การมีส่วนร่วมของชุมชนในการออกแบบกราฟิกเพื่อสื่อสารบุคลิกภาพของตราสินค้าลางสาดป่าวนเกษตร จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาพาณิชย์ศิลป์ที่สื่อสารอัตลักษณ์ของลางสาดป่าวนเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อยกระดับสินค้าและผลิตภัณฑ์จากลางสาดป่าวนเกษตรและประเมินการรับรู้และความพึงพอใจต่อการออกแบบพาณิชย์ศิลป์ที่สื่อสารอัตลักษณ์ของลางสาดป่าวนเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่งที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกลางสาด ตัวแทนชุมชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างแบรนด์และกลุ่มผู้บริโภค รวม 132 คน เพื่อประเมินการรับรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและแบบสอบถาม แบบสอบถามประชาพิจารณ์ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ และแบบสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารภาพลักษณ์การออกแบบกราฟิกที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบและพัฒนาพาณิชย์ศิลป์ที่สื่อสารอัตลักษณ์ของลางสาดป่าวนเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ด้านรูปแบบภาพลักษณ์ ตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านการคัดเลือกโดยกระบวนการมีส่วนร่วมกับกลุ่ม ความเป็นเอกลักษณ์ มีผลการประเมินความพึงพอใจ การรับรู้ภาพลักษณ์การออกแบบกราฟิกสินค้าและบรรจุภัณฑ์ โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ( = 3.89, S.D. = 0.88) โดยมีความพึงพอใจด้านความเหมาะสมในการตัดสินใจซื้อมากที่สุด ( = 4.40, S.D. = 0.83) ผลิตภัณฑ์ที่มีความพึงพอใจเหมาะสมในการตัดสินใจซื้อมากที่สุด คือ นํ้าลางสาดแบบขวดเหลี่ยม ( = 4.14, S.D. = 0.89) ด้านการยกระดับลางสาดป่าวนเกษตร จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เข้าร่วมงาน THAIFEX 2018 จำนวน 124 คน โดยใช้ข้อมูลการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค พบว่าส่วนใหญ่ชอบที่ความแปลกใหม่ จำนวน 90 คน คิดเป็นร้อยละ 27.4 ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ สเลอปี้ จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 45.2 รองลงมา คือ นํ้าลางสาด จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 43.0 และบรรจุภัณฑ์ที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ นํ้าลางสาด สามารถนำผลการทำวิจัยไปต่อยอดให้กับผลไม้ชนิดอื่นในจังหวัดอุตรดิตถ์ ในด้านการสื่อสารบุคลิกภาพของตราสินค้าเพื่อสามารถบ่งชี้อัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560). ข้อมูลระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านเกษตร. สืบค้น 26 กันยายน 2564, จาก http://production.doae.go.th
เจษฎา มิ่งฉาย. (2555). การจัดการความรู้และพัฒนาชุดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการผลิตไม้ผลในระบบวนเกษตร อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ประชิด ทินบุตร. (2531). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาง. (2561). 3C Model (Ohmae). สืบค้น 30 สิงหาคม 2564, จาก https://drpiyanan.com
ลางสาดอุตรดิตถ์ ผลผลิตทางวัฒนธรรมอันลํ้าค่า. (2564). เทคโนโลยีชาวบ้าน. สืบค้น 21 กันยายน 2564, จาก https://www.technologychaoban.com
วรินทร์ธร กิจธรรม. (2558). อิทธิพลของ “สี” ต่อการสร้างแบรนด์. วารสารการสื่อสารและการจัดการ นิด้า, 1(1), 76–77.
วิทวัส ชัยปาณี. (2548). สร้างแบรนด์อย่างสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: มติชน.
อุสุมา พันไพศาล. (2563). การออกแบบบรรจุภัณฑ์.
Creswell, J., & Plano Clark, V. (2007). Designing and Conducting Mixed Methods Research. Thousand Oaks. CA: Sage.
Eiseman, L. (2000). Pantone Guide to Communicating with Color. USA: Grafix Press.
Bonello, S. (2013). The Impact of Colour in Logo Design [Infographic]. Retrieved June 15, 2018, from https://www.business2community.com