ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงธนเชียงรายไทย–เยอรมัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

งามนิตย์ ราชกิจ
นฤมล ดีกัลลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและความสัมพันธ์ของความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีกรุงธนเชียงราย ไทย–เยอรมัน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 231 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็น แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน


ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 64.50 อายุเฉลี่ย 18.90 ปี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ร้อยละ 48.72 รองลงมาเป็นอาข่า ร้อยละ 26.92 และลาหู่ ร้อยละ 17.95 การได้รับข้อมูลข่าวสารได้รับทางช่องทางอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 21.29 รองลงมาคือเฟซบุ๊ก ร้อยละ 19.31 และไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 100 ความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.73 คะแนน พบว่าอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน โดยด้านการตัดสินใจอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.36) พฤติกรรมในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.48) และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.321, p < 0.001)


ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมในสถาบันอื่นเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการค้นพบนี้ และควรมีการวางแผนเตรียมส่งเสริมความพร้อมของนักศึกษาในการป้องกันตนเองในสถานการณ์เมื่อเกิดการระบาดใหม่ของโรคในการอยูร่วมกันในครอบครัว สถาบันการศึกษา และชุมชนตามมาตรการ new normal อย่างจริงจังและต่อเนื่องทุกวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด 19. สืบค้น 8 มิถุนายน 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/

ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2562). ความกว้างของอันตรภาคชั้น. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.thaiall.com/blog/burin/4967/

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออูท่ อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 4(1), 33–48.

ธานี กลอ่ มใจ. (2563). ความรูแ้ ละพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการปอ้ งกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุใ์ หม  2019 ตำบลบา้ นสาง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29–147.

นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. (2563). ปัจจัยทำนายการปฏิบัติของประชาชนไทยต่อผู้ที่เคยติดเชื้อหรือผู้ถูกกักกัน และผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19. สืบค้น 16 ตุลาคม 2563, จาก https://www.khonthai4-0.net/content_detail.php?id=79

ภมร ดรุณ และ ประกันชัย ไกรรัตน์. (2562). ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 15(3), 71–82.

วิชัย เทียนถาวร. (2564). ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ในกลุ่มวัยเรียนมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 4(2), 126–137.

ศิริวรรณ ชอบธรรมสกุล. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สืบค้น 5 สิงหาคม 2564, จาก https://so03.tcithaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/229841/156423

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงราย. (2563). ข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 – ไวรัสโคโรนา. สืบค้น 11 มิถุนายน 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/

สุนันทินี ศรีประจันทร์. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของบุคลากรศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 35(1), 277–289.

อัจฉราพร ปะทิ. (2559). การแปลผลค่าเฉลี่ย. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2563, จาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5705037082_4989_4009.pdf

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Sample Size Determination Using Krejcie and Morgan Table. Retrieved March 27, 2020, from http://www.kenpro.org/sample-size-determination-using-krejcie-and-morgan-table/

WHO. (2020). Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). Retrieved February 28, 2020, from https://www.who.int/publications/i/item/report-of-the-who-chinajoint-mission-on-coronavirus-disease-2019-(covid-19)