การออกแบบแอพพลิเคชั่นสำหรับเครื่องรังวัด 3 มิติ ในการมีส่วนร่วมจัดทำ แผนที่เสี่ยงดินถล่มของเกษตรกร ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์

Main Article Content

ปกรณ์ เข็มมงคล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้แอพพลิเคชั่นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ในการบริหารจัดการระบบแจ้งเตือนภัยดินถล่ม บนพื้นที่สวนทุเรียนตำบลแม่พูล โดยใช้ข้อมูลจากเครื่องรังวัด 3 มิติแบบง่าย ด้วยการนำข้อมูลที่เกษตรกรได้ลงพื้นที่รังวัดพื้นที่ ป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อให้แอพพลิเคชั่นประมวลผลข้อมูล ซึ่งประกอบไปด้วย 1) ระยะจากจุดตั้งกล้องถึงจุดรังวัด 2) มุมอาซีมุท และ 3) มุมดิ่ง โดยคำนวณเป็นค่าระดับความเสี่ยงดินถล่มจากค่าความลาดชัน ร่วมกับค่าพิกัดสถานที่ตั้งจากระบบระบุตำแหน่ง (GPS) ค่าความเสี่ยงดินถล่มนั้นแสดงเป็นค่าความแตกต่างของสี วางบนตำแหน่งบนแผนที่ภูมิประเทศ ผลการทดสอบพบว่ามีค่าความผิดพลาดอยู่สองส่วนใหญ่ๆคือ 1) ค่าผิดพลาดเชิงตำแหน่ง อันเป็นผลเนื่องมาจากระบบระบุตำแหน่ง มีค่าไม่เกิน 5 เมตร หรือตามคุณสมบัติของเครื่อง 2) ค่าผิดพลาดเชิงมุม อันเป็นผลมาจากอุปกรณ์รังวัด 2 ส่วนคือ 2.1) การวัดระยะด้วยเลเซอร์ซึ่งอ่านค่าได้ละเอียด 0.1 เมตร และ 2.2) การวัดค่ามุมดิ่ง อ่านตามความละเอียดของเข็มทิศได้ 0.5 องศา ดังนั้นการออกแบบแอพพลิเคชั่นเพื่อประมาลผลจึงต้องมีการพิจารณาค่าความผิดพลาดที่มีโอกาศเกิดขึ้นสูงสุด ซึ่งผลปรากฎว่าเมื่อนำค่าที่มีโอกาสอ่านคลาดเคลื่อนสูงสุดมาคำนวณความลาด พบว่าจะมีมุมลาดผิดร้อยละ 20 ที่ความสูงต่ำกว่า 5 เมตร มุมลาด 30 องศา ระยะทางการวัด 100 เมตร จึงได้กำหนดเป็นข้อจำกัดของการใช้งาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรธรณี. (2554). แผนที่เสี่ยงภัยดินถล่มระดับชุมชน จังหวัดอุตรดิตถ์. กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรมทรัพยากรธรณี. (2556). พื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มระดับชุมชน ตำบลแม่พูล อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรมที่ดิน (2560, เมษายน). “ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน”, (ระบบออนไลน์) แหล่งที่มา: http://dolwms.dol.go.th/tvwebp/).
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2557). การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2554). การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อการวิเคราะห์และวางแผนจัดการพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม/น้ำป่าไหลหลาก. กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา สำนักวิจัยและความร่วมมือระหว่างประเทศ
ครรชิต พิระภาคและคณะ. (2556). โครงการการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการที่ดินโดยชุมชนและการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ เขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ปกรณ์ เข็มมงคล. (2561). THAILAND TECH SHOW 2018. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. หน้า 147
ปกรณ์ เข็มมงคล. (2563). การประดิษฐ์เครื่องรังวัด 3 มิติแบบง่าย ในการจัดทำแผนที่เสี่ยงดินถล่มระดับรายแปลง บนพื้นที่ปลูกทุเรียน ตำบลแม่พูล จังหวัดอุตรดิตถ์. การประชุมวิชาการระดับชาติสู่การพัฒนาชุมชนฉลาด ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, 195-204.
ภานุวัฒน ขันจา. (2562). การพัฒนาระบบฐานขอมูลเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ, 14(1), 13-25.
วรากร ไม้เรียง และคณะ. (2553). การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และงานวิศวกรรมเชิงลาด. วิศวกรรมสาร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา และ ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 63 ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์