แอปพลิเคชันสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายเสื่อด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เพื่อเพิ่มศักยภาพของกลุ่มพัฒนาอาชีพทอเสื่อบ้านหนองอ้ม จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์การขายเสื่อด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานแอปพลิชันสื่อประชาสัมพันธ์การขายเสื่อของกลุ่มพัฒนาอาชีพทอเสื่อ บ้านหนองอ้ม จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรได้แก่ สมาชิกของกลุ่มพัฒนาอาชีพทอเสื่อบ้านหนองอ้ม จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกแบบสัมภาษณ์และการสนทนาแบบกลุ่ม สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลบริบทของชุมชน ส่วนที่สองสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายเสื่อด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม โดยพัฒนาแอปพลิเคชันบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ด้วยโปรแกรม Unity โปรแกรมภาษา C# และโปรแกรม Vuforia และส่วนสุดท้าย แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิชันนำเสนอสื่อประชาสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชันสามารถนำเสนอสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายเสื่อในรูปแบบภาพโมเดลสามมิติด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ให้เห็นภาพลายเสื่อชัดเจนขึ้น เหมือนได้สัมผัสจริงพร้อมเสียงบรรยายข้อมูลเสื่อแต่ละผืน และสมาชิกกลุ่มพัฒนาอาชีพทอเสื่อ บ้านหนองอ้มมีความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันนำเสนอสื่อประชาสัมพันธ์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.46, S.D. = 0.67) โดยงานวิจัยนี้ได้นำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่เป็นกลยุทธ์ทางการค้า ในด้านการประชาสัมพันธ์สินค้าและลายเสื่อที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนให้น่าสนใจมากขึ้นผ่านแอปพลิเคชัน โดยตัวแทนชุมชนสามารถนำไปเผยแพร่ขณะออกบูธ และประชาสัมพันธ์ผ่านเพจเฟซบุ๊กของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านหนองอ้ม ซ้ำจะช่วยเพิ่มช่องทางการขายสินค้า และช่วยให้ชุมชนและลูกค้าสามารถซื้อ-ขายสินค้าได้สะดวกมากขึ้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จินตนา ดาวใส. (2561). การพัฒนาแบบจำลองสารสนเทศสามมิติเชิงแนะนำสำหรับผลิตภัณฑ์ฟาร์มเกษตรด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศรีปทุม].
จินตะนา วงศ์วิภูษณะ. (2550). แนวทางการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์จากเกล็ดปลา กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเขารูปช้าง (บ้านบางดาน) ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงชลา จังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา].
ดวงจันทร์ สีหาราช, ยุภา คำตะพล, ฐิณาภัณฑ์ นิธิยุวิทย์, และศรัญญา ตรีทศ. (2563). แอปพลิเคชันส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริง. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 12, 135-148.
ทิชากร เกสรบัว. (2556). แนวทางการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product : OTOP) เพื่อการส่งออกในตลาดอาเซียน. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 30(2), 155-174.
ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร และอุทิศ สังขรัตน์ (2557). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 10(1), 97-122.
ธวัชชัย สหพงษ์. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันความจริงเสมือน “สะดืออีสาน” อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11, 139-151.
ประสิทธิ์ รัตนพันธ์, มณีรัตน์ รัตนพันธ์, และจาริณี แซ่วงษ์. (2561). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารในจังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(4), 42-51.
วิภาดา มุกดา (2557). แนวทางการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จังหวัดตาก. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 10(1), 187-205.
เสรี พงศ์พิศ (2549). เศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนายั่งยืน. เจริญวิทย์การพิมพ์.
หริพล ธรรมนารักษ์, ชินดนัย คำคม, และลัทธพล บุตรเทศ. (2563). การใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กล้วยกรอบ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองยัดเยียด อำเภอจุน จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 4(1), 53-61.
อรวรรณ เชื้อเมืองพาน, จิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย, รจนา บุญลพ, และเอกชัย อุตสาหะ. (2564). การเพิ่มมูลค่าความรู้ด้านกลยุทธ์ทางการค้า โดยระบบ AR เพื่อส่งเสริมแนวความคิดการพัฒนาเมืองสู่ Smart City. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(5), 61-74.
Sung, E. C. (2021). The effects of augmented reality mobile app advertising: Viral marketing via shared social experience. Journal of Business Research, 122, 75-87.