การพัฒนาออนโทโลยีสำหรับสืบค้นลวดลายตะกร้าเชือกฟางแบบเมทริกซ์

Main Article Content

สุรินทร์ อุ่นแสน
เศรษฐพงศ์ วงษ์อินทร์
ปัณณรัตน์ วงศ์พัฒนานิภาส

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาออนโทโลยี และ 2) พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสืบค้นลวดลายตะกร้าเชือกฟางบ้านคลองบางสิงห์เชิงความหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มอาชีพบ้านคลองบางสิงห์ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 10 คน ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย การระบุขอบเขตองค์ความรู้ การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การกำหนดคลาส การระบุคุณสมบัติของคลาส การสร้างตัวอย่างข้อมูล และการนำไปติดตั้งใช้งาน ผลการวิจัย พบว่า ออนโทโลยีสืบค้นลวดลายตะกร้าเชือกฟางบ้านคลองบางสิงห์ ประกอบด้วยคลาส จำนวน 5 คลาส ได้แก่ คลาสตะกร้า คลาสประโยชน์ คลาสลวดลาย คลาสรายละเอียดลวดลาย และคลาสสี ผลการประเมินความเหมาะสมของออนโทโลยีโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน เท่ากับ 0.83 เว็บไซต์ที่สืบค้นลวดลายตะกร้าเชือกฟางบ้านคลองบางสิงห์ออกแบบและพัฒนาโดยการวิเคราะห์
ออนโทโลยีสามารถแสดงผลข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ครอบคลุม อย่างไรก็ตามควรมีการเพิ่มเนื้อหาใน
เว็บแอปพลิเคชัน เช่น คลิปวิดีโอ ภาพนิ่ง หรือ ภาพเคลื่อนไหวสาธิตการสานลวดลายตะกร้า เพื่อช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจวิธีการสานลวดลายมากกว่าการดูรูปภาพลวดลายและอ่านคำอธิบาย ซึ่งจะทำให้เว็บแอปพลิเคชันเป็นแหล่งเรียนรู้ลวดลายตะกร้าสาน ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ขนิษฐา กุลประจวบ และ นิศาชล จํานงศรี. (2559). การพัฒนาออนโทโลยีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, วารสาร
สารสนเทศศาสตร์, 34(1), 94-121.
จิราวุฒิ วารินทร์. (2556). PHP+MySQL Dreamwever CS6. กรุงเทพฯ: รีไวว่า.
จุฑาวรรณ สิทธิโชคสถาพร. 2555. ต้นแบบออนโทโลยีเพื่อการค้นคืนสารสนเทศเชิงความหมาย สำหรับงาน
สารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษางานบริหารและธุรการ คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี
สารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พิเนศ บัตรเต และ วิชัย พัวรุ่งโรจน์. (2559). การพัฒนาเว็บเชิงความหมายในการสืบค้นข้อมูลทางวัฒนธรรมจังหวัดเลย, วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ, 12(2), 33-41.
ภานุวัฒน์ ขันจา. (2562). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 14(1), 13-25.
รังสิต ศิริรังสี. (2555). การทดสอบซอฟต์แวร์. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วรรษพร อารยะพันธ์ และ พัฑรา พนมนิมิต. (2356). การพัฒนาออนโทโลยีความรู้ด้านผ้าล้านนา, วารสารมนุษยศาสตร์สาร, 20(2), 133-170.
สุรินทร์ อุ่นแสน และคณะ. (2562). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลออนไลน์ลายสานตะกร้าเชือกฟางแบบ
เมทริกซ์. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา ครั้งที่
10, 10-15.
Vladimir GeroimenkoChaomei Chen. (2006). Visualizing the Semantic Web. London: Springer.