น 14 มิถุนายน 2564, จาก http://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/1540
สุมล ยางสูง และเรวดี อุลิต. (2558). โครงการบ้านมั่งคง การพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยองค์กรชุมชนและท้องถิ่น. สำนักงานบ้านมั่นคง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์กรมหาชน). https://ref.codi.or.th/attachments/article/28/Project_Guide%20_111158.pdf
Chevalier, J. M., & Buckles, D. J. (2013) Participatory Action Research: Theory and Methods for Engaged Inquiry, UK: Routledge.
Cuban, S., & Anderson, J. B. (2007). Where's the justice in service-learning? Institutionalizing service-learning from a social justice perspective at a Jesuit university. Equity & Excellence in Education, 40 (2), 144-155.
Ibrahim, M. (2010). The use of community based learning in educating college students in Midwestern USA. Procedia Social and Behavioral Sciences, 2 (2), 392-396
Melaville, A., Berg, A. C., & Blank, M. J. (2006). Community-based learning : Engaging students for success and citizenship. Partnerships/Community, 40. Retrieved on June 15, 2018, from http://digitalcommons.unomaha.edu/slcepartnerships/40
Reason, P., & Bradbury, H. (2008) (eds) The Sage Handbook of Action Research: Participative Inquiry and Practice. CA: Sage.
Saavedra, A. R., & Opfer, V. D. (2012). Teaching and learning 21st century skills : Lessons from the learning sciences. Retrieved on June 15, 2018, from https://asiasociety.org/education/teaching-and-learning-21st-century-skills
Schleicher, A. (Ed.). (2012). Preparing teachers and developing school leaders for the 21st century : lessons from around the world. Retrieved on June 15, 2018, from https://www.oecd.org/site/eduistp2012/49850576.pdf