การออกแบบและทดสอบเครื่องผสมข้าวแนวนอนที่มีใบกวนแบบริบบอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเครื่องผสมข้าวแนวนอนที่มีใบกวนเเบบริบบอนและทดสอบหาความเร็วและเวลาที่เหมาะสมในการผสมข้าวสารของวิสาหกิจชุมชนแปรรูปการเกษตรทองดี ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ ในการออกแบบตัวเครื่องผสมแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นตัวถังผสม ส่วนที่สองเป็นชุดใบกวนเส้นแถบขดเป็นเกลียวสองชั้น ส่วนที่สามเป็นชุดมอเตอร์ที่ส่งกำลังผ่านชุดเฟืองไปยังเพลาหมุนของใบกวนซึ่งชุดมอเตอร์สามารถกำหนดความเร็วและทิศทางในการหมุนของการผสมผ่านชุดควบคุม ในการทดสอบใช้ข้าวจำนวน 200 กิโลกรัม โดยมีสัดส่วนของข้าวหอมมะลิที่มีสีขาวกับข้าวทับทิมชุมแพที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดง ในอัตราส่วน 3:1 จากนั้นทำการทดสอบที่ความถี่อินเวอร์เตอร์ 3 ระดับคือ 15, 20 และ 25 เฮิรตซ์ (คิดเป็น 21.75, 29 และ 36.25 รอบต่อนาที ตามลำดับ) โดยการใช้ลูกปัดสีส้มขนาด 5 มิลลิเมตรจำนวน 5,000 ลูก เป็นตัวแทน ของข้าวที่ผสม ผลที่ได้ถูกนำไปแปรค่าเป็นสัมประสิทธิ์การกระจาย (Coefficient of Variation, CV) ซึ่งใช้เวลาในการผสม 300, 180 และ 30 วินาทีที่ทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การกระจายน้อยกว่าร้อยละ 30 ตามลำดับ เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปสร้างสมการเพื่อประเมินค่าที่ทำให้การผสมมีค่า CV น้อยกว่าร้อยละ 30 พบว่าใช้เวลาผสม 277, 165 และ 7 วินาทีตามลำดับ ผลของการออกแบบเครื่องผสมข้าวและการทดสอบหาความเร็วและเวลาที่ใช้ในการผสมที่เหมาะสมสามารถช่วยเพิ่มกำลังการผลิตที่แรงงานคนเท่ากันและลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ปิยะวัฒน์ ศรีธรรม, วิทยา อิ่มสำราญ, พิทักษ์ บุญไทย, และสุภา สีสนมาก. (2559). เครื่องผสมพร้อมกับอัดเม็ดปุ๋ย. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติระดับชาติ ครั้งที่ 3 จังหวัดขอนแก่น (น. 14–22). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศุภกิตต์ สายสุนทร, ปัณณธร ภัทรสถาพรกุล, วีณา ชาลียุทธ, เยาวลักษณ์ พัสดุ, และนรินทร์ จันทวงศ์. (2553). การพัฒนาต้นแบบเครื่องผสมปุ๋ยหมักแบบถังหมุน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 3(1), 25–28.
สุวรรณ หอมหวล และวัชมา โพธิ์ทอง. (2554). การออกแบบและพัฒนาเครื่องผลิตอาหารทีเอ็มอาร์ สำหรับฟาร์มโคนมขนาดเล็ก. วิทยาสารกำแพงแสน, 9(1), 13–26.
อภิชาติ ศรีชาติ, วีระพล แก้วก่า, และกวีพงษ์ หงส์ทอง. (2562). การพัฒนาเครื่องผสมอาหารสัตว์แนวนอนด้วยใบกวน 2 ชั้น. วารสารวิศวกรรมฟาร์มและเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ, 5(2), 38–48.
อังกาบ บุญสูง. (2563). การพัฒนากระบวนการผสมข้าวพิษณุโลก 80 สู่การส่งเสริมทางการตลาดของข้าวดัชนีน้ำตาลต่ำ (Thai Low GI Rice) วิสาหกิจชุนชนแปรรูปการณ์เกษตรทองดี (สหกรณ์การเกษตรบ้านหม้อ จำกัด). อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
Adebukola, A. A., & Patrick, O. A. (2019). Development and evaluation of a fish feed mixer. Agricultural Engineering international: The CIGR Journal, 21(3), 226–233.
Balami, A. A., Adgidzi, D., & Mua’zu, A. (2013). Development and testing of an animal feed mixing machine. International Journal of Basic and Applied Science, 1(3), 491–503.
Makange, N. R., Parmar, R. P., & Sungwa, N. (2016). Design and fabrication of an animal feed mixing machine. Advances in Life Sciences, 5(9), 3710–3715.
Mocera, F., & Soma, A. (2018). Working cycle requirements for an electrified architecture of a vertical feed mixer vehicle. In AIAS 2018 International Conference on Stress Analysis (pp. 213–223).
Okolie, P. C., Obika, E. N., Oluwadare, B. S., Azaka, O. A., & Okolie, U. O. (2021). Steel work design, production and analysis of a fish feed mixing machine. Heliyon, 7(8), e07658.
Olaniyan, A. M., & Odewole, M. M. (2013). Design and development of a livestock feed mixer with spring-controlled packaging unit. International Journal of Engineering Research in Africa, 9, 43–55.