การกักเก็บคาร์บอนในดินและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกักเก็บคาร์บอนในดินในรูปอินทรีย์คาร์บอนของป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยบางประการที่อาจมีความสัมพันธ์กับคาร์บอนในดิน ได้แก่ ความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) ปริมาณการกักเก็บคาร์บอน เหนือพื้นดิน ความหนาแน่นของต้นไม้ ดัชนีความหลากหลาย และประเภทของป่า แปลงตัวอย่างที่นำมาศึกษาเป็นแปลงของป่าเบญจพรรณ 7 แปลง และป่าเต็งรัง 5 แปลง ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ นำข้อมูลจากแปลงตัวอย่างมาวิเคราะห์โครงสร้างทางสังคมพืช ได้แก่ ความหนาแน่นของไม้ยืนต้น และดัชนีความหลากหลาย รวมถึงคำนวณการกักเก็บคาร์บอนเหนือดินด้วยสมการแอลโลเมตรี นำตัวอย่างดินมาวิเคราะห์ค่าอินทรีย์คาร์บอน ในดินและความเป็นกรด-ด่างของดิน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยโดยใช้ Pearson Correlation Coefficient ผลการศึกษาพบว่าปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดินของป่าเบญจพรรณ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 193.87 t/ha (134.53 – 229.93 t/ha) และป่าเต็งรังมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 175.97 t/ha (96.15 – 244.37 t/ha) และเมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติพบว่าคาร์บอนในดินของป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) การวิเคราะห์ปัจจัยที่อาจมีอิทธิพลด้านอื่น ๆ พบว่า ค่าความเป็นกรด-ด่างของดินในป่าทั้งสองประเภทมีค่าใกล้เคียงกัน โดยค่าเฉลี่ยความเป็นกรด-ด่างของดินในป่าเบญจพรรณมีค่าเท่ากับ 6.98 และความเป็นกรด-ด่างเฉลี่ยของดินในป่าเต็งรังมีค่าเท่ากับ 7.07 ค่าเฉลี่ยความหนาแน่นของไม้ใหญ่ในป่าเบญจพรรณมีค่าเท่ากับ 290 ต้น/ha และป่าเต็งรังมีค่าเท่ากับ 360 ต้น/ha ค่าดัชนีความหลากหลายของป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.620 และ 2.100 ตามลำดับ ปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเหนือพื้นดินในป่าเบญจพรรณ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 41.41 t/ha ป่าเต็งรังมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 109.42 t/ha อย่างไรก็ตาม ผลจากการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างการกักเก็บคาร์บอนในดินกับปัจจัยด้านอื่น พบว่า ทุกปัจจัยไม่มีความสัมพันธ์กับคาร์บอนในดินอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการกักเก็บคาร์บอนของป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง ซึ่งเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลคาร์บอนทั้งในพื้นที่ระดับท้องถิ่นและในระดับโลก สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบในการให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในพื้นที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการอนุรักษ์และเพื่อบูรณาการข้อมูลในการวางแผนจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตพื้นที่ใกล้เคียง
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2564, จาก http://www.ldd.go.th/PMQA/2553/Manual/OSD-03.pdf
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2548). โครงการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2564, จาก https://www.dnp.go.th/nprd/detailproject/cc_erawan.php
ดิเรกฤทธิ์ บัวเวช. (2561). ปฏิบัติการนิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม. ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธรรมนูญ เต็มไชย, เพชรรัตน์ ดีแก้ว, มยุรี แสงสว่าง, พันธุ์ทิพา ใจแก้ว, ดำรงศักดิ์ เฮงสว่าง, ชุมพล แก้วเกตุ, สว่างพงษ์ วรรณมณี, ณัฐนันท์ จิตรา, ปิยธิดา ทองสุข, ปิยภรณ์ มาตผาง, ตะหลก ทองเกิด, สุมาลี จีวพงษ์, ชะนุ้ย บัวศรี, ณัฐชานนท์ ปุ๊ล๊ะ, สุขวินัย คำกลั่น, และเชฐพงษ์ ทับทิมแดง. (2560). รายงานการศึกษาการสะสมคาร์บอนในพื้นที่ มรดกอาเซียน: อุทยานแห่งชาติกุยบุรี. วารสารนภาเพชร, (1), 38–52.
รสริน มังกะโรทัย, ศิรประภา เปรมเจริญ, ศศิธร หาสิน, และฝอยฝา ชุติดำรง. (2561). สภาพป่าและการกักเก็บคาร์บอนในดินบริเวณป่าชายเลนคลองโคน จังหวัดสมุทรสงคราม. PSRU Journal of Science and Technology, 3(3), 39–49.
วรพัชร วิชัยสุชาติ, สมนิมิตร พุกงาม, ปิยพงษ์ ทองดีนอก, นฤมล แก้วจำปา, และรจนา ตั้งกุลบริบูรณ์. (2561). การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการกักเก็บคาร์บอนในดิน บริเวณพื้นที่ป่าชนิดต่าง ๆ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ–ปุย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 18(4), 61–77.
วสันต์ จันทร์แดง, ลดาวัลย์ พวงจิตร, นพพร จันเกิด, และนรินธร จำวงษ์. (2563). การกักเก็บคาร์บอนในสังคมพืชป่าไม้ชนิดต่าง ๆ ณ สถานีวิจัยและฝึกนิสิตวนศาสตร์วังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวนศาสตร์ไทย, 39(1), 57–70.
วสันต์ จันทร์แดง, ลดาวัลย์ พวงพิจิตร, และสาพิศ ดิลกสัมพันธ์. (2553). การกักเก็บคาร์บอนของป่าเต็งรังและสวนป่ายูคาลิปตัส ณ สวนป่ามัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น. วารสารวนศาสตร์, 29(3), 36–44.
Ali, M., & Mindari, W. (2016). Effect of humic acid on soil chemical and physical characteristics of embankment. MATEC Web of Conferences, 58, 1–6.
Amundson, R., & Biardeau, L. (2018). Soil carbon sequestration is an elusive climate mitigation tool. Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS), 115(46), 11652–11656.
Baldeck, C. A., Harms, K. E., Yavitt, J. B., John, R., Turner, B. L., Velencia, R., Navarrete, H., Davies, S. J., Chuyong, G. B., Kenfack, D., Thomas, D. W., Madawala, S., Gunatilleke, N., Gunatilleke, S., Bunyavejchewin, S., Kiratiprayoon, S., Yaacob, A., Supardi, M. N., & Dalling, J. W. (2013). Soil resources and topography shape local tree community structure in tropical forest. Proceedings of the Royal Society B, 280, 20122532.
Blakemore, L. C., Searle, P. L., & Daly, B. K. (1987). Methods for chemical analysis of soils. Department of Scientific and Industrial Research.
Cusack, D. F, Markesteijn, L., Condit, R., Lewis, O. T., & Turner, B. L. (2018). Soil carbon stocks across tropical forests of Panama regulated by base cation effects on fine roots. Biochemistry, 137, 253–266.
Gardner, T. A., Burgess, N. D., Aguilar-Amuchasegui, N., Barlow, J., Berenguer, E., Clements, T., Danielson, F., Ferreira, J., Foden, W., Kapos, V., Khan, S. M., Lees, A. C., Parry, L., Roman-Cuesta, R. M., Schmitt, C. B., Strange, N., Theilade, I., & Vieira, I. C. G. (2012). A framework for integrating biodiversity concerns into national REDD+ programmes. Biological Conservation, 154, 61–71.
Houghton, R. A. (2007). Balancing the global carbon budget. Annual Review of Earth and Planetary Sciences, 35, 313–347.
Intergovernmental Panel of Climate Change (IPCC). (2007). Climate Change 2007: The physical science basis: Working group I contribution to the fourth assessment report of the IPCC. Cambridge University Press.
Intergovernmental Panel of Climate Change (IPCC). (2014). Climate Change 2014 Synthesis Report Summary for Policymakers. IPCC.
Kavinchan, N., Wangpakapattanawong, P., Elliot, S., Chairuangsri, S., & Pinthong, J. (2015). Soil organic carbon stock in restored and natural forests in northern Thailand. KKU Research Journal, 20(3), 294–304.
Lal, R. (2001). Potential of desertification control to sequester carbon and mitigate the greenhouse effect. Climate Change, 15, 35–72.
Lal, R. (2008). Carbon sequestration. Philosophical Transactions of the Royal Society B, 363, 815–830.
Nave, L., Marin-Spiotta, E., Ontl, T., Peters, M., & Swanston, C. (2019). Soil carbon management. Developments in Soil Science, 36, 215–257.
Oelkers, E. H., & Cole, D. R. (2008). Carbon dioxide sequestration: a solution to the global problem. Elements, 4, 305–310.
Ogawa, H., Yoda, K., Ogino, K., & Kira, T. (1965). Comparative ecological studies on three main type of forest vegetation in Thailand II Plant Biomass. Nature and Life in Southeast Asia, 4, 49–80.
Ontl, T. A., & Schulte, L. A. (2012). Soil Carbon Storage. Nature Education Knowledge, 3(10), 35.
Sanderman, J., Hengl, T., & Fiske, G. J. (2017). Soil carbon debt of 12,000 years of human land use. Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS), 114, 9575–9580.
Sangermano, F., Toledano, J., & Eastman, J. R. (2012). Land cover change in the Bolivian Amazon and its implications for REDD plus and endemic biodiversity. Landscape Ecology, 27, 571–584.
Stevenson, F. J. (1994). Humus chemistry: Genesis, Composition, Reactions. New York: John Wiley.
Vicharnakorn, P., Shrestha, R., Nagai, M., & Salam, P. (2014). Carbon Stock Assessment Using Remote Sensing and Forest Inventory Data in Savannakhet, Lao PDR. Remote Sensing, 6(6), 5452–5479.
Walkley, A. J., & Black, I. A. (1934). Estimation of soil organic carbon by the chromic acid titration method. Soil Science, 37, 29–38.
Wang, X., Li, Y., Duan, Y., Wang, L., Niu, Y., Li, X., & Yan, M. (2021). Spatial variability of soil organic carbon and total nitrogen in desert steppes of China’s Hexi corridor. Frontiers in Environmental Science, 9, 1–14.
Washington, H. G. (1984). Diversity, biotic and similarity indices: a review with special relevance to aquatic ecosystems. Water Research, 18, 653–694.