การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ เพื่อผลิตผักปลอดสารพิษของจังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนฟาร์มเกษตรอัจฉริยะเพื่อผลิตผักปลอดสารพิษของพื้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการตลาด 2) ด้านวิศวกรรมและเทคนิค 3) ด้านการบริหารจัดการ 4) ด้านการเงิน 5) ด้านเศรษฐศาสตร์ 6) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ลักษณะของโครงการลงทุนที่ศึกษามีโรงเรือนเพาะปลูกขนาด 6x20 เมตร จำนวน 10 โรงเรือน ใช้พื้นที่ทั้งหมด 1 ไร่ รูปแบบโรงเรือนเป็นแบบเปิด และแบบปิด ระบบการปลูกผักปลอดสารพิษ ใช้ระบบ NFT (Nutrient Film Technique) และระบบ DRFT (Dynamic Root Floating Technique) เพื่อให้การลงทุนเป็นไปตามคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ได้ออกแบบไว้ และอายุของโครงการที่ใช้ในการวิเคราะห์เท่ากับ 10 ปี ผลการศึกษาพบว่าด้านทางการตลาด คาดการณ์รายได้ของโครงการอยู่ที่ 0.52 ล้านบาทต่อปี สำหรับการลงทุนในโรงเรือนแบบเปิดและ 0.60 ล้านบาทต่อปีสำหรับโรงงานแบบปิด ด้านวิศวกรรมและเทคนิคได้หาทำเลที่ตั้งด้วยวิธีจุดศูนย์ถ่วง พบพื้นที่ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ด้านการจัดการ โดยสมมุติฐานโครงสร้างของเงินทุน มีอัตราของหนี้สินต่อทุนอยู่ที่ 2:1 ด้านการเงิน มีการลงทุนอยู่ 4 รูปแบบ ซึ่งส่วนใหญ่การลงทุนมักพบปัญหาและอุปสรรคของการลงทุน คือการลงทุนเริ่มต้นที่ค่อนข้างสูง ต้นทุนในการดำเนินการเพิ่มตามมา ด้านเศรษฐศาสตร์ โครงการจะเกิดการจ้างงานมูลค่าประมาณ 0.2 ล้านบาทต่อปี ซึ่งถ้าโครงการคิดในส่วนการจ้างงานของตนเองจะทำให้ผลตอบแทนภายในโครงการเพิ่มขึ้นประมาณ 8% ถึง 9%
Downloads
Article Details
References
จันทนา จันทโร. (2534). การศึกษาความเป็นไปได้โครงการด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม. (ภาควิชาอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
จิรพรรณ เลี่ยงโรคาพาธ. พัฒนาธุรกิจ On Air กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า. “การวิเคราะห์ความ เป็นไปได้ทางการตลาด”. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563 จาก http://www.ismed.or.th
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2557). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทางธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่ 1 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ จงมีไชย. (2550). ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกรในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ. เชียงใหม่: วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐิกา สุทธิประสิทธ์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การวิเคราะห์ต้นทุนและความอ่อนไหวของธุรกิจการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานคร. (คณะวิทยาการจัดการ). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณิชาบลู อินทรพุฒิ. (2554). ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนปลูกมะขามหวานในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ดลยา กันตะนันท์. (2543). การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทนทางการเงินของการผลิตผักปลอดสารพิษเพื่อการค้า. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/เชียงใหม่.
ธนภร โชคศิริวัชร. (2554). การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตผักปลอดสารพิษกับการผลิตผักโดยใช้สารเคมี : กรณีศึกษา ตำบลบึงพระ จังหวัดพิษณุโลก. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบัญชี). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธนรักษ์ เมฆขยาย. (2557). การศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการทำกำไรของฟาร์มที่ปลูกผักปลอดสารพิษ ในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
นภัสนันท์ ชาติวัฒนานนท์. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อเมล่อน. การค้นคว้าแบบอิสระ. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป มหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ประทานทิพย์ กระมล. (2559). การศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลผลิตเกษตรอินทรีย์และปลอดสารพิษ ในตลาดเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่. (เกษตรศาสตร์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปิยพร มานะกิจ. (2553). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนทางการเงินของโรงงานผลิตผักและผลไม้กระป๋องแห่งหนึ่งในอำเภอแม่แต่ง จังหวัดเชียงใหม่. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเศรษฐศาตร์). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปิยะราช เตชะสืบ. (2557). ต้นทุนและผลตอบแทนของการลงทุนโครงการปลูกผักกุยช่ายปลอด สารพิษเพื่อการค้าในจังหวัดลำปาง. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเนชั่น.
พิมพ์กานต์ดา เทพวงษ์. (2556). การศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคผักปลอดสารพิษ ของครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. มหาวิทยาลัยเนชั่น. รณรงค์ จงมีไชย. (2550). ต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกร ในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ.
สาวิตรี แสงเกิด. (2553). ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกผักปลอดสารพิษของกลุ่มเกษตรกรอำเภอ สารภีจังหวัดเชียงใหม่. (บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานวัฒนสินการบัญชี. (2559). ต้นทุนการผลิต. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2560 จาก http://www.wattanasinaccounting.com
สุเทพ นิ่มสาย. (2546) การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลตอบแทนในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษเพื่อการค้า . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ.
สราวุฒิ ผดุงชม. (2542). ต้นทุนและผลตอบแทนของการผลิตผักโดยใช้สารเคมี และผักปลอดสารเคมีในมุ้งตาข่ายไนล่อน ในจังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ.
สุทธดา ขัตติยะและคณะ. (2562). พฤติกรรมความต้องการผักปลอดสารพิษของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
อัมพา คำวงษา. (2553). แนวทางการผลิตและลงทุนผักไฮโดรโปนิกส์เพื่อทำเงิน. บริษัทนาคอินเตอร์มิเดียร์ จำกัด, กรุงเทพฯ.