รูปแบบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ ในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

เกวลี รังษีสุทธาภรณ์
ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ
มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ในการพัฒนาท้องถิ่น สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ 760 คน และนักศึกษากลุ่มทดลองรูปแบบ 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยการรู้ดิจิทัลของนักศึกษาก่อนและหลังทดลองของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอยู่ในระดับมากทุกมิติ และรูปแบบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความเป็น พลเมืองวิวัฒน์ในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย สาระการเรียนรู้เรื่องการรู้ดิจิทัล 6 เรื่อง ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบเชื่อมโยง 7 กลยุทธ์ ควบคู่ไปกับวิธีการเรียนรู้ 7 วิธี ใช้เวลาการเรียน 12 สัปดาห์ 36 ชั่วโมง ในนักศึกษากลุ่มทดลองนั้น พบว่าค่าเฉลี่ยคุณลักษณะความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏหลังทดลองเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุดทุกมิติ ค่าเฉลี่ย 4.65 และสูงกว่าก่อนทดลอง ค่าเฉลี่ย 4.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = .000) สรุปได้ว่ารูปแบบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองวิวัฒน์ในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นการเรียนรู้เชิงรุกโดยเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และชุมชน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบทั้งเนื้อทั้งตัว เชื่อมโยงบทบาทของการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมออกแบบและรับผิดชอบต่อสังคมที่ตนอาศัยอยู่ นำไปสู่การพัฒนาเชิงพื้นที่ทางสังคมให้เกิดความยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรเมธี วิมลศิริ. (2559). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อนาคตประเทศไทย เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://planning.pn.psu.ac.th/plan_doc/procedure/docs_procedure/300_1498813858.pdf

ประเวศ วะสี. (2558). มาทำความรู้จัก Gen A กัน. ใน สุดใจ พรหมเกิด, บรรณาธิการ. อ่านสร้างสุข : Gen A พลังอ่านเปลี่ยนเมือง. หน้า 6. กรุงเทพฯ: แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

วรรณากร พรประเสริฐ, เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย, ปกรณ์ ประจัญบาน และน้ําทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2563). การพัฒนาแบบวัดและเกณฑ์ปกติความเป็นพลเมืองดิจิทัล ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา = The development of student digital citizenship scale and norms in higher education institutions. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22, 217-234.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2561). กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร. กรงุเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศรีสุนันท์ ประเสริฐสังข์, สุธาสินี วังคะฮาต, พัชราภรณ์ ดวงเนตร, และวิยะดา ไวยศรีแสง. (2559). ความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด = The students’ corporate social responsibility of Roi-et Rajabhat University. ใน ICMSIT 2016: International Conference on Management Science, Innovation, and Technology 2016, (น. 204-211). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาวฉบับที่ 2 (2551-2565). สืบค้น 25 กุมภาพันธ์ 2563, จากhttp://www.mua.go.th/assets/img/pdf/HEPlan_book.pdf

Bell, David V.J. (2016). Twenty-first century education : Transformative education for sustainability and responsible citizenship. Journal of Teacher Education for Sustainability. 18(1), 48-56.

Frecky, K. (2011). Foundations of service learning. Retrieved July 8, 2020, from http://samples.jbpub.com/9780763759582/59582_CH01_ FINAL.pdf

Gliem, J. A. (2003). Calculating, Interpreting, and Reporting: Cronbach’s Alpha Reliability Coefficient for Likert-Type Scales. Retrieved July 8, 2020, from https://scholarworks.iupui.edu/bitstream/handle/1805/344/Gliem+&+Gliem.pdf?sequence=1

GuildHE. (2016). Active citizenship : The role of higher education. Retrieved July 8, 2020, from http://www.guildhe.ac.uk/wp-content/uploads/2016/11/6710-Guild-HE-Active-Citizenship-Report-44pp.pdf.

Haynes, C. C., & Thomas, O. (2001). Finding Common Ground: A Guide to Religious Liberty in Public Schools. Tennessee: First Amendment Center.

Kozak, Stan, & Elliott, Susan. (2014). Connecting the dots : Key strategies that transform learning from environmental education to citizenship and sustainability. Canada: Learning for Suatainable Future.

Ng, W. (2012). Can We Teach Digital Natives Digital Literacy? Computers & Education, 59, 1065–1078.

O’Conner, Mason., Lynch, Kenny, & Owen, David. (2011). Student-community engagement and the development of graduate attributes. Education+Training. 53, 100-115.

Rahnama, Hossein. (2017). What the Rise of Interconnected Learning Means for Higher Ed. Retrieved July 8, 2020, from http://www.gettingsmart.com/2017/01/interconnected-learning-means-for-higher-ed/.