การศึกษาการปนเปื้อนของสารมลพิษในดินจากการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ณัฐฐินันท์ คล้ายชุ่ม
ปิยนุช ใจแก้ว
เสฎฐา ศาสนนันทน์
ณภัทร โพธิ์วัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนของสารมลพิษในดินที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการเพาะปลูกข้าว บริเวณพื้นที่ปลูกข้าวตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ใช้แบบแผนการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บตัวอย่างดินโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ให้ครอบคลุมพื้นที่ จำนวน 10 แปลง ศึกษาการปนเปื้อนสารมลพิษ 2 กลุ่ม ได้แก่ โลหะหนัก ประกอบด้วย ซีลีเนียม แมงกานีส ทองแดง โครเมียม สังกะสี นิกเกิล สารหนู แคดเมียม ตะกั่ว และปรอท และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประกอบด้วย สารฆ่าแมลงและไร และสารกำจัดวัชพืช จากนั้นหาความแตกต่างทางสถิติกับค่ามาตรฐานคุณภาพดิน ด้วยโปรแกรม SPSS ในการหาค่าทดสอบที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า มีการปนเปื้อนโลหะหนัก ได้แก่ ซีลีเนียม แมงกานีส ทองแดง โครเมียม สังกะสี และนิกเกิล โดยพบซีลีเนียม ทั้ง 10 แปลง เกินค่ามาตรฐานคุณภาพดินที่กำหนด และพบสังกะสี ในแปลงที่ 9 เกินมาตรฐานที่กำหนด ปริมาณโลหะหนักที่พบมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับค่ามาตรฐานเทียบเคียง อีกทั้งยังพบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ประเภทสารฆ่าแมลงและไร คือ Methoprene ในแปลงที่ 8 และ 9 ซึ่ง ออกฤทธิ์ขัดขวางกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของแมลงจากตัวอ่อนไปเป็นตัวเต็มวัย และยังมีผลในการฆ่าไข่ของแมลงด้วย จากการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่ามีการปนเปื้อนของสารมลพิษในดินจากการเพาะปลูกข้าวที่มีการใช้สารเคมีในพื้นที่ศึกษา เกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณากำหนดมาตรการป้องกันและลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนและสิ่งแวดล้อมจากการได้รับสารมลพิษ และต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการดูดซึมสารมลพิษไปสู่ผลผลิต และการสะสมในสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. กองการวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน. (2562). ข้อมูลการจัดการดิน. https://www.ldd.go.th/Web_Soil/polluted.htm#3

กรมพัฒนาที่ดิน. สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. (2555). การเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์สำหรับการปลูกพืช. https://osd101.ldd.go.th/?page_id=39

กรมวิชาการเกษตร. สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร. (2563). รายละเอียดการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร. https://www.doa.go.th/ard/wp-content/uploads/2021/01/รายละเอียดการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร-ปี-2563.pdf

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). ฐานข้อมูลกลางเกษตรกรที่ได้รับใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์. https://organicmoac.ldd.go.th/agriculture/#/reports

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร. http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาแรงงาน/ภาวะการทำงานของประชากร/2563/Report_02-63.pdf

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรมควบคุมมลพิษ. (2564). ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพดิน. https://www.pcd.go.th/laws/25162

กัญญ์สิริ จันทร์เจริญ. (2554). การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง. มหาวิทยาลัยพะเยา. https://shorturl.asia/50Zkp

คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ. (2563, 26 มกราคม). มลพิษในดิน (Soil Pollution). National Geographic. https://ngthai.com/science/27458/soil-pollution/

ซีลีเนียม. (2563). http://mutualselfcare.org/medicine/holistic/element-selenium.aspx?M=k&G=f

ทนงศักดิ์ ปะระไทย. (ม.ป.ป.). ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุอาหารพืชกับดิน. http://r07.ldd.go.th/Web/15_KM/S2.pdf

พนิดา ไชยยันต์บูรณ์. (2558). การพัฒนาการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างของวัตถุอันตรายทางการเกษตรให้ถูกต้อง แม่นยำตามมาตรฐานสากล (รายงานการวิจัย). https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=2219

ภัทราวดี วัฒนสุนทร และจินตนา อมรสงวนสิน. (2559). การตรวจวิเคราะห์การตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในตัวอย่างดินจากนาข้าว ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 245–258.

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2562, 4 มกราคม). คู่มือบริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เกษตร ผัก ผลไม้ น้ำ ดิน. https://mt.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/1-foodsafety_guidebook-2562.pdf

วรรธนศักดิ์ สุขสง, รวี จันทรัตน์, สรพงค์ เบญจศรี, และวิชุดา กล้าเวช. (2556). ปริมาณโลหะหนักสะสมในดินที่ทำการเกษตรเคมีในอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10 (น. 248–255). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

ศิริอุมา เจาะจิตต์, วิยดา กวานเหียน, อุดมรัตน์ วัฒนสิทธิ์, พิมาน ธีระรัตนสุนทร, สุภาภรณ์ ยิ้มเที่ยง, จันจิรา มหาบุญ, และปนัดดา พิบูลย์. (2560). การเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และปริมาณสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในสิ่งแวดล้อม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 10(37), 10–20.

สยาม อรุณศรีมรกต, วรพร สังเนตร, และปิยะรักษ์ ประดับเพชรรัตน์. (2560). การใช้สารเคมีในการทำนาข้าวของเกษตรกรในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารเกษตรพระวรุณ, 14(2), 173–180.

สำนักงานเกษตรจังหวัดนนทบุรี. (2563). ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร ระดับจังหวัด ประจำปี 2563. http://www.nonthaburi.doae.go.th/statisticss/statistic63.pdf

สำนักงานเกษตรอำเภอไทรน้อย. (2563). ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตร. สำนักงานฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2562). เนื้อที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร รายจังหวัด ปี พ.ศ. 2562. https://www.oae.go.th/assets/portals/1/files/socio/LandUtilization2562.pdf

สุธาสินี อั้งสูงเนิน. (2558). ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 9(1), 50–63.

สุภราดา สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง, เสาวนิตย์ โพธิ์พูนศักดิ์, ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, และพฤทธิชาติ ปุญวัฒโท. (2563). เอกสารวิชาการ คำแนะนำการป้องกันกำจัดแมลง–สัตว์ศัตรูพืช อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจากงานวิจัย. กรมวิชาการเกษตร.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. (2557). ลักษณะสังคม. http://nont-pro.go.th/public/social/data/index/menu/25

Denneman, C. A., & Robberse, J. G. (1990). Target values are specified to indicate desirable maximum levels of elements in unpolluted soils. https://www.omicsonline.org/articles-images/2161-0525-5-334-t011.html

FAO (Food and Agriculture Organization of the United Nations). (2020). Soil testing methods – Global Soil Doctors Programme – A farmer-to-farmer training programme. Rome. https://doi.org/10.4060/ca2796en

IRAC (Insecticide Resistance Action Committee). (2020). IRAC Mode of Action Classification Scheme. https://irac-online.org/

MacFarquhar, J. K., Broussard, D. L., Melstrom, P., Hutchinson, R., Wolkin, A., Martin, C., Burk, R. F., Dunn, J. R., Green, A. L., Hammond, R., Schaffner, W., & Jones, T. F. (2010). Acute Selenium Toxicity Associated with a Dietary Supplement. Archives of internal medicine, 170(3), 256–261