การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับศูนย์เรียนรู้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองของคนในชุมชนตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

Main Article Content

นัฐพงศ์ ส่งเนียม
ธนันญดา บัวเผื่อน
กิตติพัฒน์ ศิริมงคล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เก็บรวบรวมข้อมูลสมุนไพร และออกแบบฐานข้อมูลสมุนไพร 2) พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับศูนย์เรียนรู้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองของคนในชุมชนตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก และ 3) ประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบสารสนเทศสำหรับศูนย์เรียนรู้สมุนไพรของคนในชุมชนตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 134 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบฐานข้อมูลสมุนไพร โดยใช้หลักการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ คือ พีเอชพี ฐานข้อมูล คือ มายเอสคิวแอลและแบบประเมินความพึงพอใจ โดยมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลสมุนไพรภายในศูนย์เรียนรู้มีจำนวน 78 ชนิด และวงศ์ของสมุนไพรภายในศูนย์เรียนรู้สมุนไพร จำนวน 56 วงศ์ และทำการออกแบบฐานข้อมูลสมุนไพร โดยประกอบด้วยตารางทั้งหมด 5 ตาราง ได้แก่ ตารางข้อมูลสมาชิกตารางข้อมูลสมุนไพร ตารางข้อมูลแผนที่สมุนไพร ตารางข้อมูลวงศ์สมุนไพร และตารางข้อมูลการดูแลสุขภาพของตนเอง 2) ระบบฐานข้อมูลศูนย์เรียนรู้สมุนไพรเป็นแหล่งเรียนรู้สมุนไพรฯ ทำใหผู้ที่ต้องการศึกษาหาความรู้ด้านสมุนไพรได้รับความรู้อย่างถูกต้อง และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจระบบฐานข้อมูลศูนย์เรียนรู้สมุนไพร ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( gif.latex?\dpi{120}&space;\fn_jvn&space;\LARGE&space;\dpi{120}&space;\fn_jvn&space;\large&space;\dpi{100}&space;\fn_jvn&space;\large&space;\bar{x} = 4.63, S.D. = 0.37) ซึ่งจากการทำงานวิจัยนี้ส่งผลให้คนในชุมชน หรือผู้ที่ต้องการศึกษาหาข้อมูลสมุนไพร ได้รับความรู้เรื่องสมุนไพรอย่างถูกต้องและสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุณา จันทุม และ กัลยารัตน์ กำลังเหลือ. (2560). การรักษาโรคด้วยสมุนไพรและตำรับยาโบราณของหมอพื้นบ้าน. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 24(2), 48–57.

ชนิดา มัททวางกูร, ขวัญเรือน ก๋าวิตู, สุธิดา ดีหนู, และ สิริณัฐ สินวรรณกุล. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรของประชาชนในเขตภาษีเจริญ. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(39), 99–109.

พิมพ์ชนก สุวรรณศรี, ทัศนันท์ จันทร, และ สุรีพร บุญอ้วน. (2563). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 12(23), 81–92.

ภโวทัย พาสนาโสภณ. (2558). สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 27(1), 120–131.

ภัทรธิรา ผลงาม. (2560). การพัฒนาตำรับยาสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อการรักษาโรคในชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย, 37(2), 71–88.

สมชาย อารยพิทยา. (2558). การพัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลพืชสมุนไพร กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 1(1), 25–37.

สุนทรี จีนธรรม, ปัณณ์รภัส ถกลภักดี, และ จีรภัทร์ อัฐฐิศิลป์เวท. (2558). การศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 10(3), 1–8.

เสนาะ ขาวขำ, เทวัญ ธานีรัตน์, และ พระปลัดสมชาย ปโยโค. (2560). การใช้สมุนไพรตามพุทธานุญาตเพื่องานสาธารณสุขมูลฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(2), 237–249.

Jarernsri L. Mitrpanont, Aphinat Atchaphan, Saran Rattanajung, & Sirachai Chaiphadung. (2017). Herbe — Herb Database Management System. In 2017 6th ICT International Student Project Conference (ICT-ISPC). Johor: Malaysia.

Narong Mettripun. (2020). Thai Herb Leaves Classification Based on Properties of Image Regions. In 2020 59th Annual Conference of the Society of Instrument and Control Engineers of Japan (SICE), (pp. 372–377). Chiang Mai: Thailand.

Sirinthorn Cheyasak & Kwanchanok Imamornchai. (2015). Herbal Health Care Application on Android Operating System. In 7th National Conference on Information Technology, (pp. 153–158). Bangkok: Thailand.