การออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดกระยาสารทแบบกึ่งอัตโนมัติ

Main Article Content

รัฐพล ดุลยะลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดกระยาสารทแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยศึกษาลักษณะการตัดกระยาสารทจากแรงงานคน และการตัดจากเครื่องตัดอาหารที่มีอยู่แล้ว จากนั้นนำรูปแบบวิธีมาออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดกระยาสารทแบบกึ่งอัตโนมัติ ภายหลังจากการออกแบบและสร้างเครื่องตัดกระยาสารทแบบกึ่งอัตโนมัติ ได้นำไปทดลองหาประสิทธิภาพ ในการเปรียบเทียบระหว่างแรงงานคนกับเครื่องตัดกระยาสารทแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยทำการทดลองจำนวน 5 ครั้ง ในแต่ละครั้งใช้กระยาสารทปริมาณ 7 กิโลกรัม เพื่อหาปริมาณของชิ้นกระยาสารทที่สามารถตัดได้ ขนาดของกระยาสารทที่ได้มาตรฐาน และเวลาในการตัด ผลที่ได้พบว่า แรงงานคนและเครื่องตัดกระยาสารทสามารถตัดชิ้นกระยาสารทได้ปริมาณ 700 ชิ้นเท่ากัน แต่ขนาดของกระยาสารทที่ได้มาตรฐาน แรงงานคนสามารถทำได้เฉลี่ย 377.8 ชิ้น โดยใช้เวลารวมในการตัดกระยาสารทเฉลี่ย 36.38 นาที และเครื่องตัดกระยาสารทแบบกึ่งอัตโนมัติสามารถตัดกระยาสารทที่มีขนาดมาตรฐาน เฉลี่ย 553.2 ชิ้น โดยใช้เวลารวมในการตัดกระยาสารทเฉลี่ย 14.96 นาที จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า เครื่องตัดกระยาสารทแบบกึ่งอัตโนมัติสามารถลดระยะเวลาในการตัดกระยาสารทและได้ชิ้นกระยาสารทที่มีขนาดมาตรฐาน คิดเป็นประสิทธิภาพเท่ากับ 68.29 % เมื่อเทียบกับแรงงานคน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ดุลยะลา ร. (2020). การออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดกระยาสารทแบบกึ่งอัตโนมัติ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 15(2), 117–131. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/241857
บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรชัย เอี่ยมพรสิน. (2560). เครื่องตัดหมี่กรอบอัดแท่ง. วิศวกรรมสารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.,
30(102), 29-36.
ธนากร คําฟู, สุรพงษ์ กาญจนเลิศชัย, ณภัสนันท์ ศักดิ์เสงี่ยม, และปานมนัส ศิริสมบูรณ์. (2558).
การออกแบบและพัฒนาเครื่องตัดชิ้นข้าวยัดไส้ป่นปลาทู ใน การประชุมวิชาการสมาคม วิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16 ประจำปี 2558 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8
(น. 567). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.
พงษ์ศักดิ์ อยู่มั่น. (2559) การพัฒนาเครื่องอัดแท่งถ่านในรูปแบบเกลียวอัดเย็นสำหรับเชื้อเพลิง
ชีวมวลจากเศษวัสดุเหลือใช้ในกระบวนการผลิตกาแฟชุมชนและการหาคุณสมบัติทางเชื้อเพลิงจากผลิตภัณฑ์ถ่านอัดแท่ง. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 : 34 - 48
พิชัย นาเหมือง, อนุชา เขื่อนสอง, และอภิเชษฐ์ ยาวิเลิง. (2553). การออกแบบเครื่องหั่นมะกรูด.
(ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่เชียงราย).
ภรต กุญชร ณ อยุธยา. (2533). เครื่องบดและอัดอาหารกุ้ง. วิศวกรรมสารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ฉบับที่ 10 : 139 - 167
รุ่งเรือง ทารักษ์. (2553). การออกแบบและสร้างเครื่องหั่นต้นหอม. (ปริญญานิพนธ์อุตสาหกรรม ศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ภาคพายัพ เชียงใหม่).
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. 2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกระยาสารท (มผช) ฉบับที่
709/2547.
อานนท์ วงษ์มณี, คัทลียา ปัญญาอูด, และนคร เมืองกระจ่าง. (2560). การพัฒนาเครื่องหั่นข้าวเกรียบ สมุนไพรใบหม่อน ใน การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเพชรบุรีวิจัยเพื่อแผ่นดินไทยที่ ยั่งยืน ครั้งที่ 7 “สหวิทยาการ สู่ไทยแลนด์ 4.0” (น. 431). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ เพชรบุรี.