รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

กิตติวรรณ จันทร์ฤทธิ์
เผด็จการ กันแจ่ม
ธนากร ธนวัฒน์
ณิชารีย์ ใจคำวัง
พิชชาภา คนธสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการโดยใช้รูปแบบผสมผสาน เชิงปริมาณ และคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลตนเองของผู้สูงอายุ การพัฒนารูปแบบ และประเมินรูปแบบการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลป่าเซ่า อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์


ผลการวิจัยพบว่า มีระดับความรู้ในการดูแลสุขภาพในระดับดี ปัจจัยทางด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุอันได้แก่ ความรู้สึกในการมีคุณค่าในตนเอง การตระหนักในสุขภาพของผู้สูงอายุ แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของผู้สูงอายุ โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุด้านอาหาร อารมณ์ อโรคยา อนามัยสิ่งแวดล้อม และอบายมุขอยู่ในระดับสูง พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง มีปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ ด้านสังคมและเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ ความต้องการในผู้สูงอายุทางด้านร่างกาย จิตใจและ ด้านสังคมและเศรษฐกิจในระดับสูง หลังจากได้มีการวางแผนร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ได้กำหนดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุได้ 4 ด้านได้แก่ 1) ด้านการบริโภคอาหาร 2) ด้านการประเมินอาการทางด้านร่างกายและจิตใจ 3) ด้านการออกกำลังกาย และ 4) กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน ผลการดำเนินกิจกรรมพบว่า ความรู้ ของผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น พฤติกรรมการดูแลตนเองดีขึ้นยกเว้นด้านการออกกำลังกาย และความพึงพอใจจากการเข้าร่วมการจัดบริการในภาพรวมอยู่ในระดับสูง มากที่สุด


          ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ วางแผนกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ สำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ต่อไป


คำสำคัญ: รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ภาคีเครือข่ายชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตเมธ อัตภูมิ, มนชยา พรมศรี, และ พล ทองสถิตย์. (2556). รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยใช้
ชุมชนเป็นฐาน บ้านดงสวนพัฒนา ตำบลนาทัน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์. บทความนำเสนอผลงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.

กระทรวงสาธารณสุข. (2557). 10 อ.เพื่อการมีสุขภาพดี. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2560, จาก https://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/health/10care/topic006.php

ดารารัตน์ พืชนอก และ การุณย์ บัวเผื่อน. (2557). รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในกาพัฒนาคุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลบัวลาย อำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา. ในการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 5 (หน้า12-22). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นรินทร์ หมื่นแสน, และ สุชาดา ไกรพิบูลย์. (มกราคม–มีนาคม 2557). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการสร้างเสริม
สุขภาพของผู้สูงอายุ หมู่บ้านทุ่งหลุก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. พยาบาลสาร. 41(1), หน้า 1-12.

เบญจพร สุธรรมชัย, นภัส แก้ววิเชียร, และ นลินี เชื้อคำฟู. (2557). บทบาทกรมการแพทย์ด้านเวชศาสตร์
ผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 23(4), หน้า 629-641.

พิมพ์พิสุทธิ์ บัวแก้ว และ รติพร ถึงฝั่ง. (พฤษภาคม-สิงหาคม 2559). การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของ
ผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 21(2), หน้า 94-109.

วริยา จันทร์ขำ, หทัยชนก บัวเจริญ, และ ชินวุฒิ อาสน์วิเชียร. (กรกฎาคม- กันยายน 2558). รูปแบบการดูแล
ผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 7(3), หน้า 22-41.

วิไล ตาปะสี, ประไพวรรณ ด่านประดิษฐ์, และ สีนวล รัตนวิจิตร. (มกราคม-มิถุนายน 2560). รูปแบบ
การจัดบริการการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบล วังตะกู จังหวัดนครปฐม. วารสารเกื้อการุณย์, 24(1), หน้า 42-54.

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ. (2558). การจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัย.
กรณีศึกษาพื้นที่. เมืองพัทยา อำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรี และองค์การบริหารส่วนตำบลด่านชุมพล อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). รายงานผลเบื้องต้นการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557.
สำนักงานสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ หลักสี่ กรุงเทพมหานคร.

อภิรัติ พูลสวัสดิ์. (2560). การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ15 ตุลาคม 2560, จาก
https://www.gj.mahidol.ac.th.