การศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีถังกรองไร้อากาศ

Main Article Content

วรากรณ์ พูลจันทร์
กรองกาญจน์ มหาชนะวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดลองหาระยะเวลาเก็บกัก
ที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีถังกรองไร้อากาศ ทำการทดลองโดยการสร้างถังบำบัดน้ำเสีย ซึ่งคำนวณจาก BOD - loading ของตัวกลางกรอง และใช้น้ำเสียจากบ่อหมักไขมันของโรงประกอบอาหารโรงเรียนนายเรืออากาศ-    นวมินทกษัตริยาธิราช ที่มีค่า BOD 400 – 500 มิลลิกรัมต่อลิตร กำหนดอัตราการไหลอยู่ที่ 150 ลิตรต่อวัน ใช้ตัวกลางกรองรูปทรงถังเบียร์ ขนาดพื้นที่ผิว 170 ตารางเมตรต่อลูกบาศก์เมตร มีค่าอัตราการกำจัด BOD = 0.63 kg-BOD/m2/d  ทดลองที่ระยะเวลาเก็บกัก 29, 30, 31 และ 32 ชั่วโมง ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่า ระยะเวลาการเก็บกัก 29 ชั่วโมง ค่า BOD – removal =  63 %, ระยะเวลาการเก็บกัก 30 ชั่วโมง ค่า BOD-removal =  66 %, ระยะเวลาการเก็บกัก 31 ชั่วโมง ค่า BOD – removal = 70 % และระยะเวลาการเก็บกัก 32 ชั่วโมง ค่า BOD-removal = 72 %  โดยระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุดของการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีถังกรองไร้อากาศ คือ ระยะเวลาการเก็บกัก ที่ 31 ชั่วโมง เนื่องจากได้ค่า BOD-removal = 70% และค่า pH = 7.17 ถึงแม้จะเพิ่มระยะเวลาการเก็บกักเป็น 32 ชั่วโมง แต่ค่าเปอร์เซ็นต์ของ BOD-removal  เพิ่มขึ้นพียง 2% ซึ่งไม่คุ้มค่ากับงบประมาณและระยะเวลากักเก็บที่เพิ่มขึ้น โดยผลการวิจัยในครั้งนี้ เป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบขนาดที่เหมาะสมของถังบำบัดแบบกรองไร้อากาศ ซึ่งมีผลทำให้ต้นทุนในการบำบัดน้ำเสียลดลง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พูลจันทร์ ว., & มหาชนะวงศ์ ก. . (2020). การศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีถังกรองไร้อากาศ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 15(2), 57–68. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/241136
บท
บทความวิจัย