การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟีนอลิก สารประกอบฟลาโวนอยด์ ของตำรับยาศุขไสยาศน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟีนอลิก สารประกอบฟลาโวนอยด์ของสารสกัดหยาบตำรับยาศุขไสยาศน์ โดยนำมาสกัดผ่านตัวทำละลาย 2 ชนิด คือ น้ำและเอทานอลร้อยละ 95 จากนั้นนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH assay และ ABTS Assay โดยการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วย DPPH assay พบว่าสารสกัดหยาบในตัวทำละลายน้ำมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดรองลงมาคือ สารสกัดหยาบในตัวทำละลาย เอทานอลร้อยละ 95 ซึ่งมีค่า IC50 เท่ากับ 1.67 ± 0.32 และ 4.60 ± 0.02 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อนำมาทดสอบด้วยวิธี ABTS Assay พบว่าสารสกัดหยาบในตัวทำละลายน้ำมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดรองลงมาคือสารสกัดหยาบในตัวทำละลายเอทานอลร้อยละ 95 ซึ่งมีค่า IC50 เท่ากับ 2.56 ± 0.02 และ 5.23 ± 0.02 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสาร L-ascorbic acid และ Trolox เป็นสารละลายมาตรฐาน การวิเคราะห์หาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม (Total phenolic content) ในสารสกัดหยาบตำรับยาศุขไสยาศน์ พบว่าตัวทำละลายเอทานอลร้อยละ 95 มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกสูงสุด รองลงมาคือสารสกัดหยาบในตัวทำละลายด้วยน้ำ เท่ากับ 47.66 ± 5.57 และ 41.52 ± 5.54 กรัมแกลลิก ต่อ 100 กรัมของสารสกัด ตามลำดับ และผลการศึกษาปริมาณสารประกอบฟลาโวนอยด์รวม (Total Flavonoid content) เมื่อเทียบกับกราฟสารละลายมาตรฐาน Quercetin พบว่าสารสกัดหยาบในตัวทำละลายเอทานอลร้อยละ 95 มีปริมาณสารประกอบ ฟลาโวนอยด์สูงสุด รองลงมาคือสารสกัดหยาบในตัวทำละลายน้ำเท่ากับ 4.56 ± 0.46 และ 3.69 ± 0.12 กรัม เควอซิตินต่อ 100 กรัมของสารสกัด ตามลำดับ
Article Details
References
กรรณิการ์ พุ่มทอง, จินตนา จุลทรรศน์, พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ และ ศรัณย์ ฉวีรักษ์. (2562). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารฟีนอลิกในสมุนไพรและตำรับยาพื้นบ้านเพื่อลดภาวะของแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 8(1), 8-16.
กุลิสรา อุ่นเจริญ และ วัลลภา ลีลานันทกุล. (2565). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบของสารสกัดตำรับประสะขมิ้นอ้อยและสมุนไพรในตำรับ. วารสารสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น. 4(2), 226-238.
ชารินันท์ แจ้งกลาง, ศุภรัตน์ ดวนใหญ่, วรกานต์ โสมี, สิริภา ทมตะขบ และ ภัสศรี แสงสาย. (2565). การศึกษาปริมาณสารฟีนอลิก ปริมาณสารฟลาโวนอยด์และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดสมุนไพร. วารสารหมอยาไทยวิจัย. 8(1), 93-106.
ตำราคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัยและการวินิจฉัย. (2542). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อุษาการพิมพ์.
ณัชชา เต็งเติมวงศ์. (2564). ประสิทธิผลและความปลอดภัยของตำรับยาสมุนไพรศุขไสยาศน์ในโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง : การศึกษาย้อนหลังเบื้องต้นในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 19(2), 331-343.
นกน้อย ชูคงคา, ธัญวรัตน์ พานแก้ว, ณกัญญา พลเสน และ ทรงศิลป์ พจน์ชนะชัย. (2554). สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของผักพื้นบ้าน 3 ชนิด. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 42(3), 339-342.
บุหรัน พันธุ์สวรรค์. (2556). อนุมูลอิสระสารต้านอนุมูลอิสระและการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 21(3), 275-286.
ศิราภรณ์ มหาโคตร, สุจารี พนมเขต, บรรลือ สังข์ทอง, วิกิต ประกายหาญ และ กฤษณ์ พงษ์พิรุฬห์. (2561). ภูมิปัญญาพื้นบ้านการใช้สมุนไพรรักษาโรคแผลเปื่อยในช่องปาก : กรณีศึกษาจังหวัดกาฬสินธุ์. น. 104-112. ใน: การประชุมวิชาการนำเสนอประสบการณ์และงานวิจัยการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสุขภาพ ครั้งที่ 1. วันที่ 6-8 มิถุนายน 2561. กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, นนทบุรี.
สุชาดา มานอก และ ปวีณา ลิ้มเจริญ. (2558). การวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH, ABTS และ FRAP และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดของสารสกัดสมุนไพรในตำรับยาหอมเทพจิตร. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 15(1), 106-117.
สุมิตา นิยมเดชา. (2564). การศึกษาสารพฤกษเคมี ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และวิธีการแยกสารสำคัญในกัญชาเพื่องานทางนิติวิทยาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
สำนักงานคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. (2544). กรมการพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คัมภีร์ธาตุพระนารายณ์ฉบับใบลาน (ตำรับพระโอสถพระนารายณ์). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์กรุงเทพ.
Adwas, A. A., Elsayed, A., Azab, A. E., & Quwaydir, F. A. (2019). Oxidative stress and antioxidant mechanisms in human body. Journal of Applied Biology and Biotechnology, 6(1), 43-47.
Ainsworth, E. A., & Gillespie, K. M. (2007). Estimation of total phenolic content and other oxidation substrates in plant tissues using Folin–Ciocalteu reagent. Nature protocols, 2(4), 875-877.
Arung, E. T., Kusuma, I. W., Purwatiningsih, S., Roh, S. S., Yang, C. H., Jeon, S., & Kondo, R. (2009). Antioxidant activity and cytotoxicity of the traditional Indonesian medicine Tahongai (Kleinhovia hospita L.) extract. Journal of acupuncture and meridian studies, 2(4), 306-308.
Atanassova, M., Georgieva, S., & Ivancheva, K. (2011). Total phenolic and total flavonoid contents, antioxidant capacity and biological contaminants in medicinal herbs. Journal of the University of Chemical Technology and Metallurgy, 46(1), 81-88.
Dinagaran, S., Sridhar, S., & Eganathan, P. (2016). Chemical composition and antioxidant activities of black seed oil (Nigella sativa L.). International Journal of Pharmaceutical Sciences and Research, 7(11), 4473.
Gogoi, B., Bordoloi, M., & Sharma, H. K. (2023). Ethnomedicinal, phytochemistry, pharmacological, and clinical uses, of Cinnamomum bejolghota (Buch.-Ham.) Sweet. Journal of Herbal Medicine, 100721.
Li, Y. R., Fu, C. S., Yang, W. J., Wang, X. L., Feng, D., Wang, X. N., & Shen, T. (2018). Investigation of constituents from Cinnamomum camphora (L.) J. Presl and evaluation of their anti-inflammatory properties in lipopolysaccharide-stimulated RAW 264.7 macrophages. Journal of ethnopharmacology, 221, 37-47.
Martin-Santos, R., Crippa, J. A., Batalla, A., Bhattacharyya, S., Atakan, Z., Borgwardt, S., Allen, P., Seal, M., Langohr, K., Farré, M., Zuardi, A. W., & McGuire, P. K. (2012). Cute effects of a single, oral dose of d9-tetrahydrocannabinol (THC) and cannabidiol (CBD) administration in healthy volunteers. Current pharmaceutical design, 18(32), 4966-4979.
Ozsoy, N., Yilmaz, T., Kurt, O., Can, A., & Yanardag, R. (2009). In vitro antioxidant activity of Amaranthus lividus L. Food chemistry, 116(4), 867-872.
Okuda, T., & Ito, H. (2011). Tannins of constant structure in medicinal and food plants-hydrolyzable tannins and polyphenols related to tannins. Molecules, 16(3), 2191-2217.
Stasiłowicz-Krzemien, A., Sip, S., Szulc, P., Walkowiak, J., & Cielecka-Piontek, J. (2023). The antioxidant and neuroprotective potential of leaves and inflorescences extracts of selected hemp varieties obtained with scCO2. Antioxidants, 12(10), 1827.