พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้าในตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้า ในตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 169 ครัวเรือน โดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 41-60 ปี (ร้อยละ 61.5) และไม่ได้รับการศึกษา (ร้อยละ 54.4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีแหล่งเงินทุนเพื่อนำมาเป็นเงินทุนทำสวนกาแฟจากการกู้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ร้อยละ 45.5) พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้ามีค่าเฉลี่ยในการปฏิบัติอยู่ในระดับดี (2.63) แต่เกษตรกรบางคนเลือกที่จะไม่ปฏิบัติตามพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง ได้แก่ 1) เลือกซื้อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีพิษรุนแรงต่อศัตรูพืช 2) ไม่เลือกใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตามการแนะนำของเพื่อนเกษตรกรหรือญาติที่เคยใช้แล้วได้ผลดี 3) ผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 2 ชนิด และ 4) ใช้อุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหายฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
Downloads
Article Details
References
กนกวรรณ อู่ทองทรัพย์. (2559). การปรับตัวของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในภาคเหนือ ภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงรายและจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 9(1), 94-101.
เกศรา จีระจรรยา. (2547). การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งชาติประเทศไทย.
จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ, เพลินพิศ จับกลาง, สุวิมล บุญเกิด และอัญชลี อาบสุวรรณ์. (2557). การศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกําจัดศัตรูพืชของเกษตรกร บ้านห้วยสามขา ตําบลทัพรั้ง อําเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา. ศรีนครินทร์เวชสาร, 29(5), 429-434.
จีระศักดิ์ อะทะวงษา. (2560). ข้อมูลรายได้ หนี้สิน และพื้นที่ไร่กาแฟอาราบิก้าของหมู่บ้านห้วยส้านลีซอ. เชียงราย: สำานักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย.
ชนิกานต์ คุ้มนก และสุดารัตน์ พิมเสน. (2557). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลจอมทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 16(1), 57-67.
ณฐิตากานต์ ปินทุกาศ และพงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์. (2560). รูปแบบและกระบวนการส่งเสริมการปลูกกาแฟอาราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวง และโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง. แก่นเกษตร, 45(1), 521-526.
ปรัชญา รัศมีธรรมวงค์. (2550). การเพาะปลูกและแปรรูปกาแฟสายพันธุ์กาแฟอาราบิก้า กาแฟโรบัสต้า. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์เพชรกะรัต.
พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย และพีรญา อึ้งอุดรภักดี. (2558). ประเมินผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันผลกระทบทางสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ตำบลชัยจุมพล อำเภอลับ จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 4(3), 417-427.
รัตนา ทรัพย์บำเรอ. (2557). สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและผลกระทบต่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
สมเกียรติ ศิริรัตนพฤกษ์. (2553). คู่มือเกษตรกรปลอดโรคสำหรับเกษตรและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุวรรณา พนาอดิศัย. (2560). พฤติกรรมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้าในหมู่บ้านห้วยส้านลีซอ ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (รายงานการวิจัย). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เสงี่ยม แจ่มจำรูญ. (2551). การปลูกกาแฟอาราบิก้าในเขตที่สูง. ตาก: ศูนย์บริการวิชาการด้านพืช และปัจจัยการผลิต.
องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู. (2560). ข้อมูลหมู่บ้าน บ้านห้วยส้านลีซอ ตำบลห้วยชมพู อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย. เชียงราย: องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชมภู.
อาซะมะ ตามี่. เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้า. (19 ตุลาคม 2560). สัมภาษณ์.
อามินะ ตามี่. เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้า. (19 ตุลาคม 2560). สัมภาษณ์.
อิศวร ดวงจินดา. (2559). พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรของเกษตรกรอําเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา, 22(1), 5-13.