การออกแบบและการพัฒนาเครื่องสับต้นข้าวโพด สำหรับผลิตอาหารสัตว์

Main Article Content

ภาณุวัฒน์ วงค์แสงน้อย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การออกแบบและการพัฒนาเครื่องสับต้นข้าวโพดแบบ 4 ใบมีด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับผลิตอาหารสัตว์ มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาหาคุณภาพและหาประสิทธิภาพเครื่องสับต้นข้าวโพดแบบ 4 ใบมีด วิธีการดำเนินงาน ผู้วิจัยได้ศึกษารายละเอียดของเครื่องสับต้นข้าวโพดที่มีอยู่แล้ว เพื่อนำข้อมูลไปทำการออกแบบและพัฒนาเครื่องสับต้นข้าวโพดขึ้นมาใหม่ เมื่อออกแบบเสร็จแล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเพื่อหาคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องสับต้นข้าวโพด ผู้วิจัยซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพเครื่องสับต้นข้าวโพดแบบ 4 ใบมีด จำนวน 5 ท่าน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในด้านเครื่องจักร 3 ท่าน และกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงโค 2 ท่าน และทำการทดลองหาประสิทธิภาพของเครื่องสับต้นข้าวโพดแบบ 4 ใบมีดที่พัฒนาขึ้น จำนวน 20 ครั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมวิเคราะห์หาคุณภาพและประสิทธิภาพ ผลที่ได้พบว่า การออกแบบและการพัฒนาเครื่องสับต้นข้าวโพดแบบ 4 ใบมีดมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านพบว่า ด้านคุณสมบัติของเครื่องสับต้นข้าวโพดแบบ 4 ใบมีด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.89 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก, ด้านความเหมาะสมและการออกแบบที่ได้จากการเครื่องสับต้นข้าวโพดแบบ 4 ใบมีด มีค่าเฉลี่ย 4.51 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก, ด้านการใช้งานเครื่องเครื่องสับต้นข้าวโพดแบบ 4 ใบมีด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก, ด้านคู่มือการใช้งานของเครื่องสับต้นข้าวโพดแบบ 4 ใบมีด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ส่วนประสิทธิภาพของเครื่องสับต้นข้าวโพดแบบ 4 ใบมีด ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 97.50 เปอร์เซ็นต์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ สุขจิต. (2554). เครื่องย่อยกะลามะพร้าว ครุศาสตร์อุตสาหกรรม ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม
และภาควิชา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
กานตยุทธ ตรีบุญนิธ. (2554) ออกแบบและสร้างเครื่องทำลายวัสดุ การประชุมทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยขอนแก่นปี 2554 "การพัฒนาเพื่ออนาคตชนบทไทย: รากฐานที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน" 27-29 มกราคม 2554 หน้า.593-597
คำรณชัยบุรินทร์ (2555) การก่อสร้างเครื่องหั่นผักตบชวา ปริญญาตรี สาขาวิชาครุศาสตร์
อุตสาหกรรมสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
มนชัย กนกไพโรจน์พิพัฒน์ (2553) โครงการย่อยผักตบชวา โครงการปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บุญชัยงามวิโรจน์ (2552) การเสริมสร้างและพัฒนาทรัพยากรน้ำและกระบวนการจัดการป่าต้นน้ำ กรณีศึกษา
ลุ่มน้ำปิงและชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก: ภาควิชาทรัพยากรน้ำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ปรุฬห์ มะยะเฉี่ยว (2557) การสร้างเครื่องย่อยต้นสาคู วารสารนราธิวาสราชนครินทร์ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 หน้า 94-102
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. ( 2562). พัฒนาโคเนื้อ-โคนม รองรับเปิดเสรีการค้าไทย-ออสเตรเลีย-
นิวซีแลนด์ สืบค้น 3 มกราคา 2563,จาก http://www.oae.go.th/view/1/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3/31453/TH-TH