การพัฒนาระบบฐานข้อมูลศักยภาพเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ภานุวัฒน์ ขันจา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแล เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อลดความเสียเปรียบในกลไกการตลาดทุเรียนหลงลับแล และเพื่อหาประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศชุมชนกับการลดความเสียเปรียบในกลไกการตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยวิธีการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูล พัฒนาระบบฐานข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนหลงลับแล การรวมกลุ่มเครือข่าย ผลผลิตทุเรียนหลงลับแล ช่องทางตลาดสำหรับทุเรียนหลงลับแล และข้อมูลการติดต่อสื่อสารระหว่างเกษตรกร เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการในระบบธุรกิจเกษตร สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรมและองค์ความรู้ ภายใต้แนวคิดการค้าที่เป็นธรรม เพื่อเป็นการลดความเสียเปรียบของเกษตรกรในกลไกตลาดทุเรียนหลงลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์


          ผลการศึกษาพบว่าการออกแบบระบบฐานข้อมูลสามารถแยกเป็นโปรแกรมย่อย 8 โมดูล คือโมดูลบริหารจัดการข้อมูลสมาชิก โมดูลจัดการพื้นที่แปลงเพาะปลูกทุเรียน โมดูลจัดการข้อมูลผลผลิตทุเรียนรายปี โมดูลรายงานผลและติดตามข้อมูล โมดูลรายงานเอกสาร โมดูลจัดการข้อมูลสำหรับสมาชิกระบบ โมดูลจัดการข้อมูลสำหรับผู้ดูแลระบบ และโมดูลวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวการใช้ระบบ แบ่งกลุ่มผู้ใช้ได้ 4 กลุ่มคือ ผู้ดูแลระบบ ผู้บริหารกลุ่ม เกษตรกร และบุคคลทั่วไป ผลการพัฒนาระบบโดยรวมมีความสมบูรณ์ร้อยละ 96 อยู่ในระดับมากที่สุด สามารถใช้งานได้ในทุกโมดูลและมีเสถียรภาพในการประมวลผล ผลการหาประสิทธิภาพโดยรวมของระบบเท่ากับร้อยละ 95 อยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนำระบบไปประยุกต์ใช้งานได้ดีมีความผิดพลาดเพียงเล็กน้อย และผลการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ระบบมีจุดเด่นในการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งาน สามารถสนับสนุนผู้ใช้เป็นระดับสมาชิก กลุ่ม และรวมทั้งระบบ จึงสามารถบริหารจัดการสมาชิกภายในกลุ่มได้อย่างอิสระ ควรพัฒนาต่อในด้านสารสนเทศการตัดสินใจ มีระดับความพึงพอใจระดับมาก เนื่องจากข้อจำกัดด้านการสำรวจข้อมูลทำให้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ครบถ้วนทั้งหมด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักราวุธ สอนโกษา. (2550). พัฒนาระบบสารสนเสนกลุ่มบริหารงานบุคคล ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1, ปริญญาการศึกษามหาบัณทิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฉัตรนภา พรหมมา. (2554). อุตรดิตถ์โมเดล. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์

ฉัตรนภา พรหมมา. (2561). รูปแบบการประเมินเสริมพลังการบริหารจัดการงานวิจัยและพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์กับชุมชนท้องถิ่น.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ณพัชร์วดี แสงบุญนำ. (2547). การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศโดยใช้หลักการ UML บนฐานข้อมูลเชิงวัตถุ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วจี ปัญญาใส. (2560). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรทุเรียนหลงลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สุณี สุทธิวานิช. (2549). การจัดทำระบบฐานข้อมูลแผนชุมชน สำหรับการบูรณาการการบริหารจัดการเชิงพื้นที่กรุงเทพฯ. โครงการจัดทำระบบฐานข้อมูลแผนที่ชุมชนสำหรับบูรณาการการบริหารจัดการเชิงพื้นที่. กรุงเทพฯ.

สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์ (2558). หลง – หลิน ลับแล มหัศจรรย์ทุเรียนเมืองอุตรดิตถ์ (ออนไลน์).
สืบค้นจาก: https://www.uttaradit.go.th/doc/turean_utt.pdf [15 มกราคม 2559]

อรพิน อริยะมงคลการ. (2544). ออกแบบและพัฒนาฐานข้อมูลแบบกระจายบนเว็บ สำหรับธนาคารโค-กระบือ ในโครงการพระราชดำริ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

อรสา สุกสว่างและคณะ. (2549).ระบบฐานข้อมูล GIS ด้านทรัพยากรพรรณไม้ในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ. จังหวัดสกลนคร.