ภูมิปัญญาท้องถิ่นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ข้าวพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

เสถียร ฉันทะ
สุรินทร์ ทองคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ข้าวพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าในจังหวัดเชียงราย ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อาข่าสองชุมชน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มชาติพันธุ์อาข่ามีภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการพันธุ์ข้าวพื้นเมืองตั้งแต่การคัดสรรพันธุ์ข้าว การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าว การปลูกดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวผลผลิต มีการใช้ประโยชน์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองทั้งเป็นอาหารหลัก ทำขนม เป็นองค์ประกอบของพิธีกรรม นำไปใช้เป็นสิ่งแลกเปลี่ยน มีการขายผลผลิตเพื่อเป็นรายได้ มีการใช้เลี้ยงสัตว์ และนำไปทำเหล้าพื้นบ้านเพื่อใช้ในกิจกรรมของครัวเรือน ทำให้มีการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองไว้จำนวน 7 พันธุ์ มีวิธีการอนุรักษ์โดยการปลูกหลากหลายสายพันธุ์ในแปลงนาและไร่ มีการแลกเปลี่ยนพันธุ์ในชุมชนและนอกชุมชน มีการคัดสรรพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับระบบนิเวศและคุณสมบัติของพันธุ์ข้าวที่ตรงกับความต้องการในการใช้ประโยชน์


        

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ฉันทะ เ. . ., & ทองคำ ส. (2020). ภูมิปัญญาท้องถิ่นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ข้าวพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 15(1), 67–77. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/uruj/article/view/239983
บท
บทความวิจัย

References

ไกรสิทธิ์ สิทธิโชดก และคณะ.(2543).รายงานการวิจัยการเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
อาข่า. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วราพงษ์ บุญมา และคณะ.(2546).“การจัดการข้าวที่สูงของเกษตรกรเพื่อสร้างความมั่นคงของระบบการผลิต
อาหารและการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวในระดับไร่นาตามธรรมชาติให้คงอยู่ในสภาพเดิม”. ในกลไกทางสรีระเชิงนิเวศน์และพันธุกรรมที่ควบคุมการใช้ธาตุอาหารในพืช. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สงกรานต์ จิตรากร.(2531). “ข้าว: ความสำคัญและวิวัฒนาการ” ใน ข้าวไพร่-ข้าวเจ้าของชาวสยาม.
กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรมพิเศษ.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.(2541). รายงานการสำรวจในฤดูนาปี 2539/2540 เอกสารสถิติการเกษตร
2549. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เอกสารเศรษฐกิจการเกษตร.
เสถียร ฉันทะ.(2549).ข้าวมารดาแห่งธัญพืชของคนอุษาคเนย์: การจัดการความหลากหลายพันธุ์ข้าวของ
กลุ่มชาติพันธุ์. เชียงใหม่: บริษัทวิทอินดีไซน์จำกัด.
เสถียร ฉันทะ. (2558). ข้าวพื้นบ้านบนแผ่นดินอีสาน: ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรพันธุกรรม
ของชุมชนชาวนา. สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพจำกัด.
อุไรวรรณ แสงศร.(2542).ภูมิปัญญาพื้นบ้านและการรักษาความเจ็บป่วยของชาวอีก้อ. รายงานวิจัยเสนอต่อ
ศูนย์ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Dellinger, D. (1967). “Some Comments on Ahka: its relationships and structure and a
proposal for a writing system.” In Tribesman and Peasants in North Thailand. Edited by P.Hinton. Chiang Mai: The Tribal Research Center.
Kammerer, C.A. (1989).Territorial Imperatives: Akha Ethnic Identity and Thailand’s National
Integration” In Hill Tribes Today: Problem in Chang. Edited by J. Mckinnon and B. Vinne Bangkok: White Lotus.
Lewis P. & E. Lewis.(1984). Peoples of the Golden Triangle. London: Thames and Hudson Ltd.