การออกแบบและสร้างระบบไฮโดรโปนิกส์สำหรับแตงโมที่สังเคราะห์แสงเทียม

Main Article Content

นิติพงษ์ สมไชยวงค์
ธนวรรธน์ วงศ์ขัติย์
วัชราพร ยศมาน

บทคัดย่อ

                งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบควบคุมสารละลายอัตโนมัติ สําหรับแปลงปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ และเลือกใช้แตงโม (WATERMELON) ในการทดสอบ เนื่องจากการปลูกในระบบโรงเรือนได้ผลผลิตดี และได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ตลาดให้ความสนใจ และยังลดการใช้สารเคมี กำจัดแมลง โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช และสารละลายสำหรับปรับค่า pH 2) ออกแบบชุดควบคุมสารละลายอัตโนมัติ 3) ชุดควบคุมการให้แสงแก่ต้นแตงโม ในช่วงวันที่ 15–60 วันของระยะการปลูก โดยดำเนินการวัดและส่งค่า EC และ pH ในแปลงปลูกไปยังไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อเปรียบเทียบกับค่า
ที่ต้องการควบคุม โดยได้แบ่งเป็น 3 ช่วง คือช่วงที่ 1 วันที่ 1–7 ทำการควบคุมค่า EC ให้อยู่ในช่วง 0.50–1.00 mS/cm ช่วงที่ 2 วันที่ 8–14 ทำการควบคุมค่า EC ให้อยู่ในช่วง 1.10–1.60 mS/cm และช่วงที่ 3 วันที่ 15–60 วัน ทำการควบคุมค่า EC ให้อยู่ในช่วง 1.70–2.40 mS/cm และ pH ของสารละลายที่อยู่ในระบบให้เหมาะสมอยู่ที่ 5.5–6.5 กับตลอดระยะเวลาการปลูก และได้เพิ่มการให้แสงขนาด 90 lux ในช่วงเวลา 22.00–01.00 น. ในช่วงวันที่ 15–60 ผลจากการทดลองพบว่า ระบบวัดและควบคุมสารละลาย pH และ สารละลาย EC สามารถทำงานได้ตรงตามเงื่อนไขที่ได้ทำงานออกแบบไว้ 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558). การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์. กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์: สำนักพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

เขมิกา เกลี้ยงไธสง และ กฤตติกา แสนโภชน์. (2564). แนวทางการลดต้นทุนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัย ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(2), 86-96.

จารุกิตติ์ สายสิงห์ และ โกวิทย์ แสนพงษ์. (2563). การพัฒนากระเช้าปลูกผักสลัดอัจฉริยะ. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 6(1), 38-47.

ดิเรก ทองอร่าม. (2550). การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน : หลักการจัดการการผลิตและเทคโนโลยีการผลิตเชิงธุรกิจในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จํากัด (มหาชน).

นพพล เชาวนกุล, ก้องภพ ลาลุน และ ชนาธิป บุตรบุญ. (2561). ระบบควบคุมค่าความเป็นกรด-ด่างและอุณหภูมิของสารอาหารอัตโนมัติสำหรับการปลูกผักวิธีไฮโดรโปนิกส์ผ่านแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(1), 67-72.

ยิ่งสวัสดิ์ ไชยะกุล. (2563). วิธีคำนวณแสงสว่างโดยวิธีลูเมนอย่างง่ายสำหรับโคมกระจายแสง. Journal of Architectural/Planning Research and Studies, 18(1), 83-98.

สุวรรณ ภู่เชย, ธนโชติ ทับชาวนา, กิตติพงษ์ มาตรักชาติ และ เดือนแรม แพ่งเกี่ยว. (2563). ตู้ควบคุมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยแสงเทียมและเทคโนโลยีนาโนบับเบิ้ล. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 3(2), 1-10.