การศึกษาศักยภาพโรงงานผลิตพืชขนาดเล็กสำหรับเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ในขวดแก้ว ของหมู่บ้านปงไคร้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สราวุธ พลวงษ์ศรี
สุลักษณา มงคล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการใช้งานและวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของโรงงานผลิตพืชขนาดเล็กสำหรับเพาะเลี้ยงกล้วยไม้นกคุ้มไฟในขวดแก้วของหมู่บ้านปงไคร้ ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการปรับปรุงอาคารเพาะเลี้ยงหลังเดิมที่เป็นอาคารแบบปิดกว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร สูง 3.5 เมตร ภายในติดตั้งระบบปรับอากาศขนาด 18,000 บีทียูต่อชั่วโมง ติดหลอดแอลอีดีปลูกพืชสีขาวขนาด 18 วัตต์ จำนวน 12 หลอด กับชั้นวางขวดเพื่อให้แสงแก่พืชและติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กำลังไฟฟ้า 3.15 กิโลวัตต์สูงสุด บนหลังคา และการดำเนินการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ จากการทดสอบพบว่าโรงงานผลิตพืชสามารถรักษาระดับอุณหภูมิอากาศในห้องได้ตามต้องการในช่วง 25-27 องศาเซลเซียส และมีคุณภาพของแสงค่า Photosynthetic Photon Flux Density (PPFD) ตั้งแต่ 10-49 ไมโครโมลต่อตารางเมตรต่อวินาที ซึ่งเพียงพอกับการเจริญเติบโตของกล้วยไม้นกคุ้มไฟที่เพาะเลี้ยงในขวดแก้ว เมื่อศึกษาใช้งานเพื่อเพาะเลี้ยงกล้วยไม้เป็นระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 25 มิถุนายน 2564 พบว่า โรงงานผลิตพืชมีการใช้พลังงานไฟฟ้า 3-12 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อวัน คิดเป็นสัดส่วนจากพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 6-7 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อวัน หรือคิดเป็น 65-70 เปอร์เซ็นต์ กล้วยไม้ในขวดแก้วมีอัตราการรอดเฉลี่ย 71.32 เปอร์เซ็นต์ ดีกว่าเพาะเลี้ยงแบบเดิมที่มีอัตรารอดประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์จากข้อมูลของชุมชน และอัตราความสูงที่เพิ่มขึ้นต่อเดือนตั้งแต่ 1.56-72.77 เปอร์เซ็นต์ ผลการประเมินความทางเศรษฐศาสตร์ พบว่าหากมีการใช้โรงงานผลิตพืชเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ตลอดทั้งปีจะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 47,550 บาทต่อปี มีระยะเวลาคืนทุน 3.15 ปี มีค่ามูลค่าปัจจุบันสุทธิ 369,848.49 บาท มีค่าอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 30.56 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมากกว่าค่า MRR 5.995 เปอร์เซ็นต์ หรืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งถือว่าเป็นโครงการที่ให้ผลตอบแทนได้ดี ผลที่เกิดขึ้นสามารถช่วยสร้างรายได้จากกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนมากกว่า 40,000 บาทต่อปี นอกจากนี้หากมีการเพิ่มจำนวนการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ขวดจะส่งผลให้ได้ผลตอบแทนที่เร็วขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนากร นํ้าหอมจันทร์. (2562). โรงงานผลิตพืช Plant Factory. EAU Heritage Journal Science and Technology, 13(2), 46–62.

อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ ครั้งที่ 2/2564. (2564). https://www.scb.co.th/content/dam/scb/personal-banking/rates-fees/loans/2021/loans64-02.pdf

Cai, J., Zhao, L., & Zhu, E. (2015). A new flavonal triglycoside derived from Anoectochilus elwesii on stimulating glucose uptake in insulin-induced human HepG2 cells. Natural Product Research, 29(15), 1414–1418.

Iwao, T., Murakami, T., Akaboshi, O., Cho, H. Y., Yamada, M., Takahashi S., Kato, M., Horiuchi, N., & Ogiwara, I. (2021). Possibility of harvesting June-bearing strawberries in a plant factory with artificial light during summer and autumn by re-using plants cultivated by forcing culture. Environmental Control in Biology, 59(2), 99–105.

Kim, Y., Shin, Hye–Ry., Oh, Su-hyun., & Yu, Ki–Hyung. (2022). Analysis on the economic feasibility of a plant factory combined with architectural technology for energy performance improvement. Agriculture, 12(684), 1–11.

Quan, Q., Zhang, X., &. Xue, X. Z. (2018). Design and implementation of a closed-loop plant factory. IFAC-PaperOnlines, 57(17), 353–358.

Samuelson, P. A., & Nordhaus, W. D. (2001). Economics. (17th ed.), McGraw-Hill Books.

Ueno, M., & Kawamitsu, Y. (2017). Design of a plant factory suitable for Okinawa. Engineering and Applied Science Research, 44(3), 182–188.

Zhang, X., He, D., Niu, G., Yan, Z., & Song, J. (2018). Effects of environment lighting on the growth, photosynthesis, and quality of hydroponic lettuce in a plant factory. International Journal of Agricultural and Biological Engineering, 11(2), 33–40.

Zou, T., Huang, C., Wu, P., Ge, L., & Xu, Y. (2020). Optimization of artificial light for spinach growth in plant factory based on orthogonal test. Plants, 9(4), 490.