ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืชป่าของชุมชนบ้านปางขอน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์พืชป่าของชุมชนบ้านปางขอนอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์ตัวแทนจากทุกครัวเรือนในพื้นที่บ้านปางขอน ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายจำนวน 157 ครัวเรือน ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากพืชป่า มีความรู้ทักษะ และความเชี่ยววชาญในการใช้ประโยชน์จากพืชป่า โดยใช้แบบสอบถาม การสำรวจพืชป่าและการเก็บตัวอย่างตรวจสอบพรรณพืช ผลการศึกษาพบว่า ในชุมชนบ้านปางขอนมีการนำพืชป่ามาใช้ประโยชน์ทั้งหมด 117 ชนิด 106 สกุล 60 วงศ์ โดยวงศ์ที่มีจำนวนชนิดการใช้ประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ วงศ์ Asteraceae และวงศ์ Fabaceae วงศ์ละ 7 ชนิด รองลงมาได้แก่ วงศ์ Lamiaceae และวงศ์ Zingiberaceae วงศ์ละ 6 ชนิด การจำแนกตามประเภทการใช้ประโยชน์ พบว่า เป็นพืชอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องเทศ 99 ชนิด พืชสมุนไพร 96 ชนิด พืชที่ใช้ทำเครื่องนุ่งห่มและสีย้อม 2 ชนิด พืชที่ทำเครื่องสำอาง เครื่องหอม และเครื่องประดับ 1 ชนิด พืชทำที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้สอย 28 ชนิด พืชที่ใช้ทำพิธีกรรมและความเชื่อต่างๆ 3 ชนิด และพืชที่ใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ 18 ชนิด พืชป่าที่มีความสำคัญในการนำไปใช้ประโยชน์ของชุมชนบ้านปางขอนมากที่สุดได้แก่ ข่า (Alpinia galangal (L.) Willd.) รองลงมาคือ กล้วยป่า (Musa acuminate Colla subsp.acuminata) มะขามป้อม (Phyllanthus emblica L.) มะแว้งนก (Solanum americanum Mill.) มะไฟ (Baccaurea ramiflora Lour.) และไผ่หก (Dendrocalamus hamiltonii Nees & Arn. ex Munro) มีค่าดัชนีการนำไปใช้ประโยชน์ เท่ากับ 0.98, 0.97, 0.97, 0.97, 0.96 และ 0.96 ตามลำดับ
Downloads
Article Details
References
มหาวิทยาลัยแม่โจ้:เชียงใหม่.
กวินธร เสถียร, ศักดิ์ดา หอมหวน และเสวียน เปรมประสิทธ์. (2561). การใช้ประโยชน์พรรณพืชในพื้นที่ป่า
ชุมชนบ้านทุ่งลุยลาย ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(2), 211-245.
ชูศรี ไตรสนธิ, ปริทรรศน์ ไตรสนธิ, ปรัชญา ศรีสง่า และอังคณา อินตา. (2561). พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
ศาสตร์แห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
ปรัชญา ศรีสง่า และคนอื่นๆ. (2554). พฤกษศาตร์พื้นบ้านของชาวอาข่า หมู่บ้านห้วยหยวกป่าโซ อำเภอแม่
ฟ้าหลวง และหมู่บ้านใหม่พัฒนา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย, 3(1),
93-114.
ปาริฉัตร น้อยธนะ, สวาท สายปาระ และกมลวรรณ คุ้มพุฒ. (2556). พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเขา
เผ่าม้ง อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. วารสารนเรศวรพะเยา วิทยศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี, 6(3), 213-219.
วิสุทธิ์ ใบไม้. (2538). สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ศรัญญา ก่อพันธ์, ธวัดชัย ธานี และสมบัติ อัปมระกา. (2562). ความหลากชนิดและการใช้ประโยชน์ของพืช
สมุนไพรของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในพื้นที่ป่าชุมชนโคกคูขาด-บ้านคูสี่แจ อำเภอไพรบึง จังหวัด
ศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 38(3), 247-262
สุกัญญา นาคะวงศ์, วรรณชัย ชาแท่น และวิลาวัณย์ พร้อมพรม. (2560). การศึกษาสังคมพืชและการใช้
ประโยชน์ของพรรณไม้บริเวณป่าช้าสาธารณะประโยชน์ บ้านจาน เทศบาลตำบลทุ่งกุลา อำเภอ
สุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 10(1), 93-120.
Anderson, E. F. (1986). Ethnobotany of hill tribes of northern Thailand. I. Medicinal plants of
Akha. Economic Botany, 40(1): 38-53.
, E. F. (1986). Ethnobotany of hill tribes of northern Thailand. II. Lahu Medicinal
Plants. Economic Botany, 40(4): 442-450.
Batora, J., Indriyani, S., and Yanuwiyadi, B. (2018). Survey and Utilization of Wild Plant
(Extractivism) in Tengger Society East Java, Indonesia. International Journal of
Modern Botany, 8(1): 8-14.
Bussmann, R. W., and Sharon, D. (2006). Traditional medicinal plant use in Northern Peru:
tracking two thousand years of healing culture. Journal of Ethnobiology and
Ethnomedicine, 2(1): 1-18
Cotton, C. M. (1996). Ethnobotany: principles and application. Singapore: John Wiley
& Sons.
Martin, G. J. (1995). Ethnobotany: A methods manual. London: Chapman & hall.
Patel, D. K. (2012). Study on medical plant with special reference to family Asteraceae,
Fabaceae and Solanaceae in G.G.V-Campus, Bilaspur (C. G.) in central India. Curent
Botany, 3(4): 34-36.
Wulandari, I. et al. (2021). Ethnoecological study on the utilization of plants in
CiletuhPalabuhanratu Geopark, Sukabumi, West Java, Indonesia. Biodiversity
Journal of Biological Diversity, 22(2): 659-672.