ความพร้อม ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ และความพึงพอใจของการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ON LINE)วิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)”

Main Article Content

สุชาติ เครื่องชัย
ยงยุทธ แก้วเต็ม
วันวิสาข์ ชูจิตร

บทคัดย่อ

ความพร้อมและความพึงพอใจ เป็นสิ่งสนับสนุนที่สำคัญในการเรียนรู้สู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความพร้อม ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ และความพึงพอใจของการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ON LINE) วิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น


วิธีดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 197 คน ภาคเรียนที่ 3 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  แบบสอบถามความพร้อมและความพึงพอใจ และแนวประเด็นคำถามในการสนทนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระหรือประเด็นร่วม (thematic analysis)


ผลการวิจัย: พบว่า 1) ความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ในระดับมาก โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ความระมัดระวังในการใช้เทคโนโลยีและไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับผู้ใดทราบ ( = 4.26, SD = 0.68)


 2) ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ พบว่า นักศึกษามีผลลัพธ์ที่สำคัญ 4 ประการ          ได้แก่ 1) มีความฉลาดทางดิจิทัลสามารถใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดและปลอดภัย 2) มีส่วนร่วมในทีมและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการเรียนรู้ 3) เกิดคุณค่าหรือคุณประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียน 4) เกิดการสะท้อนคิดสู่การพัฒนาการเรียนการสอน


3) ความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การได้รับแจ้งข้อมูลจากผู้สอนทราบเกี่ยวกับลักษณะวิชา  การจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล ( = 4.36, SD = 0.60) และการเปิดโอกาสจากผู้สอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล ( = 4.36, SD = 0.63)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
เครื่องชัย ส. . ., แก้วเต็ม ย. . ., & ชูจิตร ว. . . (2021). ความพร้อม ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ และความพึงพอใจของการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (ON LINE)วิชาการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19)”. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 16(1), 105–127. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/244313
บท
บทความวิจัย

References

B.B.C. News. (2562). โคโรนา : อนามัยโลกตั้งชื่อ "โควิด-19" ให้โรคทางเดินหายใจจาก
ไวรัสสายพันธุ์ใหม่. Retrieved from https://www.bbc.com/thai/features-51473472. (February 12, 2020)
Klunklin, A.,Viseskul, N., Sripusanapan, A.& Turale, S. (2010). Readiness for self-directed
learning among nursing students in Thailand. Nurs Health Sci, 12(2), 177-181.
Voice online (2562). เปิดตลาดอู่ฮั่น แหล่งค้าสัตว์ป่า จุดกำเนิดเชื้อไวรัสโคโรนา.
Retrieved from https://voicetv.co.th/read/wMjtmeqks. (January 23, 2020)
Yang, G.F.& Jiang, X.-Y. (2014). Self-directed learning readiness and nursing competency
among undergraduate nursing students in Fujian province of China.
International Journal of Nursing Sciences, 1(3), 255-259.
กรธนวัฒน์ วุฒิญาณ และ ระวิวรรณ ศรีคร้ามครัน .(2560). ความพึงพอใจการเรียนภาษาอังกฤษแบบ
ออนไลน ผ่านทางโปรแกรม Skype ของนักเรียนในสถาบันสอนภาษา ECC. สาขาการสอน
ภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 330 -358.
กรุงเทพธุรกิจ.(2563). ย้อนไทม์ไลน์ 100 วัน กับสถานการณ์ ‘โควิด-19’ ในประเทศไทย.
Retrieved from https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/875664. (April 20, 2020)
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน.(2544). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษาตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: วีทีซีคอมมิวนิเคชั่น.
คณะรัฐมนตรี (2563). แถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามพระราช
กำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน.เล่ม 137 ตอนที่ 24 ก, 25 มีนาคม 2563
ชนันภรณ์ อารีกุล.(2560). บทวิจารณ์หนังสือ การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ.
วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 2(2), 143-149.
ทรงลักษณ์ สกุลวิจิตร์สินธุ. (2560). “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันทางออนไลน์.”
วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 10,2 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 437-450.
ทิศนา แขมมนี .(2554).ศาสตร์การสอน:หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
(Student - Centered Instruction).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมนี .(2554).ศาสตร์การสอน:หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
(Student- Centered Instruction).กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี.(2560). ศาสตร์การสอน :องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.พิมพ์ครั้ง
ที่ 21.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี.(2557). คู่มือแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนที่เน้น
ผู้เรียนเป็นสำคัญ.อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข.(2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการ
เรียนการสอนแบบบูรณาการ.กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.(2556) คู่มือเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(ฉบับ
ปรับปรุง 2556). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
ยุวดี วัฒนานนท์, วาสนา จิติมา, วชิรา วรรณสถิต.(2553).ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความพร้อมของ
นักศึกษาพยาบาลก่อนฝึกภาคปฏิบัติในหน่วยห้องคลอดกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติ
พยาบาลผู้คลอดปกติในระยะคลอด. Journal of Nursing Science (Supplement), 28 (4),67-73.
รังสรรค์ โฉมยา.(2558). 21stCENTURY SKILLS: Rethinking How Students Learn ทักษะแห่งอนาคต
ใหม่.การศึกษาเพื่อศตวรรษที่21.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,9(4),221-227.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.(2563). การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ.2562–2563. Retrieved from
https://th.wikipedia.org/wiki/การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา_พ.ศ 2562– (February 12, 2020)
ศิโรจน์ ศรีโกมลทิพย์และศิวนิต อรรถวุฒิกุล. (2559). “ผลการใช้สื่อมัลติมีเดียร่วมกับการจัดการเรียนการสอน
ในชั้นเรียนที่ส่งผลต่อแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์ในการผลิตสื่อศิลปะส าหรับเด็ก.” วารสารวิชาการ
Veridian E-Journal 9,1 (มกราคม-เมษายน): 1459-1472.
ศุภรัตน์ แจ่มแจ้งและคณะ.(2560).ผลการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้
สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อการรับรู้ความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย.
วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 27 (Special Issue), 46-58.
สุเนตร สืบค้า.(2553).ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนผ่านเว็บด้วยโปรแกรมมูเดิ้ล.
ในวิชา วก 341 หลักกระบวนการทางวิศวกรรมเกษตร.สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวศวกร
กรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
อมรรัตน์ เสตสุวรรณ, อรชร ศรีไทรล้วน.(2557). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในคณะพยาบาล
ศาสตร์กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์
มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.วารสารเกื้อการุณย์. 21 (ฉบับพิเศษ),124-138.