องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน

Main Article Content

เนาวรัตน์ กองตัน
ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
สันติ บูรณะชาติ
น้ำฝน กันมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 348 คน โดยการสุ่มตามระดับชั้นภูมิ (ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน 70 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ 71 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล 68 คน หัวหน้ากลุ่มบริหารงบประมาณ 69 คน และหัวหน้ากลุ่มบริหารงานทั่วไป 70 คน) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบบสอบถามแบ่งเป็น 2 ตอน คือ ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามและข้อมูลองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐาน มีจำนวน 4 องค์ประกอบ คือ 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ 3) ผลผลิต และ 4) ผลลัพธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2557). แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (ฉบับที่ ๓) ของประเทศไทย พ.ศ.2557-2561.
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.
ฐานิตา นพฤทธิ์. (2556). นวัตกรรมการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในฝัน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปกร.
ฐิตารีย์ วิลัยเลิศ. (2554). รูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของโรงเรียนในฝันจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการจัดการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ถวัลย์ ทองมี. (2555). การพัฒนารูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิยาการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์. (2561) .รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยบทบาทการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพ ฯ : ธนาเพลส.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2557). หลักการหลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา = Principles and theories in educational administration. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ตีรณสาร.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. เล่ม 136 ตอนที่ 47 ก 11 เมษายน 2562.
วิลัยพร พิทักษา. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 6. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 OBEC’S POLICY 2020. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.
สันติ บุญภิรมย์. (2557). การวิจัยทางการศึกษาและการวิจัยทางการบริหารการศึกษา. Research in education and research in educational administration. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
สัมมา รธนิธย์. (2553). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
อธิปัตย์ คลี่สุนทร . (2555). สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
อนล สวนประดิษฐ์. (2558). เอกสารประกอบการสอน วิชานวัตกรรมการศึกษา. คณะครุศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
Brenda Whittaker. (1999). What went wrong? Unsuccessful information technology projects. Information Management & Computer Security 7/1 [1999] 23-29. MCB University Press.
Jo Tondeur. (2006). Teacher Professional Development for Online Blended Learning in Adult Education and Training.
Kaputa, D. M. (1994). "How have the applications of computers affected the administration of higher education." Dissertation Abstracts International. 55,(06): 1436-A; December.
Rosnarizah Abdul Halim, Amin Senin and Abdul Razak Manaf. (2008). Innovation in Educational Management and Leadership:High Impact Competency for Malaysian School Leaders. Institute Aminuddin Baki, Malaysia.
The Ministry of Education. (2008). The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. (A.D. 2008). Bangkok: Kurusapa Ladprao Publishing.
White. (1986). Teaching Written English. Great Britain : George Allen and Unwin.