ผลของการใช้คู่มือการจัดอาหารกลางวันสำหรับเด็กอนุบาล โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ เพชราวุธวิทยาในพระอุปถัมภ์ฯ

Main Article Content

อังคณา จารุพินทุโสภณ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสูตรอาหารกลางวันสำหรับเด็กอนุบาล โดยใช้รายการอาหารแลกเปลี่ยนสำหรับการสร้างคู่มือการจัดอาหารกลางวันสำหรับเด็กอนุบาล 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติก่อนและหลังการใช้คู่มือการจัดอาหารกลางวันสำหรับเด็กอนุบาล 3) เพื่อศึกษาการยอมรับอาหารกลางวันของเด็กอนุบาล 4) เพื่อประเมินผลการใช้คู่มือการจัดอาหารกลางวันสำหรับเด็กอนุบาล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 56 คน เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 1-3 จำนวน 199 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสังเกตแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบทางสถิติด้วยค่าที (Paired t-test) 


ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสูตรอาหารกลางวันสำหรับเด็กอนุบาลกำหนดรายการอาหาร 20 มื้อเป็นเวลา 4 สัปดาห์ มีปริมาณพลังงาน 381.88±9.83 กิโลแคลอรี มีโปรตีน 14.25±1.56 กรัม ไขมัน 14.48±2.67 กรัม คาร์โบไฮเดรต 46.13±5.74 กรัม จากหมวดข้าวแป้ง 1.5-2 ส่วน หมวดผัก 0.5-1.5 ส่วน หมวดเนื้อสัตว์ 1-2 ส่วน หมวดไขมัน 1-2 ส่วนและหมวดผลไม้ 0.5-2 ส่วน  2) ผลการศึกษาเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการจัดอาหารกลางวันของผู้มีส่วนร่วมในการจัดอาหารกลางวันสำหรับเด็กอนุบาล พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 5.50±1.01 เป็น 8.30±1.76, 39.48±3.54 เป็น 43.75±3.22 และ 8.34±2.19 เป็น 10.91±1.16 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 3) ผลการยอมรับอาหารกลางวันของเด็กอนุบาล พบว่า บะหมี่หมูแดงได้รับการยอมรับในระดับมากคะแนนเฉลี่ย 2.37 รองลงมาคือ ข้าวผัดไส้กรอกกับซุปมันฝรั่งหมูปั้นและราดหน้าเส้นใหญ่บล็อกโคลี่หมู ได้รับการยอมรับในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 2.28 และ 1.98 ตามลำดับ 4) ผลการประเมินจากผู้ใช้คู่มือที่เข้าร่วมกิจกรรมในการอบรมเชิงปฏิบัติการจัดอาหารสำหรับเด็กอนุบาล ในด้านเนื้อหาวิชาการและการนำไปใช้ประโยชน์และความเหมาะสมด้านเทคนิคการผลิตมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี (4.42±0.63) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าคู่มือการจัดอาหารกลางวันสำหรับเด็กอนุบาล โดยใช้หลักการคำนวณปริมาณสารอาหารและพลังงานจากรายการอาหารแลกเปลี่ยน ได้อย่างถูกต้องตามหลักโภชนาการ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุติมา ศิริกุลชยานนท์. (2556). แม่ครัวอนามัย...หัวใจรักเด็ก เคล็ด (ไม่ลับ) กับการบริหารอาหารในโรงเรียน เพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทมีเดีย มาร์เก็ตติ้ง.

ณัฏฐิรา ทองบัวศิริไล. (2553). คู่มือการบริหารจัดการอาหารในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทมีเดีย มาร์เก็ตติ้ง.

ทิพวรรณ ดวงปัญญา, ทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณและอำพร แจ่มผล. (2553). โครงการนำร่องศึกษาพฤติกรรมการบริโภคในเด็กก่อนวัยเรียนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อปัญหาโรคอ้วนในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48. วันที่ 3-5 กุมภาพันธ์ 2553 (หน้า 25-32) ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

ธัญลักษณ์ สุวรรณโณและอุทัย ธารมรรค. (2551). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาล จังหวัดราชบุรี. วารสารพยาบาล สาธารณสุข. ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2551, หน้า 30-44.

รวิภา ยงประยูร. (2560). การบูรณาการการเรียนการสอนเพื่อพัฒนางานวิชาการรับใช้สังคมอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม ธันวาคม 2560, หน้า 9-13.

ลัดดา เหมาะสุวรรณ. (2555). เรื่องเล่าโภชนาการ พัฒนาเด็กไทยเติบใหญ่มีคุณภาพ. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

วันดี ไทยพานิช. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางคหกรรมศาสตร์ Introduction to Research Methodology in Home Economics. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิรินทร์ยา พูลเกิด, สุลัดดา พงษ์อุทธาและพเยาว์ ผ่อนสุก. (2557). การพัฒนานโยบายส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กในโรงเรียน เมืองโฮจิมินห์ เวียดนาม. ใน การประชุมประจำปี แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 2 “การจัดการอาหารโรงเรียน” วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 (หน้า 11-12) ณ โรงแรมดุสิต ปริ้นเซส ศรีนครินทร์ กรุงเทพมหานคร.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้ ...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย” วันที่ 6-8 พฤษภาคม 2557 (หน้า 8-13) ณ อาคารฟอรั่ม อิมแพค เมืองทองธานี. นนทบุรี : โรงพิมพ์สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน.

สุขุม เฉลยทรัพย์. (2555). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยของสถานศึกษาในประเทศไทย. สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

สุปราณี พรหมดี, สุจิตร สุมนนอก, วรรณทัศน์ อิงไธสง, สันทนีย์ สุนทรสุขและสุภา บัณฑิตพรหมชาติ. (2554). กระบวนการปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของอาหารกลางวัน ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพขนาดใหญ่ กลางและเล็ก สังกัดเทศบาลนครนครราชสีมา ประเทศไทย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 5. มกราคม – มิถุนายน 2554, หน้า 44-62.

อุไรพร จิตต์แจ้ง อรพินท์ บรรจง พัศมัย เอกก้านตรงและกมลนิตย์ ปีมณี. (2555). หลักการจัดสำรับอาหาร ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียน. นครปฐม: สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล.