การออกแบบ สร้าง และทดสอบระบบอบแห้งแบบผสมผสาน กรณีศึกษา การผลิตเห็ดหูหนูดำอบแห้งของเกษตรกร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พิบูลย์ สีคำ
ปริญ คงกระพันธ์
หยาดฝน ทนงการกิจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอระบบอบแห้งแบบผสมผสานต้นแบบที่ถูกออกแบบและสร้างเพื่อให้สามารถลดระยะเวลาและลดการใช้พลังงานในกระบวนการอบแห้ง โดยกำหนดเงื่อนไขในการออกแบบระบบอบแห้งต้นแบบ ดังนี้ 1) ห้องอบแห้งมีความจุ 2 ลูกบาศก์เมตร 2) นํ้าหนักและความชื้นเริ่มต้นของวัตถุดิบ 50 กิโลกรัม และร้อยละ 99 ฐานเปียก ตามลำดับ 3) ความชื้นสุดท้ายของผลิตภัณฑ์อบแห้งร้อยละ 5 ฐานเปียก 4) อุณหภูมิลมร้อน ณ ทางเข้าและทางออกห้องอบแห้งมีค่า 80 และ 70 องศาเซลเซียส ตามลำดับ 5) ความเร็วลมที่ใช้ในการอบแห้งสูงสุด 5 เมตรต่อวินาที 6) อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศแวดล้อม 25 องศาเซลเซียส และร้อยละ 60 ตามลำดับ 7) ระยะเวลาในการอบแห้ง 12 ชั่วโมง และ 8) ค่าความปลอดภัยในการออกแบบร้อยละ 20 จากการคำนวณเพื่อการออกแบบเชิงวิศวกรรม พบว่าระบบต้นแบบมีภาระทางความร้อนในการระเหยนํ้าออกจากวัตถุดิบรวมค่าความปลอดภัยในการออกแบบแล้วประมาณ 25 กิโลวัตต์ ผู้วิจัยจึงเลือกติดตั้งแหล่งความร้อน 3 ชนิด ให้ทำงานผสมผสานกัน ได้แก่ ปั๊มความร้อน ฮีตเตอร์ไฟฟ้า และอินฟราเรด มีกำลังการผลิตความร้อนรวมประมาณ 29 กิโลวัตต์ จากการทดลองอบแห้งเห็ดหูหนูดำ พบว่าระบบต้นแบบมีประสิทธิภาพสูงสุดประมาณร้อยละ 81 เมื่อใช้ลมร้อนผสมผสานเทคนิคอบแห้งแบบอินฟราเรด ซึ่งสูงกว่าการใช้ลมร้อนร้อยละ 6.69 เทคนิคการอบแห้งแบบผสมผสานใช้ระยะเวลาและพลังงานในการอบแห้งน้อยกว่าการใช้ลมร้อนเพียงประมาณร้อยละ 28 และ 6 ตามลำดับ โดยไม่กระทบต่อลักษณะปรากฏของผลิตภัณฑ์เห็ดหูหนูดำอบแห้ง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ณัฐวุฒิ ดุษฎี. (2559). การอบแห้งผลผลิตเกษตรด้วยพลังงานทดแทนพื้นฐานและการประยุกต์ใช้งาน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2562). สถิติการใช้พลังงานในประเทศไทย ปี 2562. กระทรวงพลังงาน. ประเทศไทย.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้ากระทรวงพาณิชย์. (2562). รายงานประจำปี 2562. กระทรวงพาณิชย์. ประเทศไทย.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2558). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.136/2558. กระทรวงอุตสาหกรรม. ประเทศไทย.

Brooker, D. B., Bakker-Arkema, F. W., & Hall, C. W. (1992). Drying and storage of grains and oilseeds. Van Nostrand Reinhold.

Charoenvai, S., Yingyuen, W., Jewyee, A., Rattanadecho, P., & Vongpradubchai, S. (2013). Analysis of energy consumption in a drying process of particleboard using a combined multi-feed microwave-convective air and continuous belt system (CMCB). Thammasat International Journal of Science and Technology, 18(3), 1–15.

Nowak, D., & Lewicki, P. P. (2005). Quality of infrared dried apple slices. Drying Technology, 23(4), 831–846.

Ratti, C., & Mujumdar, A. S. (2006). Infrared drying. In Arun S. Mujumdar (Ed.), Handbook of industrial drying (3rd ed.). CRC press.

Sakare, P., Prasad, N., Thombare, N., Singh, R., & Sharma, S. C. (2020). Infrared drying of food materials: Recent advances. Food Engineering Reviews, 12(3), 381–398.

Sarkar, J., Bhattacharyya, S., & Gopal, M. R. (2006). Transcritical CO2 heat pump dryer: Part 2, validation and simulation results. Drying Technology, 24(12), 1593–1600.

Tonui, K. S, Mutai, E. B. K., Mutuli, D. A., Mbuge, D. O., & Too, K. V. (2014). Design and evaluation of solar grain dryer with a back-up heater. Research Journal of Applied Sciences, Engineering and Technology, 7(15), 3036–3043.