การพัฒนาขนมขบเคี้ยวสุนัขจากโปรตีนหนอนแมลงวันลายระยะก่อนเข้าดักแด้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการพัฒนาขนมขบเคี้ยวสุนัขจากโปรตีนหนอนแมลงวันลายระยะก่อนเข้าดักแด้ ผู้วิจัยทำการศึกษาสูตรอาหารพื้นฐานที่มีการเสริมแหล่งโปรตีนที่เหมาะสมที่สุด พบว่า มีค่า aw เท่ากับ 0.33 ความชื้นเท่ากับ 4.08 ผลการวิเคราะห์ค่าสี L* (ความสว่าง) เท่ากับ 53.56 ค่า a* (สีแดง) เท่ากับ 7.17 และค่า b* (สีเหลือง) เท่ากับ 22.50 ค่าความแข็งเท่ากับ 2376 และค่าความแตกหักเท่ากับ 1674 โดยปริมาณหนอนแมลงวันลายทดแทนโปรตีนในอาหารสุนัข 15% มีลักษณะทางกายภาพเหมาะสมสุด พบว่ามีค่า aw เท่ากับ 0.38 ค่าความชื้นเท่ากับ 2.14 ผลการวิเคราะห์ค่าสี L* (ความสว่าง) เท่ากับ 41.26 ค่า a* (สีแดง) เท่ากับ 3.02 และค่า b* (สีเหลือง) เท่ากับ 9.16 ค่าความแข็งเท่ากับ 4035 และค่าความแตกหักเท่ากับ 3177 และมีองค์ประกอบทางเคมี ความชื้น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เถ้า เส้นใยเท่ากับ 1.13, 40.56, 40.56, 8.66, 9.29 และเส้นใยเท่ากับ 1.18% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับสูตรอาหารสุนัขพื้นฐาน โดยขนมขบเคี้ยวสุนัขจากผงโปรตีนหนอนแมลงวันลาย มีมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหารตามมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ และมาตรฐานโลหะหนักตกค้าง
Article Details
References
กรมปศุสัตว์. (2556). หลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับอาหารสัตว์เลี้ยง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. 18 หน้า.
เฉลิมพร จิระปัญญาเลิศ และ ศิริจรรยา อายุมั่น. (2565). ผลการใช้หนอนแมลงวันลายต่อสมรรถภาพการผลิตของนกกระทาญี่ปุ่น. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร, 6(2), 23-29.
ชนิดา เกตุแก้ว. (2564). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารสุนัขสำเร็จรูประดับพรีเมี่ยม ใน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
ชมภู่ ยิ้มโต. (2550). การถนอมอาหาร. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ดุษฎี อุตภาพ. (2562). เคมีและสมบัติของแป้ง. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566, จาก https://eu.lib.kmutt.ac.th/elearning/Courseware/BCT611/chapter2.html.
ปิยนาถ รวมทรัพย์, เสาวณีย์ เลิศวรสิริกุล, หทัยรัตน์ ริมคีรี และ ธงชัย สุวรรณสิชณน์. (2549). การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยวสาหรับสุนัขเพื่อขัดหินปูน. น. 316-323. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 : สาขาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจ. 30 ม.ค.-2 ก.พ. 2549. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พรพิมล เชื้อดวงผุย และ เสาวคนธ์ วัฒนจันทร์. (2555). ปริมาณโลหะหนัก (ตะกั่ว แคดเมียม ทองแดง และสังกะสี) ในสัตว์ทะเลเศรษฐกิจบางชนิดบริเวณแหล่งทำการประมง อำเภอละงู จังหวัดสตูล. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พรพล รมย์นุกูล. (2542). การถนอมอาหาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ภัทราวดี วัฒนสุนทร และ จินตนา อมรสงวนสิน. (2559). การตรวจวิเคราะห์การตกค้างของสารกําจัดศัตรูพืชและสัตว์ในตัวอย่างดินจากนาข้าวในพื้นที่จังหวัดชัยนาท. วารสาร วิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 246-258.
รัตนา เตียงทิพย์, พิมลวรรณ โภคาพันธ์ และ สุมาลี คอนโด. (2564). การตรวจสอบคุณภาพทางจุลินทรีย์ในอาหารพร้อมบริโภคจากโรงอาหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 29(6), 1021-1031.
ศิรพรรณ สุคนธสิงห์. (2561). อาหารสุนัขและแมวแบบทำได้เอง. คณะเทคนิคการสัตวแพทย์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริลักษณ์ นามวงษ์. (2565). ผลิตภัณฑ์ขนมสุนัขเสริมโพรไบโอติกและเส้นใยอาหาร. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
AOAC. (2012). Official Method of Analysis: Association of Analytical Chemists. 19th Edition, Washington DC.
Bessa, L. W., Pieterse, E., Marais, J., & Hoffman, L. C. (2020). Why for feed and not for human consumption? the black soldier fly larvae. Comprehensive Reviews in Food Science and Food Safety, 19(5), 2747–2763.
Case, L. P. & Czarnecki-Maudlen, G. L. (1990). Protein requirements of growing pups fed practical dry-type diets containing mixed-protein sources. American Journal of Veterinary Research, 51, 808–812.
Cullere, M., Tasoniero, G., Giaccone, V., Miotti-Scapin, R., Claeys, E., De Smet, S., & Dalle Zotte, A. (2016). Black soldier fly as dietary protein source for broiler quails: apparent digestibility, excreta microbial load, feed choice, performance, carcass and meat traits. Animal, 10(12), 1923–1930.
Lu, S., Taethaisong, N., Meethip, W., Surakhunthod, J., Sinpru, B., Sroichak, T., Archa, P., Thongpea, S., Paengkoum, S., & Purba, R. A. P. (2022). Nutritional composition of black soldier fly larvae (Hermetia illucens L.) and its potential uses as alternative protein sources in animal diets: a review. Insects, 13, https://doi.org/10.3390/insects13090831.
Merlin, M., Guintard, C., Monchâtre-Leroy, E., Barrat, J., Bausmayer, N., Bausmayer, S., Bausmayer, A., Beyer, M., Varlet, A., Houssin, C., Callou, C., Cornette, R., & Herrel, A. (2020). Bite force and its relationship to jaw shape in domestic dogs. Journal of Experimental Biology, 223(16), 224-229.
Purnamasar, L., & Khasanah, H. (2022). Black Soldier Fly (Hermetia illucens) as a Potential agent of organic waste bioconversion. ASEAN Journal on Science & Technology for Development, 39(2), 69-83.
Shah, A. A., Totakul, P., Matra, M., Cherdthong, A., Hanboonsong, Y., & Wanapat, M. (2022). Nutritional composition of various insects and potential uses as alternative protein sources in animal diets. Animal Bioscience, 35, 317-331.
Stamer, A., Wesselss, S., Neidigk, R., & Hoerstgen-Schwark, G. (2014). Black Soldier Fly (Hermetia illucens) larvae-meal as an example for a new feed ingredients’ class in aquaculture diets. In: Proceedings of the 4th ISOFAR Scientific Conference, 13-15 October 2014, Istanbul, Turkey. 1043-1046.
Wang, Y. S., & Shelomi, M. (2017). Review of black soldier fly (Hermetia illucens) as animal feed and human food. Foods, 6(10), 91-99.