การใช้ประโยชน์หนอนแมลงวันลายเพื่อเป็นอาหารไก่ไข่ของเกษตรกรบ้านโนนศาลา จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

กานดา ล้อแก้วมณี
สมควร โพธารินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้หนอนแมลงวันลายเพื่อเป็นอาหารไก่ไข่ ใช้ไก่ไข่อายุ 34-46  สัปดาห์ จำนวน 30 ตัว สุ่มไก่ไข่ออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ตัว ไก่ไข่กลุ่มทดลองที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ได้รับอาหารที่มีอัตราส่วนของอาหารที่มีส่วนผสมของหนอนแมลงวันลายต่ออาหารไก่ไข่สำเร็จรูป เท่ากับ 0:100, 30:70, 60:40, 90:10 และ 100:0 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 มีผลผลิตไข่เฉลี่ยและมวลไข่สูงที่สุด (p<0.01) กลุ่มทดลองที่ 3 และ 5 มีปริมาณอาหารที่กินต่อผลผลิตไข่ 1 โหลสูงที่สุด (p<0.05) ในขณะที่กลุ่มทดลองที่ 5 มีค่าต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตไข่ 1 โหลสูงที่สุด (p<0.05) กลุ่มทดลองที่ 1, 2, 3 และ 4 มีค่าความแข็งเปลือกไข่สูงที่สุด (p<0.01) กลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 มีค่าความหนาเปลือกไข่สูงที่สุด (p<0.05) กลุ่มทดลองที่ 3, 4 และ 5 มีค่าต้นทุนค่าอาหารสูงกว่ากลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) ในขณะที่กลุ่มทดลองที่ 1 และ 2 มีค่ารายได้สุทธิสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) สรุปได้ว่าอัตราส่วนที่เหมาะสมของอาหารที่มีส่วนผสมของหนอนแมลงวันลายต่ออาหารไก่ไข่สำเร็จรูป เท่ากับ 30:70 ส่งผลช่วยเพิ่มรายได้สุทธิ ผลการศึกษานำไปสู่การส่งเสริมให้เกษตรกรที่สนใจในหมู่บ้านโนนศาลา ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร ใช้อาหารที่มีส่วนผสมของหนอนแมลงวันลายทดแทนการใช้อาหารไก่ไข่สำเร็จรูปที่สามารถช่วยเกษตรลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารไก่ไข่สำเร็จรูปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานดา ล้อแก้วมณี และกชพรรณ สีดารักษ์. (2561). ผลของระยะเวลาในการเก็บรักษาต่อคุณภาพไข่ไก่อินทรีย์ในสภาพอุณหภูมิตู้เย็น. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 36(3), 125-135.

จักรพัทร มาลามณีรัตน, บัวเรียม มณีวรรณ์, กฤดา ชูเกียรติศิริ, และจุฬากร ปานะถึก. (2563). การใช้ผงหนอนแมลงวันลายที่เลี้ยงด้วยกากเต้าหู้ในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อ. แก่นเกษตร, 48(4), 942-953.

ธาริณี ยี่คิ้ว, ภาณีดา ภุมจุรีรัตน์, อภิญญา สุโยธีธนรัตน์, ประภัสสร ปลาดีพันธ์ดี, สุรัตน์ ลอมไธสง, กิตติกร สุริวงค์, ยิ่งลักษณ์ มูลสาร, และปรีชา มูลสาร. (2559). การศึกษาประสิทธิภาพของใบกล้วยหมักต่อสมรรถภาพการผลิตของไก่ไข่. วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข., 26(1), 1-14.

ประภากร ธาราฉาย. (2560, 1 กุมภาพันธ์). การเลี้ยงและการจัดการไก่ไข่. http://www.as2.mju.ac.th/E-Book/t_prapakorn/สศ451/บทที่%205%20การเลี้ยงและการจัดการไก่ไข่_3.pdf

ไพบูลย์ ใจเด็ด. (2565). บรรณาธิการแถลง. วารสารสัตวบาล, 32(133), 6.

ภาคภูมิ ซอหนองบัว, ธีรเจต สายธนู, และสุวิทย์ ทิพอุเทน. (2564). ผลของการใช้หนอนแมลงวันลายป่นทดแทนอาหารสำเร็จรูปต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่ของนกกระทาญี่ปุ่น. แก่นเกษตร, 48(1), 538-542.

ภุชงค์ วีรดิษฐกิจ และไพโชค ปัญจะ. (2558). อิทธิพลของการเสริมใบมะรุมในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิตและคุณภาพไข่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(2), 293-305.

วินัย เหลืองวิโรจน์. (2544). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตไข่ไก่เพื่อการตัดสินใจ: กรณีศึกษา ฟาร์มสมควร จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]. http://search.lib.cmu.ac.th/search/?searchtype=.&searcharg=b1282297

ศมณพร สุทธิบาก, สมควร โพธารินทร์, รฐานิษฐ์ สุขธนาภิรัตน์, กีรติ มณีฉาย, ณัฐปภัสร์ จันทร์สาขาธนา, อาภรณ์ ศรีมาตร, และอำพร วงศ์ยะมะ. (2561). คู่มือการเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย. อุดมทรัพย์การพิมพ์.

ศรุติวงศ์ บุญคง, ชัยพฤกษ์ หงษ์ลัดดาพร, สว่าง กุลวงศ์, สุธาสินี ครุฑธกะ, และพิทักษ์ น้อยเมล์. (2564). ผลการใช้กากปลาร้าในอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถภาพการผลิต คุณภาพไข่และผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ. แก่นเกษตร, 49(ฉบับพิเศษ), 452-457.

สุจินดา เจียมศรี. (2558). เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวรรณี กาญจนภูสิต. (2564, 8 เมษายน). ราคาสินค้าปศุสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ สัปดาห์ที่ 1 เดือนเมษายน 2564. กรมปศุสัตว์. https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/310-costprice-cat/23660-infoprice-256404-1.

อุทยานหลวงราชพฤกษ์. (2563, 6 กุมภาพันธ์). หนอนกำจัดขยะแมลงวันลาย. https://www.royalparkrajapruek.org/Knowledge/view/104

อุทัย คันโธ. (2559). อาหารสุกรและสัตว์ปีกเชิงประยุกต์. ยู เค ที พับลิชชิ่ง.

Bovera, F., Piccolo, G., Gasco, L., Marono, S., Loponte, R., Vassalotti, G., Mastellone, V., Lombardi, P., Attia, Y. A., & Nizza, A. (2015). Yellow mealworm larvae (Tenebrio molitor, L.) as a possible alternative to soybean meal in broiler diets. British poultry science, 56(5), 569–575.

Chu, X., Li, M., Wang, G., Wang, K., Shang, R., Wang, Z., & Li, L. (2020) Evaluation of the low inclusion of full-fatted Hermetia liiucens larvae meal for layer chickens: Growth performance, nutrient digestibility, and gut health. Frontiers in Veterinary Science, 7, 1-7.

Marco, M. De, Martínez, S., Hernandez, F., Madrid, J., Gai, F., Rotolo, L., Belforti, M., Bergero, D., Katz, H., Dabbou, S., Kovitvadhi, A., Zoccarato, I., Gasco, L., & Schiavone, A. (2015). Nutritional value of two insect larval meals (Tenebrio molitor and Hermetia illucens) for broiler chickens: Apparent nutrient digestibility, apparent ileal amino acid digestibility and apparent metabolizable energy. Animal Feed Science and Technology, 209, 211-218.

Newton, L., Sheppard, C., Watson, D. W., Burtle, G., & Dove, R. (2005). Using of Black soldier fly, Hermetia illucens, as a value added tool for the management of swine manure. North Carolina University, USA.

Park, Byung-Sung, Um, Kyung-Hwan, Choi, Won-Keun, & Park, Sang-O. (2017). Effect of feeding black solider fly pupa meal in the diet on egg production, egg quality, blood lipid profiles and fecal bacteria in laying hens. European Poultry Science, 81, 1-12.

SAS. (2004). STAT User’s Guide. North Carolina, USA.

Tomberlin, J. K., & Sheppard, D. C. (2001). Lekking behavior of the Black soldier fly (Diptera: Stratiomyidae). Florida Entomologist, 84(4), 729-730.