การวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการผลิตของเครื่องจักรแปรรูปมะขามจี๊ดจ๊าดสำหรับธุรกิจชุมชน Tamarind Processing Machinery

Main Article Content

วิทยา หนูช่างสิงห์
ธนภัทร มะณีแสง
ธีระพงษ์ มณีเพ็ญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการผลิตของเครื่องจักรแปรรูปมะขามจี๊ดจ๊าดสำหรับธุรกิจชุมชน โดยการดำเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 คือ นำมะขามเปรี้ยวยักษ์ 1 กิโลกรัม ที่ผ่านการแกะเปลือก รก นำมาคลุกเคล้าด้วยนํ้าตาล เกลือ พริกป่น แล้วใส่ลงในช่องนำเข้าเพื่อลำเลียงไปยังชุดใบมีด เพื่อตัดชิ้นมะขามที่ได้คุณภาพใกล้เคียงและรวดเร็วกว่าใช้แรงงานคนตัด ระยะที่ 2 การประเมินสมรรถนะ พิจารณาจากความสามารถของเครื่องจักร ในครั้งแรกจะตัดมะขามจำนวน 1 รอบ และครั้งที่สองทำการตัดมะขามจำนวน 2 รอบ ในแต่ละรอบจะสุ่มมะขามจำนวน 200 กรัม จากการผลิต 1 ครั้ง (มะขาม 1 กิโลกรัม) วัดความยาวมะขามแล้วนำไปวิเคราะห์กระบวนการผลิตของเครื่องจักร การวิจัยพบว่า ในการผลิตมะขามจี๊ดจ๊าด 1 กิโลกรัม เครื่องจักรใช้เวลาเฉลี่ย 1.04 นาที ซึ่งรวดเร็วกว่าใช้แรงงานคนในการผลิตถึง 59.31 เท่า แต่ข้อด้อย คือ ปริมาณการสูญเสียวัตถุดิบจากการใช้เครื่องจักรจะมากกวา่ การใช้แรงงานคนอยูที่ประมาณร้อยละ 6.67 และรูปทรงชิ้นงานที่ได้จะไม่สมํ่าเสมอเท่ากับการผลิตจากแรงงาน ในส่วนการวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการ (Process Capability) จะพบว่าความสามารถของกระบวนการผลิตจะอยู่ในระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.45 หรือที่ระดับ 1–2gif.latex?\dpi{120}&space;\fn_jvn&space;\LARGE&space;\sigma เท่านั้น ผลการวิจัยครั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณกำลังการผลิต สามารถลดเวลา ลดขั้นตอน และลดจำนวน แรงงาน เพิ่มมาตรฐานสะอาดในกรรมวิธีการผลิต นำไปสู่มาตรฐานของสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่สูงขึ้น เพิ่มความเชื่อมันในสินค้าของธุรกิจระดับชุมชนให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์. (2563). สถานการณ์ผลิตพืชจังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2563. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.phetchabun.doae.go.th/wp-content/uploads/2020/10/สถานการณ์การผลิตปี63-4.pdf

เทพ เพียมะลัง และ จินตนา สนามชัยสกุล. (2555). การศึกษาความต้องการมะขามเปรี้ยวเพื่อการแปรรูปและพัฒนาเทคนิควิธีการต่อยอดที่มีประสิทธิภาพโดยมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกรบ้านเหมืองแบ่ง ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา.

รัฐพล ดุลยะลา. (2563). การออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดกระยาสารทแบบกึ่งอัตโนมัติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 15(2), 117–131.

รัฐพล ท่อนแก้ว. (2557). แผนธุรกิจผลิตมะขามแช่อิ่มอบแห้ง. การค้นคว้าอิสระ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รุ่งเรือง ทารักษ์. (2553). การออกแบบและสร้างเครื่องตัดต้นหอม. ปริญญานิพนธ์อุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภาคพายัพ เชียงใหม่.

วิทยา หนูช่างสิงห์, นรัตน์ รัตนวัย, และ ธนภัทร มณีแสง. (2558). การออกแบบและสร้างเครื่องปั้นเนื้อมะขามแก้ว. ใน ปัญญา เลิศไกร (บ.ก.), สหวิทยาการ งานวิจัย และนวัตกรรมอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นไทย ก้าวไกลสู่อาเซียน, การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 3”, (น. 104–110). นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สมพงษ์ สุขเขตต์. (2558). วิจัยและพัฒนามะขามเปรี้ยว รายงานโครงการวิจัยประจำปี 2558 กรมวิชาการทางเกษตร. สืบค้น 19 มิถุนายน 2563, จาก https://www.doa.go.th/research/attachment.php?aid=2171

Bhisham, C. G., & Walker, H. F. (2007). Statistical Quality Control for the Six Sigma Green Belt. Wisconsin: ASQ Quality.

Dangprasirt, P. (2005). Quality Control Chart. Pharmatime, 3(29), 63–71.

Douglas, C. M. (2013). Introduction to Statistical Quality Control. (7th ed.). NJ: Wiley.

Rehman, K. (2019). Six Sigma Statistics Using Minitab 17. Chicago: Independently Published.