ระบบสร้างใบรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมที่สามารถตรวจสอบได้

Main Article Content

พิชญ์ ตั้งสมบัติวิจิตร

บทคัดย่อ

            หนึ่งในเอกสารที่สำคัญของนักศึกษายุคปัจจุบันคือใบรับรองการเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งอาจถูกใช้ในกิจกรรมที่หลากหลายรูปแบบ กิจกรรมที่นักศึกษานิยมใช้เป็นหลักฐานในการพิจารณาคุณสมบัติของนักศึกษาในการสมัครเข้าศึกษาต่อหรือเข้าทำงาน คือ ใบรับรองผลการร่วมกิจกรรมหรือผลการแข่งขันทางวิชาการ แต่หน่วยงานที่จัดกิจกรรมในปัจจุบันนิยมออกใบรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบดิจิทัลซึ่งถูกปลอมแปลงได้ง่าย และตรวจสอบความเป็นต้นฉบับได้ยาก วิธีการที่ผ่านมาใช้วิธีการส่งใบรับรองผ่านทางอีเมลซึ่งเป็นวิธีการที่ส่งมอบการตรวจสอบได้ยาก หรือใช้วิธีเก็บข้อมูลการตรวจสอบไว้ที่ระบบสารสนเทศของผู้จัดกิจกรรมซึ่งเป็นภาระของผู้จัดกิจกรรมที่ต้องออนไลน์ระบบไว้ตลอดเวลา ซึ่งไม่เหมาะกับใบรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมที่ไม่ทราบว่าผู้เข้าร่วมต้องการตรวจสอบเมื่อใด ดังนั้น งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการออกใบรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ผู้วิจัยเสนอวิธีการสร้างใบรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมที่เชื่อถือได้โดยเก็บหลักฐานการตรวจสอบไว้ในแฟ้มข้อมูลเพื่อให้มีผลทางกฎหมาย และส่งให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นหลักฐานได้โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับระบบของผู้จัดกิจกรรม ระบบสร้างใบรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 2 กิจกรรมให้กับนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 1,151 คนจาก 8 โรงเรียน ระบบที่ผ่านการประเมินประสิทธิภาพระบบจากผู้เชี่ยวชาญได้ระดับ 4.75 คะแนนอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยม ผู้วิจัยทดสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยคำนวณค่าแอลฟาของครอนบาคได้ 0.73 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุษบา สังข์วรรณะ และ กาญจนา เทพสร. (2563). การพัฒนาระบบบันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมด้วย AR Code. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ. 4(1), 33-42.

เปรมปวีร์ ศรีวัชรวิชญ์. (2564). การศึกษาระบบตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรมของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 35(124), 121-134.

ภูมิภวิชญ์ ทิพย์ธีรเศวต. (2565). ปัญหาและความต้องการของนักศึกษาต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารศิลปศาสตร์ มทร. กรุงเทพ, 4(2), 11-24.

มนต์สวรรค์ พลอยมุกดา, ชนกฤต มิตรสงเคราะห์, แพรว พินพ์โพธิ์ และ วรากร ราชธา. (2565). ระบบสาระสนเทศจัดการกิจกรรมนักศึกษากรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 11(2), 274-287.

วุฒิพงษ์ ชินศรี และ วิไลลักษณ์ ตรีพืช. (2564). การพัฒนาระบบบริหารการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคาท์. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(2), 43-56.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). ขมธอ. 11-2560 การจัดทำหนังสือรับรองในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เวอร์ชัน 1.0 (Electronic Certificte) [online]. Retrieved May 13, 2023, from https://standard.etda.or.th/?smd_process_download=1& download_id=7171.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ. (2544). คำอธิบายพระราชบัญญิตว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544. ศูนย์เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. บริษัท พาณิชพระนคร (2535) จำกัด.

อธิมาตร เพิ่มพูน, วันชัย สุขตาม และ จิรายุ ทรัพย์สิน. (2563). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร, วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 43-56.

อภินันท์ ขันแข็ง, ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์ และ พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). การพัฒนาระบบสาระสนเทศการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 14(1), 69-75.

Cloudflare Inc. (2022). Cloudflare Tunnel. [online]. Retrieved May 13, 2023, from https://developers.cloudflare.com/cloudflare-one/connections/connect- apps.

Gleeda Software LLC. (2022). Certify’em. [online]. Retrieved May 13, 2023, from https://www.certifyem.com.

Housley, R. (1999). Cryptographic message syntax (No. rfc2630). [online]. Retrieved May 13, 2023, from https://datatracker.ietf.org/doc/html/rfc2630.

International Organization for Standardization. (2016). ISO 19005-3:2012 Document management – Electronic document file format for long-term preservation – Part 3: Use of ISO 32000-1 with support for embedded files (PDF/A-3). [online]. Retrieved May 13, 2023, from https://www.iso.org/ standard/57229.html.