การพัฒนาเกมคลายเครียดและบริหารสมองสำหรับผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลคลองด่าน THE DEVELOPMENT OF STRESS RELIEVING AND BRAIN EXERCISE GAMES FOR THE ELDERLY PEOPLE AT KLONG DAN SUB-DISTRICT MUNICIPALITY SCHOOL FOR THE ELDERLY PEOPLE
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเกมคลายเครียดและบริหารสมองสำหรับผู้สูง อายุโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลคลองด่าน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อเกมคลายเครียดและบริหารสมองสำหรับผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลคลองด่าน การดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยพัฒนาเกมคลายเครียดและบริหารสมองสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 3 เกม ได้แก่เกมจับคู่ เกมคณิตคิดสนุก และเกมท้าทายความจำ ใช้วิธีการพัฒนาระบบตามวงจรพัฒนาระบบงาน (SDLC) ใช้ภาษาโปรแกรม HTML CSS JavaScript และ PHP ในการพัฒนาแอปพลิเคชันเกม ใช้โปรแกรม MySQL ในการจัดการฐานข้อมูล ใช้ Bootstrap Framework ในการจัดรูปแบบการแสดงผลเกมบนเบราว์เซอร์ (Web Browser) ในรูปแบบ Responsive Web Design การพัฒนาเกมคลายเครียดและบริหารสมองสำหรับผู้สูงอายุนี้ได้ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินประสิทธิภาพของระบบแล้วพบว่ามีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 โดยให้กลุ่มตัวอย่างทำการทดลองเล่นเกมและเก็บข้อมูลการประเมินความ พึงพอใจ
ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาเกมคลายเครียดและบริหารสมองสำหรับผู้สูงอายุทั้ง 3 เกม มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.86 (=3.86) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.74 (S.D.=0.74) ในภาพรวมการพัฒนาเกมมีความหมาะสมกับผู้สูงอายุ ทั้ง 3 เกม มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดี ซึ่งค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.91 (
=3.91) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75 (S.D.=0.75) 2) ความพึงพอใจต่อการเล่นเกมคลายเครียดและบริหารสมองสำหรับผู้สูงอายุทั้ง 3 เกม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ซึ่งค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.86 (
=3.86) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73 (S.D.=0.73) ในภาพรวมผู้เล่นสามารถคลายเครียดกับการเล่นเกมได้ ทั้ง 3 เกม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ซึ่งค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.91 (
=3.91) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72 (S.D.=0.72) และในภาพรวมผู้เล่นสามารถนำไปฝึกบริหารสมองในชีวิตประจำวันได้ ทั้ง 3 เกม มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับดี ซึ่งค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.98 (
=3.98) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.76 (S.D.=0.76)
Article Details
References
กรกนก นาเครือ และ บุษบา แพงบุปผา. เกมฝึกสมองสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงสมองเสื่อม. (รายงานการวิจัย). ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 5.
กรมอนามัย. (2561). คู่มือการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและป้องกันภาวะสมองเสื่อมสําหรับเจ้าหน้าที่ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่ซึมเศร้า กินข้าวอร่อย”. กรุงเทพฯ: สํานักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์ และ ประภากร ศรีสว่างวงศ์. (2563). พัฒนาโมบายแอพพลิเคชันแนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(2), 230-239.
วันเฉลิม พรหมศร, บุญชู บุญลิขิตศิริ และ ปรัชญา แก้วแก่น. (2563). การออกแบบแอปพลิเคชันเกมส์ออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทยใช้ป้องกันภาวะสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 38(4), 21 – 41.
สมาน ลอยฟ้า. (2554). ผู้สูงอายุกับเทคโนโลยีสารสนเทศ. วารสารสนเทศศาสตร์, 29(2), 57-58.
อานนท์ บัวศรี. (2558). พัฒนาเกมบนบราวเซอร์ เพื่อลดความเครียดในผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
Marketeer Team. (2022). ผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566, จาก https://marketeeronline.co/archives/272771.
World Health Organization. (2010). Home-based long-term care. In Report of a WHO Study Group: Home – Based Long – Term Care. Geneva: World Health Organization.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introduction analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.