ระบบจัดการสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ภูพาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ภูพาน 2) พัฒนาระบบจัดการสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ภูพาน 3) ประเมินประสิทธิภาพของระบบจัดการสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ภูพาน และ 4) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้ระบบจัดการสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ภูพาน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 402 คน ประกอบด้วย หัวหน้าพิพิธภัณฑ์ภูพาน 1 คน เจ้าหน้าที่ประจำพิพิธภัณฑ์ภูพาน 5 คน นักท่องเที่ยว 396 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเนื้อหาใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการสารสนเทศพิพิธภัณฑ์ภูพานพบว่า พิพิธภัณฑ์ภูพานไม่มีเว็บไซต์เฉพาะของหน่วยงาน การประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมผ่านเฟสบุ๊ค ปัญหาของพิพิธภัณฑ์ภูพาน มีอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีไม่เพียงพอ ไม่มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและงบประมาณไม่เพียงพอ และมีความต้องการนำสารสนเทศโซนนิทรรศการนำเสนอในรูปแบบเว็บไซต์ 2) ผลการพัฒนาระบบแบ่งเป็น 3 ส่วนคือส่วนผู้ดูแลระบบทำหน้าที่จัดการข้อมูลประชาสัมพันธ์ ข้อมูลโซนจัดแสดง การจองพิพิธภัณฑ์ ส่วนสมาชิกสามารถดูข่าวประชาสัมพันธ์ ข้อมูลโซนนิทรรศการ จองและดูผลการจองคิวชมพิพิธภัณฑ์ และส่วนผู้ใช้ทั่วไปสามารถดูข่าวประชาสัมพันธ์ ข้อมูลโซนนิทรรศการ และสมัครสมาชิก 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.80, S.D.=0.55) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านรักษาความปลอดภัย ( =4.93, S.D.= 0.15) 4) ผลการประเมินความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.=0.38) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ ( =4.60, S.D.=0.56)
Article Details
References
กวิน งามจินดาวงศ์, ชาวี บุษยรัตน์ และ กิตติศักดิ์ อาภรณ์วิชานพ. (2562). การออกแบบระบบนําาเสนอข้อมูลโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีที่ผสานโลกจริงเข้ากับโลกเสมือน: กรณี ศึกษาโบราณสถานปราสาทเขาโล้น จังหวัดสระแก้ว. วิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 16(2), 13-30.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
เจริญ รุ่งกลิ่น, ธนวัฒน์ ชินสำราญวงศ์, กิตติภูมิ แซ่ลิ้ม และ รามิลศร เชาว์ช่าง. (2562). การพัฒนาเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เมืองหาดใหญ่แบบเสมือนจริง. น. 687-698. ใน: การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10. วันที่ 12 – 13 กรกฎาคม 2562. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564). มนุษย์วิทยาคลื่นวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และโลกดิจิทัล. กรุงเทพ: ศูนย์มนุษย์วิทยาสิรินธร (องค์กรมหาชน).
ปรีดี ปลื้มสำราญกิจ และ ฟ้า วิไลขำ. (2561). พิพิธภัณฑ์: แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. ห้องสมุด, 62(1), 43-67.
พระครูสิริธรรมบัณฑิต, ณฤณีย์ ศรีสุข, อนุกูล ศิริพันธ์ และ บุษกร วัฒนบุตร. (2564). การจัด การพิพิธภัณฑ์ชุมชนในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของจังหวัดลำปาง. ปัญญา, 28(2), 29–44.
ยลพรรณ รอดรักบุญ, เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง และ อภิสักก์ สินธุภัค. (2561). การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์วังสวนผักกาด. มหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(3), 90-104.
สิรวิชญ์ สงวนศรี, ธนกร เพ็งกระจ่าง, นวัตรกร โพธิสาร และ วินิต ยืนยิ่ง. (2567). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์. วิศวกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2(4), 35–43.
อนาวิล แก้วสอาด และ ณัฐวี อุตกฤษฏ์. (2564) แนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเมอร์ระดับองค์กร. สถาบันการป้องกันประเทศ, 12(1), 6-20.
อมลรดา ยุตาคม. (2563). การศึกษาลักษณะพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงที่ส่งผลต่อความสนใจของ Gen Y และ Gen Z ระหว่างสถานการณ์โควิด 19. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
Wixom, B. H., & Roth, R. M. (2014). Systems analysis and design. (6th ed.). New York: John Wiley.