การประเมินระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยของ หน่วยวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน (ระยะที่ 3)

Main Article Content

มนตรี สังข์ทอง
ประภาส กลับนวล
ศศินันท์ ศาสตร์สาระ
อามีนะห์ ไชยธารี
พรพิมล เชียรพิมาย
สมพร วงศ์ศักดิ์

บทคัดย่อ

หน่วยวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชนถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของการวิจัย เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงาน จึงดำเนินการประเมินระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน(ระยะที่ 3) การวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินระบบและกลไกการพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย 2) เพื่อประเมินระบบและกลไกการหนุนเสริมการดำเนินงานวิจัย และ 3) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน (ระยะที่ 3) โดยกลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูล จำนวน 9 กลุ่ม รวม 326 คน เครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมิน 5 ฉบับ และการสนทนากลุ่มนักวิจัยและตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมิน พบว่า ระบบและกลไกการพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย และการหนุนเสริมการดำเนินงานวิจัยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด สำหรับผลการดำเนินงานของหน่วยวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน (ระยะที่ 3) พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 8 ตัวชี้วัด จาก 10 ตัวชี้วัด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติ บุญเลิศนิรันดร์, สุธิษา เละเซ็น, พาขวัญ ทองรักษ์, เอกชัย รัตนบรรลือ, มนตรี สังข์ทอง และธารนี นวัสนธี. (2561). ระบบ กลไก และการจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 10(6), 440-452.

เบญจมาศ ตีระมาศวณิช, และสีลาภรณ์ บัวสาย. (2558). การพัฒนาขีดความสามารถและบทบาทของมหาวิทยาลัยในการรับใช้พื้นที่ด้วยกระบวนการวิจัย. บทเส้นทางสู่มหาวิทยาลัยรับใช้พื้นที่ : 15 กรณีศึกษามหาวิทยาลัยไทย. นครศรีธรรมราช: โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่ระหว่าง มวล. และ สกว.

มนตรี สังข์ทอง. (2560). รูปแบบการประเมินภายในเพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9(4), 234-241.

มนตรี สังข์ทอง, ประภาส กลับนวล และกัณภร ยั่งยืน. (2560). การประเมินระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. 12(1), 13-28.

มนตรี สังข์ทอง, ประภาส กลับนวล, ศศินันท์ ศาสตร์สาระ, อามีนะห์ ไชยธารี และพรพิมล เชียรพิมาย. (2560). การประเมินระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยวิจัยนวัตกรรมเพื่อสังคมและชุมชน ระยะที่ 2. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 9(3), 155-166.

ระวีวรรณ สุวรรณศร, กิตติ บุญเลิศนิรันดร์, รวีวรรณ เดื่อมขันมณี, มนตรี สังข์ทอง และธารนี นวัสนธี. (2559). การพัฒนาระบบการจัดการงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดนนทบุรี สุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2548). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม: CLASSICAL TEST THEORY. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2557). พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม. EnT Digest, (ฉบับปฐมฤกษ์), 4-5.

สีลาภรณ์ บัวสาย. (2554). ABC: การวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุภาวิณี สัตยาภรณ์ และนภาภรณ์ จันทร์สี. (2561). ระบบบริหารมหาวิทยาลัยแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการธุรกิจเกษตรข้าวอินทรีย์จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 10(3), 171-184.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). ไขรหัส “ประเทศไทย 4.0” สร้างเศรษฐกิจใหม่ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง.
[ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/content/613903 (10 มิถุนายน 2560).

Henry, A. (1995). Consumer Behavior and Marketing Action. (5th ed). Ohio : South-Western College Pub.

Schiffman, L.G. & Kanuk, L.L. (2000). Consumer Behavior. (7th ed). Reno : Pearson Education.