การออกแบบนวัตกรรมกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพสำหรับ ฟาร์มสุกร บ้านบุญแจ่ม อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่

Main Article Content

วิทวัส อาจสุธรรม
ภาณุวัฒน์ พรมจันทร์
นพรัตน์ วงค์มุด
ลือ เกิดสาย
กมลสร ลิ้มสมมุติ
เจษฎา มิ่งฉาย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ออกแบบ ติดตั้ง และทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพสำหรับฟาร์มสุกร และ (2) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและคุณลักษณะของนวัตกรรมชุดกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ วิธีดำเนินงานโดยการจัดอบรมให้ความรู้ ออกแบบ และติดตั้งชุดกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 ราย วัดประสิทธิภาพการกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ และเก็บข้อมูลความคิดเห็นที่มีต่อคุณลักษณะของนวัตกรรม


ผลการวิจัยพบว่า ความเข้มข้นของก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพก่อนการกำจัดอยู่ในช่วง 6,890-10,100 ppm. และเมื่อผ่านกระบวนการกำจัดแล้วลดลงเหลือน้อยกว่า 10 ppm. โดยมีประสิทธิภาพการกำจัดมากกว่าร้อยละ 99 นอกจากนั้นผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานพบว่า ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 52 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม นอกจากนั้นผู้ให้ข้อมูลให้การยอมรับในภาพรวมต่อคุณลักษณะของนวัตกรรมในระดับมากที่สุด (4.53) โดยมีน้ำหนักคะแนนเฉลี่ยรายด้านคือ ความสอดคล้องกับสิ่งที่มีอยู่เดิม (4.59) ความสามารถในการทดลองใช้ (4.57) ผลประโยชน์ที่ได้จากนวัตกรรม (4.55) ความไม่ยุ่งยากซับซ้อน (4.48) และการสังเกตเห็นผลได้ชัดเจน (4.48) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกแบบ การผลิตและใช้ก๊าซชีวภาพสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย.

กัลยา นาคลังกา และ เจษฎา มิ่งฉาย. (2561). คุณค่าทางเศรษฐศาสตร์ของกิจการเพื่อสังคมด้านพลังงาน: กรณีชุดกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพสำหรับเกษตรกรรายย่อย. วารสารวิจัยเพื่อการ

พัฒนาเชิงพื้นที่ สกว., 10(2), 115-130.

เกวลิน ปฐมระวี. (2559). การกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพโดยใช้ถ่านกัมมันต์เคลือบด้วยสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี, มหาวิทยาศาสตร์สงขลานครินทร์.

แก้ว มีเมือง. (2562). ผลจากการใช้งานก๊าซชีวภาพ [เจษฎา มิ่งฉาย, ผู้สัมภาษณ์], 16 พฤศจิกายน 2562.

เจษฎา มิ่งฉาย, ลือ เกิดสาย, ประวัติ คำจีน, สุทธิรัตน์ ปาลาศ, สร้อยรัตน์ดา สามโพธิ์ศรี, กัลยา นาคลังกา และศรีไพร สกุลพันธ์. (2558). ชุดกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพ: กิจการเพื่อสังคมสำหรับ

เกษตรกรรายย่อย. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สกว., 7(1), 47-58.

ภูรีนล มิ่งฉาย, วิทวัส อาจสุธรรม, ภาณุวัฒน์ พรมจันทร์ และนพรัตน์ วงค์มุด. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพของสนิมเหล็กจากระบบประปาบาดาลเพื่อใช้เป็นสารกำจัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพ.

รายงานการสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4, 17 ธันวาคม 2563, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี ปทุมธานี, 973-982.

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. (2562). การรับข้อเสนอโครงการตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ปีงบประมาณ 2563. อุตรดิตถ์: กองนโยบายและแผน.

วิทวัส อาจสุธรรม ภาณุวัฒน์ พรมจันทร์ นพรัตน์ วงค์มุด กมลสร ลิ้มสมมุติ และเจษฎา มิ่งฉาย. (2563). โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทางเลือกด้านการเกษตรของชุมชนบุญแจ่ม ตำบลน้ำเลา

อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. อุตรดิตถ์: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

Chedsada Mingchai, Sriprai Sakunphun, Suttirat Palas and Soiratda Samposree. (2019). Hydrogen Sulfide Removal by Iron Oxide-Based Clay from Biogas for Community Use.

Applied Mechanics and Materials., (886). p.159-165.

Rogers, E. M. (2003). Diffusion of Innovations. (5th edition). New York: The Free.