ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดย่อยสลายทางชีวภาพของร้านอาหารในอำเภอเมืองเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดย่อยสลายทางชีวภาพของร้านอาหารในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารในอำเภอเมืองเชียงใหม่ที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ใช้หรือเคยใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดย่อยสลายทางชีวภาพ โดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 การศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อของร้านอาหาร จำนวนรวม 16 ราย แบ่งเป็น ผู้เคยใช้ จำนวน 8 ราย และผู้ไม่เคยใช้ จำนวน 8 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการเปรียบเทียบเหตุการณ์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่เคยใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดย่อยสลายทางชีวภาพ มีเหตุมาจากความต้องการของลูกค้า และทราบถึงอันตรายต่อผู้บริโภคในการใช้โฟมและพลาสติก ข้อดีจากคุณสมบัติ และคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ฯ ที่ส่งผลถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม โดยยอมรับว่าคุณประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคในระยะยาวคุ้มค่ากับราคาที่จะต้องลงทุนเพิ่มขึ้น ช่วยเสริมภาพลักษณ์ในด้านการใส่ใจสุขภาพของลูกค้า แต่บรรจุภัณฑ์มีข้อจำกัดด้านความแข็งแรง อ่อนตัวลงเมื่อบรรจุอาหารร้อน บางรายมีการเรียกเก็บค่าบรรจุภัณฑ์จากลูกค้า การกระจายสินค้ายังไม่ทั่วถึง หาซื้อยาก มีการรณรงค์ให้ใช้ในบางช่วงเวลา และเฉพาะในบางพื้นที่ เกิดการรู้จักในวงแคบ สำหรับผู้ไม่เคยใช้ ถึงแม้จะทราบถึงอันตรายต่อผู้บริโภคในการใช้โฟมและพลาสติก และข้อดีจากคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ฯ แต่มีราคาสูงกว่าโฟมและพลาสติกมาก รวมทั่งไม่สามารถบรรจุอาหารบางประเภทได้เพราะไม่คงรูป เมื่อบรรจุแล้วไม่เห็นอาหารภายใน ไม่ชวนให้รับประทาน เก็บรักษายาก อายุใช้งานสั้น เมื่อเก็บนานจะอ่อนตัวและมีสีเข้มขึ้น การเรียกเก็บเงินค่าบรรจุภัณฑ์จากลูกค้าบางรายก็ทำไม่ได้ หาซื้อบรรจุภัณฑ์ได้ยากเพราะไม่มีขายในร้านขายของชำทั่วไป การกระจายสินค้ายังไม่ทั่วถึง หาซื้อยาก มีการรณรงค์ให้ใช้ในบางช่วงเวลา และเฉพาะในบางพื้นที่ เกิดการรู้จักในวงแคบ (เช่นเดียวกับผู้เคยใช้)
ส่วนที่ 2 การศึกษาเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อของร้านอาหาร จำนวน 117 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่
ร้อยละ และค่าเฉลี่ย โดยปัจจัยภายในองค์การที่มีผลต่อการใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดย่อยสลายทางชีวภาพของร้านอาหารในอำเภอเมืองเชียงใหม่ เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย และปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน คือ ปัจจัยเฉพาะบุคคลของผู้ประกอบการหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม รองลงมาคือ ปัจจัยระหว่างบุคคล ด้านความสามารถในการจูงใจให้คนในองค์การเห็นถึงความสำคัญของบรรจุภัณฑ์อาหารชนิดย่อยสลายทางชีวภาพ ปัจจัยภายในองค์การ ด้านวัตถุประสงค์ด้านสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความต้องการของผู้บริโภคต่อการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตมาจากวัสดุธรรมชาติ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการใช้บรรจุภัณฑ์ชนิดย่อยสลายทางชีวภาพของร้านอาหารในอำเภอเมืองเชียงใหม่ เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย และปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบรรจุภัณฑ์มีความสะอาด ปลอดภัยในการใช้บรรจุอาหารเพื่อบริโภค รองลงมาคือ ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย ด้านสถานที่จำหน่ายบรรจุภัณฑ์หาได้ง่าย สะดวกในการเดินทางหรือติดต่อ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านมีโฆษณาสินค้าตามสื่อต่างๆ เช่น นิตยสารเกี่ยวกับอาหาร/สุขภาพ ข่าวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม/สุขภาพ และปัจจัยด้านราคา ด้านราคาของบรรจุภัณฑ์เหมาะสมกับคุณภาพ ตามลำดับ
Downloads
Article Details
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2557). “คพ. เผยปริมาณขยะโฟมพุ่งสูงเท่าตัว เฉลี่ย 61 ล้านใบต่อวันฝากประชาชนและทุกภาคส่วนแก้ไขปัญหาร่วมกัน”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.pcd.go.th/Public/News/GetNewsThai.cfm?task=lt2014&id=17237 (13 กรกฎาคม 2559)
กรมประชาสัมพันธ์. (2558). “อันตรายจากขยะโฟมที่มีผลต่อสุขภาพ” . [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://contentcenter.prd.go.th/contentviewfullpage.aspx?folder=941&subfolder=&contents=48686 (13 กรกฎาคม 2559)
เทศบาลนครเชียงใหม่. ( 2556). “สถานประกอบการและสถานบริการในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.cmcity.go.th/cmcity/index.php/th/s- menu-detail3-th/91-g-cmtomography-th/100-c-economic-th (21 พฤษภาคม 2559)
ไทยพับลิก้า. ( 2556). “หมอกับธุรกิจเพื่อโลกร้อน กล่องใส่อาหารจากชานอ้อย”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://thaipublica.org/2013/01/veerachat-grace/ (24 พฤษภาคม 2559)
ธธีร์ธร ธีรขวัญโรจน์. (2556). การตลาดบริการ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ.(2550). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS. กรุงเทพมหานคร : วี.อินเตอร์ พริ้นท์.
บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน). ( 2557). “รับประทานอาหารจากกล่องโฟมน่ากลัวกว่าที่คิด”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.gracz.co.th/th/life/15 (20 พฤษภาคม 2559)
ว่าที่ร้อยตรี ณัฐชัย เลิศมโนกุล. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อผู้ประกอบการร้านกาแฟสดในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ต่อการซื้อเมล็ดกาแฟคั่ว การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิเชียร จุ่งรุ่งเรืองกิจ.(2557). “ขยะโฟม ปัญหาที่ต้องแก้ไข”. [ออนไลน์]. แหล่งที่่มา https://ewt.prd.go.th/ewt/region4/ewt_news.php?nid=72369&filename=index (20 พฤษภาคม 2559)
วิวรณ์ วงค์อรุณ. (2554). การบริหารจัดการร้านอาหาร ที่ได้รับป้ายเชลล์ชวนชิม ในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี.
ร้านกวงยอดผัก. (2 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
ร้านมนต์นมสด. (2 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
อัจฉรา ไตรพิทักษ์ (4 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์ โรงแรมช้างเผือก
ร้านก๋วยเตี๋ยวคุณแป้ง (9 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
ร้านโนตโตะซูชิ (3 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
ร้านขนมจีนป้าไล (8 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
ร้านโวคาโน่เชียงใหม่ (3 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
ร้านอาหารแห่งหนึ่งถนนสุเทพ (3 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
ร้านอาหารเจแห่งหนึ่ง ตำบลช้างเผือก (4 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
ห้องอาหารโรงแรมแห่งหนึ่ง ตำบลช้างคลาน. (4 พฤศจิกายน 2559). สัมภาณ์
ร้านครัวพอเพียง (5 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
ร้านสุภัตรา (5 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
ร้านข้าวมันไก่แห่งหนึ่งบริเวณศาลากลางเก่า (9 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
ร้านอาหารเฮือนเพ็ญ (8 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
ร้านขนมหวานแห่งหนึ่ง (6 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
ร้านอาหารแห่งหนึ่งบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (7 พฤศจิกายน 2559). สัมภาษณ์
เวชสวรรค์ หล้ากาศ. (2560). กระบวนการสร้างถนนแอสฟัลติกคอนกรีตเพื่อลดปัญหา ขยะพลาสติกในชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 12(1), 41-53.
ศิริลักษณ์ สามหงส์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายทาง ชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม ของผู้ประกอบการร้านกาแฟสด ในเขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ . การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2538). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาศึกษา.
ศิวารัตน์ ณ ปทุม และคณะ. ( 2550). พฤติกรรมผู้บริโภคขั้นสูง. กรุงเทพมหานคร : พิฒเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.
ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร.( 2555). “บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ตอนที่1”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.foodnetworksolution.com/ (20พฤษภาคม 2559)
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2556). “ธุรกิจอาหารกล่องรองรับไลฟสไตล์พนักงานออฟฟิสและคนเมือง”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://oweera.blogspot.com/2013/10/ksme-analysis.html (20 พฤษภาคม 2559)
สมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย. (2558). “บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม”. [ออนไลน์].แหล่งที่มา https://www.thaipack.or.th/tpa_knowledge_detail.php?id=6 (20 พฤษภาคม 2559)
สิทธิกร แก้วราเขียว. (2554). ทัศนคติที่มีต่อบรรจุภัณฑ์อาหารจากชานอ้อยในอำเภอเมืองเชียงใหม่ . การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิริลักษณ์ มีธัญญากร. (2552). ปัจจัยที่พยากรณ์ความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ที่ใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม .การค้นคว้าแบบอิสระ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุพรรณี คงขำ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในจังหวัด สมุทรสาครในการซื้อโฟมบรรจุอาหาร .
การค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
หนังสือพิมพ์รังสิต.(2557). “บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติเพื่อชีวิตที่ยืนยาว”. [ออนไลน์].แหล่งที่มา https://www.jr-rsu.net/article/1306 (23พฤษภาคม 2559)
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2557). “คิกออฟ No โฟม สกัดกั้นสารก่อมะเร็ง สไตรีน”. [ออนไลน์].แหล่งที่มา https://www.thairath.co.th/content/448121 (23พฤษภาคม 2559)