การนำวัสดุเหลือใช้จากกากมะพร้าวมาใช้ในการผลิตคอนกรีตบล็อก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสัดส่วนที่เหมาะสมในการผลิตคอนกรีตบล็อกผสมกากมะพร้าวและศึกษาคุณสมบัติการต้านทานแรงอัด ความหนาแน่น และความชื้นของคอนกรีตบล็อกเมื่อครบ 28 วัน การทดลองผลิตคอนกรีตบล็อก จำนวน 3 สูตร โดยกำหนดให้สูตร A มีอัตราส่วน ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1:ทราย:หิน:กากมะพร้าว ร้อยละ 0 เท่ากับ 700:2,100:3,500:0 โดยนํ้าหนัก (กรัม) สูตร B เพิ่มกากมะพร้าว ร้อยละ 5 เท่ากับ 700:2,100:3,325:175 โดยนํ้าหนัก (กรัม) สูตร C เพิ่มกากมะพร้าว ร้อยละ 15 เท่ากับ 700: 2100: 3150: 350 โดยนํ้าหนัก (กรัม) โดยใช้แบบหล่อไม้รูปทรงลูกบาศก์ที่ผลิตขึ้นเอง ขนาด 15 x 15 x 15 ลูกบาศก์เซนติเมตร จากนั้นนำไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องทดสอบกำลังอัดความหนาแน่น ความชื้นของคอนกรีตบล็อก การหาค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนที่เหมาะสมในการผลิตคอนกรีตบล็อกผสมกากมะพร้าวในครั้งนี้ คือ สูตร B การใช้กากมะพร้าวเป็นส่วนผสมในคอนกรีตบล็อกเพิ่มขึ้นจะส่งผลทำให้ค่าการต้านทานแรงอัดลดลง ส่วนผสมกากมะพร้าวในอัตราส่วนร้อยละ 0, 5 และ 15 มีค่าการต้านทานแรงอัดเฉลี่ยเท่ากับ 16.90, 6.45 และ 1.67 เมกะปาสคาล ซึ่งส่วนผสมกากมะพร้าวร้อยละ 0 และ 5 ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐาน มอก. 58-2533 สำหรับการทดสอบค่าความหนาแน่น พบว่า การเพิ่มกากมะพร้าวมากขึ้นจะทำให้ค่าความหนาแน่นลดลง เช่นเดียวกับการทดสอบความชื้นพบว่าการเพิ่มกากมะพร้าวมากขึ้นจะทำให้ค่าความชื้นของคอนกรีตบล็อกลดลง จากการนำกากมะพร้าวมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้สามารถช่วยลดปัญหาขยะจากวัสดุเหลือใช้และสร้างมูลค่าในการผลิตคอนกรีตบล็อกให้กับชุมชนได้
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จักกฤษณ์ พนาลี, พันธ์ศักดิ์ พ่วงพงษ์, และ ธีรภัทร์ รอดคลองตัน. (2559). การศึกษาและออกแบบเฟอร์นิเจอร์สำนั กงานจากเส้นใยกาบมะพร้าว. รมยสาร, 14(ฉบับพิเศษ), 165–172.
จิรวัฒน์ วิมุตติสุขวิริยา. (2555). คุณสมบัติการต้านแรงอัดของคอนกรีตผสมกากใยอ้อยในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ณคนัท รักษารักษ์, ธเนศ รัตนวิไล, และ ชัยณรงค์ ศรีวะบุตร. (2562). ผลของเส้นใยเหลือใช้จากเศษวัสดุทางการเกษตรต่อสมบัติเชิงกล สมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางความร้อนของวัสดุไม้ผสมพลาสติกจากพอลิโพรพีลีน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., 42(4), 327–338.
นันทชัย ชูศิลป์, ชนาภัทร คุ้มภัย, ชาญณรงค์ ศรีแปลก, และ วิไล สิตพงศ์. (2556). สมบัติเชิงกลของซีเมนต์เพสต์เสริมเส้นใยตาลโตนด. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 1(2), 89–99.
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2561). หลักเกณฑ์เฉพาะในการตรวจสอบเพื่อการอนุญาต สำหรับผลิตภัณฑ์คอนกรีตบล็อกไม่รับนํ้าหนัก มาตรฐานเลขที่ มอก. 58-2533. สืบค้น 29 กันยายน 2564, จาก http://law.industry.go.th/laws/file/60509
ปิยะพล สีหาบุตร, เพ็ญชาย เวียงใต้, ภคพล ช่างยันต์, และ เจษฏ์ศิริ เถื่อนมูลละ. (2558). การใช้ฟางข้าวในอิฐบล็อกประสาน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(4), 478–485.
พงศธร กองแก้ว และ ธานินทร์ รัชโพธิ์. (2558). การศึกษาสมบัติเชิงกลและเชิงกายภาพของพลาสติกเสริมแรงด้วยใยกาบกล้วยนํ้าว้าและใยมะพร้าว. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ภูษิต เลิศวัฒนารักษ์ และ อัญชิสา สันติจิตโต. (2555). คุณสมบัติของวัสดุไฟเบอร์ซีเมนต์ผสมเส้นใยธรรมชาติจากเส้นใยมะพร้าวและเส้นใยปาล์มเพื่อผลิตวัสดุก่อสร้าง. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 9(1), 113–124.
ศักดิ์สิทธิ์ ศรีแสง. (2550). คอนกรีตผสมใยมะพร้าว. วิทยานิพนธ์ สาขาอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมพงษ์ พิริยายนต์ และ กิตติศักดิ์ บัวศรี. (2562). การผลิตและทดสอบสมบัติทางความร้อนและทางกลของวัสดุผสมจากนํ้ายางธรรมชาติและเส้นใยมะพร้าว. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ IAMBEST ครั้งที่ 4 (The 4th National Conference on Informatics, Agriculture, Management, Business administration, Engineering, Science and Technology), (น. 684–690). ชุมพร: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2565). เศรษฐกิจสีเขียว. สืบค้น 20 มกราคม 2565, จาก https://www.bcg.in.th/green-economy/
สุวัฒชัย ปลื้มฤทัย และ โยธิน อึ่งกูล. (2555). การพัฒนาคอนกรีตบล็อกจากผักตบชวา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Mardiha, M., Nge, Z. Z., Chai, W. J., & Lim, J. L. (2021). Concrete Block with Partial Replacement of Coarse Aggregate by Coconut Shell: A Review. Multidisciplinary Applied Research and Innovation, 2(1), 25–35.
Sanjay, K. V., & Sagar, S. (2019). Use of Coconut Shell as Partly Substitution of Coarse Aggregate – An Experimental Analysis. In American Institute of Physics (AIP) Conference Proceedings 2158, (pp. 020021-1–020021-8). 25 September 2019. Madhya Pradesh: India.
Tomas, U., & Ganiron, Jr. (2013). Sustainable Management of Waste Coconut Shells as Aggregates in Concrete Mixture. Journal of Engineering Science and Technology Review, 6(5), 7–14.
Tomas, U., Ganiron, Jr., Nieves, U. G., & Tommy, U. G. (2017). Recycling of Waste Coconut Shells as Substitute for Aggregates in Mix Proportioning of Concrete Hollow Blocks. World Scientific News, 77(2), 107–123.